ผู้ใหญ่อาเปรียบเด็ก


ผลดีคือเด็กเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ ผลเสียคือเด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
คำพังเพยโบราณที่ว่า “ตามหลังผู้ใหญ่สุนัขไม่กัด” หรือ “ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน” กลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีทั้งผลดีและผลเสียตามมามากมาย ผลดีที่เห็นได้ชัดก็คือ ทำให้เด็กรู้จักเคารพเชื่อฟังพ่อแม่หรือผู้ที่อาวุโสกว่า แต่ผลเสียก็คือ หากเด็กต้องเชื่อผู้ใหญ่อย่างงมงายหรือผู้ใหญ่ใช้อำนาจความเป็นอาวุโสกว่าอย่างขาดเหตุผล จะทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเองและขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ตามมา ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผู้ใหญ่เอาเปรียบเด็กอย่างไร้เหตุผลก็มีมาก เป็นต้นว่า เวลาเด็กเดินไปเตะข้าวของที่วางไว้แตกหักเสียหาย ผู้ใหญ่ก็มักจะดุว่า “ซุ่มซ่าม” แต่ถ้าผู้ใหญ่ทำบ้างก็จะแก้ตัวไปว่า “เด็กวางของเกะกะ” ก็โทษเด็กทั้งขึ้นทั้งล่องนั่นแหละ ในขณะที่พ่อแม่ลูกครอบครัวหนึ่งกำลังนั่งรับประทานอาหารมื้อเย็นด้วยความเอร็ดอร่อยอยู่นั้น ลูกชายเกิดผายลมออกมาเสียงดังโดยไม่ได้ตั้งใจ พ่อกับแม่ก็เอ็ดขึ้นพร้อมกัน “หน้าด้าน ไม่มีมารยาท” ลูกชายก็ต้องนั่งเงียบไม่กล้าโต้เถียง เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ คุณพ่อเกิดผายลมเสียงดังและมีกลิ่นออกมาบ้าง พ่อก็พูดกลบเกลื่อนขึ้นว่า “ เจริญอาหาร” ทุกคนก็เงียบกริบตามเคย เด็กก็เลยฝังใจ..ทีใครก็ทีมัน เมื่อคราวฉันเป็นผู้ใหญ่ก็จึงจดจำพฤติกรรมไปใช้กับลูกหลานต่อ...
คำสำคัญ (Tags): #สาระน่ารู้
หมายเลขบันทึก: 54493เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2006 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท