การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น


วันที่สองพอเพียง

ท่าน ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา มาเลยครับตรงเวลา 08.30 น. 

ทบทวนเมื่อวานนี้เราทำอะไร

เป้าหมายวันนี้คือในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ 

การบริหาร การจัดหลักสูตรการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ทำไมเราต้องขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เราจำเป็นไมต้องมีผู้บริหารไมในโรงเรียน

ผู้บริหารจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยแบ่งออกเป็น Hardware ซึ่งเป็นลักษณะของรุูปธรรม และอีกคือ Software หลักในการบริหารอยู่ร่วมกันซึ่งจำเป็นมากในการบริหาร หลักคิดในการอยู่ร่วมกันคืออะไร ศูนย์รวมของการคิดอยู่ที่ฝ่ายบริหาร จะทำอะไรก็ตามแต่ต้องวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล มีความเหมาะสมกับบริบท มีการวางแผน และรอบรู้ รอบคอบ ผู้บริหารจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่าง

ครูทำอย่างไรเราจะดำเนินการให้นักเรียนเรียนรู้ตามหลัก ปศพพ.

ผู้อำนวยการโรงเรียนจามเทวี

ได้เล่าเรื่องการทำอาหารกลางวัน ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก นักเรียนประมาณ 150 คน ซึ่งได้ร่วมกันประชุมปรึกษาวางแผนในการดำเนินการ และอีกอย่างแม่ครัวได้ขอขึ้นค่าแรงตามค่าแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือ งบประมาณน้อยไม่เพียงพอ จึงได้แนวทางสรุปว่า ให้ครูขายของเพิ่มเติม เช่น น้ำดื่ม ซึ่งได้ชี้แจงเหตุผลในการใช้แก้วของตัวเอง ไม่ใช้แก้วพลาสติก เด็กประถมให้ตักข้าวและอาหารเอง โดยให้หลักการ ปศพพ. ควบคู่กันไป ซึ่งบางครั้งเด็กก็ตักมา ตักน้อยขึ้นอยู่กับความดีพอเหมาะกับตนเองได้ ซึ่งบทสรุป คือ อาหารเพียงพอต่อการรับประทาน แม่ครัวมีความพอใจในค่าแรงที่ได้รับ นักเรียนและครูมีความสัมพันธ์กันที่ดี งบประมาณพอเพียงในการดำเนินการและการบริหารจัดการ โดยไม่กระทบต่อสิ่งอื่นๆ 

ผลสำเร็จ ผู้ประกอบอาหารมีความรู้ในเรื่องของโภชนาการ และมีคุณธรรม รับผิดชอบ ขยันขันแข็ง ครูมีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนในการดำเนินการ มีคุณธรรม รับผิดชอบ และสามารถบริหารจัดการงบประมาณได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และคุ้มค้า นักเรียนมีองค์ความรู้และนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร

Best Practice ของโรงเรียนที่นำมาเล่าให้ฟัง คือ กิจกรรมทำพานไหว้ครูอย่างพอเพียง ให้พ่อกับแม่และลูกทำพานร่วมกัน ทำให้บางครั้งผู้ปกครองเดือดร้อน และมีการจ้างในการดำเนินการ ปลูกฝังจิตอาสาโดยให้นักเรียนนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว ส่วนอุปกรณ์ที่ไม่มีก็ค่อยช่วยกันระดมทางแก้ ร่วมกันวางแผน และดำเนินการ โดยในระหว่างการดำเนินการให้ครูควบคุมดูแลอยู่ตลอดเวลา ในกรณีการทำงานให้ช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล โดยในปีนี้ไม่มีการประชุมครู ไม่มีเวลาในการเตรียมการ จึงหารือกับนักเรียนให้ดำเนินการเองได้ไหม นักเรียนบอกว่าจัดได้ครับค่ะ ซึ่งพอถึงวันไหว้ครูจริงก็มีการฝึกมารยาทการกราบการไหว้ ถอดบทเรียนเพียง 30 ปฏิบัติจริง 70 ดังนั้นสิ่งที่ถอดก็นำมาปฏิบัติให้ขัดเจน 

นักเรียน 670 คน การให้รางวัลเด็กจะต้องมีคุณค่า มีการติดตามและเกิดประโยชน์อย่างไร

กิจกรรมเสาธง 15 นาทีในการดำเนินการได้ทั้งชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ 

ครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร

การออม ชื่อ โรงเรียนธนาคาร โดยให้ ธกส เป็นที่ปรึกษา โดยในโรงเรียนธนาคารมีโต๊ะ ตู้เก็บเอกสารเรียบร้อย ธนาคารเปิด 06.00 น. - 08.00 น. กรณีที่เจ้้าหน้าที่ยังไม่มาก็จะนำสมุดฝากและเงินที่จะฝาก สร้างขึี้นมาทำไม เพื่อให้นักเรียนรู้จักคุณค่าการออม โดยตั้งสมการว่า ได้มาเท่าไรให้ออมก่อนจ่าย ไม่ใช่จ่ายแล้วค่อยออม สถานที่ในการทำธนาคาร ตอนแรกก็ห้องเรียนไม่ใหญ่นัก แต่หลังๆ มีสมาชิกมากขึ้นทำให้ต้องปรับและเปลี่ยนสถานที่ การทำกิจกรรมนี้ต้องไม่กระทบต่อนักเรียน หรือการจัดการเรียนการสอน ก่อนที่จะเปิดธนาคารในแต่ละปีการศึกษา ก็ได้มีการนำปัญหาต่างๆ มาหารือเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาดังกล่าว และทุกปีเจ้าหน้าที่ของเครือข่ายก็ให้การอบรมเกี่ยวกับหลักการบริการ สิ่งแรกที่ได้คือ ความซื่อสัตย์ ความตรงต่อเวลา ความอดทน ขยัน และสติในการทำงาน ผู้เรียนเกิดอุปนิสัยการออมอย่างเป็นรูปธรรม ความภาคภูมิใจในการออม 

เงินฝากของนักเรียนเข้าไปฝากในธนาคารในบัญชีโรงเรียน ส่วนดอกเบี้ยก็นำมาเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียนดังกล่าว ครูได้ฝึกทักษะการท่องสูตรคูณโดยการใช้บัตรสูตรคูณ ซึ่งทำให้ได้ทักษะในกระบวนการกลุ่ม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน มีความซื่อสัตย์และได้ทักษะการท่องสูตรคูณ

ครูโรงเรียนจามเทวี ลำพูน

วางแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจำเป็นต้องหาวิธีการในการแก้ไขปัญหานี้ จึงมีแนวคิดเกี่ยวกับการเล่นเกมส์ ใช้โอกาสนี้เป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยเริ่มในการใช้ในเกมส์ A-Math แนะนำและกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยาก และกระตุ้นฝ่ายบริหารให้จัดสรรงบประมาณในการจัดซื่้อดังกล่าว โดยครูได้เข้าไปหาผู้อำนวยการและก่อนไปได้เตรียมการการตอบคำถามหรือเหตุผลในการนำเสนอเพื่อของบประมาณ การเล่น A-math เล่นเป็นคู่ ในการลงเบี้ยแต่ละตัวจะต้องมีการยอมรับความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งในการสั่งซื้อได้ใช้หลักความพอประมาณในการจัดซื้อโดยเลือกซื้อแผงสำหรับเด็ก ราคาประมาณ 135 บาท ซึ่งได้กระตุ้นให้นักเรียนได้เรียนรู้และอยากจะเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การแข่งขันในระดับจังหวัดต่อไป

วิธีการที่จะได้มาซึ่งคำตอบ การได้มาซึ่งคำตอบมีความหลากหลาย นักเรียนสามารถอธิบายได้ซึ่งคำตอบ สามห่วงยกกำลังสาม 




หมายเลขบันทึก: 544921เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2013 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2013 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ยอให้กำลังใจในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในวิถีชีวิตและการทำงานค่ะ

เข้ามาอ่าน และให้กำลังใจ อ.เต้ยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท