ผลิตผลคนทำขวด


          โครงงานที่นำขยะมาผ่านกระบวนการ Reuse ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยเเบ่งเป็น 12 กลุ่ม ใน 1 โครงงาน ซึ่งทั้ง 12 กลุ่มนี้ได้รับโจทย์เดียว คือ จะทำขวดที่ทิ้งเเล้วอย่างไรให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ เเล้วความคิดความสร้างสรรค์ของเเต่ละกลุ่มก็เเตกต่างกันไปตามความชอบความถนัดของเเต่ละคน  มีการศึกษาเเละดูภาพตัวอย่างในการทำ / ศึกษาหลัก 5 R เเละการจัดการขยะ จากสื่อต่างๆที่อยู่รอบตัว

          ในการทำงานในครั้งนี้ เสียงบอกว่าสนุกเเละอยากทำอีก..... ซึ่งจะเห็นได้อีกมุมหนึ่งว่า การนำศิลปะเข้ามาช่วยในการเรียนรู้สามารถช่วยได้มากขึ้นที่จะทำให้เขาตั้งใจในงานที่เป็นงานของเขาเอง.... โจทย์อีกข้อ คือ กระทำอย่างไรให้มันสวยงามน่าใช้จากขยะที่กลายมาเป็นของใช้ที่สร้างสรรค์  อาทิ  ในการพ่นสีสเปรย์จะทำอย่างไรให้สีติดใส่ขวดเเละไม่ลอกออกง่าย    ในการต่อไฟจะต่ออย่างไรให้สว่างจะให้ขั้วใดไปต่อใส่ขั้วใด   ในการตกเเต่งจะตกเเต่งอย่างไรให้สวยงาม   ในสื่อสารกันในกลุ่มจะสื่อสารอย่างไรให้เข้าในกันตามความคิดของเเต่ละบุคคล   ในการจะทำขนาดให้เข้าในในทุกส่วนจะทำอย่างไรให้เข้ากัน ในการหาวัสดุจะใช้วัสดุอะไรที่สามารถหาได้ง่าย เป็นต้น

            พวงกุญเเจจากขวดน้ำเเละกระป๋องเบียร์ซึ่งจากขวดน้ำที่ทิ้งนำมาทำสี  ติดตา  ติดเศษผ้าหรือกระดาษที่เหลือใช้เป็นเเขน  ขา  เเละหู ของเเพนด้า ถือว่าน่ารักไปอีกเเบบครับ

             กระปุกออมสินจากขวดน้ำทำจากขวดน้ำที่เป็นพลาสติกประภทที่ 1 หรือ PETE หรือ PET นำมาตัดเข้าเเละดัดเเปลงกลายเป็นกระปุกออมสิน ที่สร้างสรรค์

              โคมไฟประดับจากขวดพลาสติกที่นำมาตัดเป็นรูปทรงใบไม้ประกอบกับไฟด้านในมีสีสันหลากหลายสีจึงเหมาะสำหรับการเปิดในงานรื่นเริงต่างๆ... ไม่กินไฟด้วย

         กระเป๋าใส่เหรียญจากก้นขวดครับผม... ตัดก้นขวดของเเต่ละขวดเเเล้วนำมาต่อกันด้วยซิป... สร้างสรรค์ไปอีกเเบบ  (ถ้าเพนต์สีจะสวยอีกเเบบครับ

            ที่ใส่ปากกา/ดิน/สีไม้  ที่ทำจากขวดน้ำอัดลม เเล้วมาตกเเต่งเพิ่มเติมจากวัสดุที่มีอยู่ตามท้องถิ่น เป็นการตัดขวดหลายๆขวดมามาเชิ่มต่อกันกลายเป็นมีช่องใส่หลายช่อง

            กล่องใส่ดินสอจากขวดเเชมพู 2 ขวดมาต่อกันเเล้วตกเเต่งให้น่าใช้มากขึ้นตามวัสดุในท้องถิ่น... จากขยะกลายมาเป็นกล่องดินสอที่ทำอย่างเรียบง่าย... 

           กล่องเก็บทิชชูครับทำจากไหมพรมที่ถักมาด้วยความยากลำบากเพราะตอนเเรกถักไม่เป็น...กว่าจะได้ไหมพรมสักผืนยากมากครับ   ข้างในเป็นขวดน้ำตัดส่วนกลางออกจะเห็นเป็นลักษณะรูปกล่อง ซึ่งตรงนี้ล่ะ เป็นที่ใส่ทิชชู

            กล่องใส่ดินสอที่ละเลงด้วยสีโป๊สเตอร์... ถึงเเม้จะเห็นว่าง่ายๆเเต่มันไม่ง่ายนะครับ...เพราะสีโป๊สเตอร์จะไม่จับกับพื้นผิวที่มีความมันอย่างง่ายๆ... จะต้องมีกระบวนการอะไรซักอย่างที่ทำให้สีจับเเน่น... เฉลย คือ การทาสีรองพื้นก่อนหลายๆรอบเเล้วค่อยละเลงด้วยสีโป๊สเตอร์ที่สามารถกันน้ำได้

            โคมไฟประดับเเสงกระพริบกระพริบ...ทำจากขวดน้ำพลาสติกที่กินอยู่ทุกๆวันทำให้เกิดปัญหาขวดน้ำเกลื่อนกลาดอยู่ทุกซอกทุกมุมของ โรงเรียน ทำให้เกิดปัญหาที่ต้องดำเนินการเเก้ไข

           เป็นกล่องใส่ดินสออีกเเบบที่ละเลงด้วยสีดป๊สเตอร์เช่นเดียวกัน ทำจากขวดน้ำอัดลม 1.25 ลิตร (โดราเอม่อน) มีกระเป๋าวิเศษด้วย

                  โคมไฟดอกไม้เหล็กจากกระป๋องชาเขียวที่ทิ้งในถังขยะ... จะต้องไปคุ้ยในถังขยะทำทำเลยทีเดียว เเล้วต่อกับหลอดไฟที่มีอยู่เเล้วตามบ้านเรือน

            โคมไฟเช่นเดียวกันจากกระป๋องชาเขียวเเละกระป๋องเบียร์ทำเป็นลักษณะโค้งคล้ายกรงนกหรือสุ่มไก่เเล้วต่อกับหลอดไฟเป็นสีๆสำหรับตกเเต่งบ้านเเล้วเปิดตอนกลางคืนจะสวย

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงงาน

การทำโครงงานผลิตผลคนทำขวดนี้มีกระบวนการถอดองค์ความรู้ของเพื่อนๆ ซึ่งแต่ละคนได้รับได้เรียนรู้แตกต่างกันไปตามศักยภาพของแต่ละคนซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1.จุดร่วม

1.ได้เรียนรู้กระบวนการพอเพียง

2.ได้ใช้เวลาว่างในเกิดประโยชน์

3.ได้ใช้ความคิดอย่างอิสระสร้างสรรค์

4.สามารถนำไปประกอบอาชีพได้

5.ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

6.เกิดความสามัคคีในกลุ่ม

7.มีความภาคภูมิใจในผลของงานที่เกิดขึ้น

8.ขยะในโรงเรียนและชุมชนลดลง

9.แนวคิดการสร้างอาชีพเสริม

10.การสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะโดยกระบวนการ Reuse

 

ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติมากกว่าความรู้ในเชิงทฤษฎี  เเต่ถึงอย่างไรโครงงานนี้การปฏิบัติกับทฤษฎีก็ต้องควบคู่กันไปจะมีเเต่ทฤษฎีก็มิได้มีเเต่ปฏิบัติก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

ซึ่งอาจเปรียบได้กับ 

1.ปราชญ์ชาวบ้าน - ลองผิดลองถูก / ภูมิปัญญา / ความเป็นอยู่ดั้งเดิม / ความเชื่อ / การบอกเล่าของบรรพบุรุษ

2.นักวิชาการ - คำนึงถึงทฤษฎี / ทดลองด้วยหลักการเเละเหตุผล

โครงงานจึงเป็นเป็นการยกระดับความรู้ในระดับของปราชญ์ชาวบ้านขึ้นมาสู่ในระดับของนักวิชาการมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่เพื่อนๆได้รับในตนเองที่ไม่ค่อยรู้ คือ การพัฒนาตนเอง ซึ่งผมเองมองว่าการพัฒนาตนเองนี่ล่ะ คือ หัวใจของโครงงานที่เเท้จริง

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 545715เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เมื่อพิจารณา จาก AAR ท้ายบันทึก  และ เทียบเคียงกับ "กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3 ขั้น" (คิดขึ้นเอง) ได้แก่ "สืบค้น" "คิด" และ "ทำหรือแก้ปัญหา" น่าจะวิเคราะห์ได้ ดังนี้

  • ได้สืบค้นน้อย  สังเกตจากที่ บอกว่าจะเรียนรู้เรื่อง 5R และกระบวนการจัดการขยะ  แต่ตอนสะท้อนออกมา ไม่เห็นความประทับใจหรือความตระหนักเรื่อง 5R หรือกระบวนการจัดการขยะ
  • ได้คิดสร้างสรรค์เยอะ แต่เป็นการคิดสร้างสรรค์เชิง "เนื้อหา" ในที่นี้คือ "ผลิตภัณฑ์"  มากกว่า การ "คิดสร้างสรรค์เชิงกระบวนการ" ที่ผู้ทำจะต้องคิดเป็นระบบเพื่อหา "วิธีการ" "ขั้นตอน" ในการแก้ปัญหา 
  • ได้ลงมือทำ และทำสำเร็จเป็นผลงาน ทำให้ผู้ทำ เกิดความสุข สนุก อยากทำอีก ภูมิใจที่ได้ทำ

อย่างไรก็ตาม ความภูมิใจ ทักษะการคิด และความรู้ใหม่ที่ได้ จะขึ้นอยู่กับ "ความยาก" หรือ "ระดับคุณค่า" ของ "ปัญหา" หรือ "ประเด็นที่ทำ"  โครงการ จิตอาสาของกลุ่ม "ฮักนะเชียงยืน" เป็นตัวอย่างที่ดี ที่สร้างความภูมิใจให้กับแสนและเพื่อนๆ ตลอดทั้งครูและโรงเรียนด้วย.... เพราะเป็น "ปัญหาที่มีคุณค่า" ไงครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท