เลือดจางเพิ่มเสี่ยงสมองเสื่อม


.
สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "เลือดจางเพิ่มเสี่ยงสมองเสื่อม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
.
ภาพที่ 1: สัดส่วนคนสูงอายุเพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้พบโรคสมองเสื่อมมากขึ้น... การดูแลคนไข้สมองเสื่อมทำได้ยากมากๆ เนื่องจากคนไข้ส่วนหนึ่งจะก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย และดื้อ
.
การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่างคนอเมริกันวัย 70s (= 70-79 ปี) จำนวน 2,552 คน ติดตามไป 11 ปี
.
ผลการศึกษาพบว่า คนในวัย 70s = 70-79 ปี ที่มีโรคเลือดจาง เพิ่มเสี่ยงโรคสมองเสื่อม = 65%
.
การศึกษานี้พบกลุ่มตัวอย่างคนวัย 70s เป็นโรคเลือดจาง 18%
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ โรคเลือดจางทำให้เซลล์สมอง และเซลล์พี่เลี้ยง (เซลล์ข้างเคียงที่ดูแลเซลล์สมอง เช่น ส่งน้ำเลี้ยง ฯลฯ) ขาดออกซิเจน
.
.
.
ภาพที่ 2,3: ออกกำลังหลายๆ รูปแบบ ลดเสี่ยงสมองเสื่อม
.
โยคะ 2 ท่านี้ (ท่างูเห่า + ท่านักรบ 1 / Cobra & Warrior I poses) ลดเสี่ยงโรคปวดหลังได้ดีมาก
.
.
ภาพที่ 4: ท่าบริหารกล้ามเนื้อโครงสร้างที่ช่วยพยุงกระดูกสันหลัง+ข้อสะโพก ลดเสี่ยงโรคปวดหลัง
.

.
ภาพที่ 5: ท่าบริหารกล้ามเนื้อโครงสร้าง
.
วิธีฝึก คือ ทำตัวให้ "เกือบตรง", ไม่กลั้นหายใจ หายใจเข้า-ออกช้าๆ, ค้างไว้ท่าละ 30-60 วินาที
.
คนวัย 70s เสี่ยงโรคเลือดจางมากขึ้นจากปัจจัยหลายอย่าง คือ
.
(1). ความอยากอาหารลดลง
.
หลังอายุ 70 ปี ประสาทรับกลิ่น-รับรสเสื่อมไปมาก ทำให้ความอร่อยลดลง ความอยากอาหารลดลง
.
(2). การถูกทอดทิ้ง
.
คนสูงอายุที่มีลักษณะ 2 อย่างร่วมกัน คือ "จน + ขี้บ่น" เสี่ยงถูกทอดทิ้งสูง
.
ถ้ารวยแล้วขี้บ่อาจไม่ถูกทอดทิ้ง เนื่องจากลูกหลาน หรือคนรอบข้างอาจมีความหวังในมรดก
.
วิธีป้องกันที่ดี คือ ไม่เป็นหนี้เกินตัวตั้งแต่อายุน้อย ไม่ค้ำประกันหนี้คนอื่น ออมทรัพย์ และลงทุนเพื่อให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณ
.
.
(3). กระเพาะอาหารหลั่งสารช่วยการดูดซึมวิตามิน B12 (intrinsic factor) น้อยลง ทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินนี้ได้น้อยลง
.
(4). กินอาหารจากสัตว์น้อย เพิ่มเสี่ยงขาดวิตามิน B12
.
วิตามินนี้ (B12) มีเฉพาะในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และมีบางส่วนในสาหร่ายสไปรูลินา
.
วิธีป้องกันที่น่าจะดี คือ กินวิตามินรวม +/- บีรวม แบบไม่แพงพร้อมอาหาร 1 เม็ด/วัน, กินวิตามิน  B1-6-12 เป็นบางวัน หรือฉีดวิตามินบีรวมนานๆ ครั้ง เช่น ปีละครั้ง ฯลฯ
.
โรคขาดวิตามิน B12 อาจทำให้เลือดจาง หรือมีอาการทางประสาทแปลกๆ ได้ทั่วตัว เช่น เส้นประสาทเสื่อม เจ็บแปลบตามร่างกาย อาการคล้ายโรคประสาท คล้ายโรคจิต ฯลฯ
.
.
(5). กินพืชผัก หรืออาหารจากพืช เช่น ผลไม้ทั้งผล ฯลฯ น้อย เพิ่มเสี่ยงขาดวิตามิน B9 (โฟลิค โฟเลต)
.
การกินอาหารให้ครบทุกหมู่เป็นประจำ ช่วยป้องกันได้มาก
.
(6). ขาดธาตุเหล็ก
.
ธาตุเหล็กมีมากในเลือดสัตว์ เช่น เลือดต้ม ผัดถั่วงอกใส่เลือดหมู ฯลฯ เนื้อสัตว์ ตับ (ไม่ควรกินตับบ่อย หรือมากเกินไป เนื่องจากเสี่ยงต่อการได้รับวิตามิน A มากเกินไป)
.
คนไทยควรตรวจเลือดดูก่อนว่า มีโรคเลือดจางธาลัสซีเมียหรือไม่... ถ้ามี ส่วนใหญ่จะมีธาตุเหล็กสูงเกิน เนื่องจากร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่ม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็ก
.
การได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป เช่น ได้รับธาตุเหล็กจากการเติมเลือดหลายครั้ง ฯลฯ เพิ่มเสี่ยงตับอักเสบ ตับแข็ง กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
.
.
(7). โรคซึมเศร้า
.
โรคนี้พบบ่อยในคนสูงอายุ อาจทำให้ความอยากอาหารเพิ่มหรือลดลง เสี่ยงขาดอาหารในระยะยาว
.
วิธีป้องกันที่ดี คือ ทำแบบทดสอบซึมเศร้าเป็นระยะๆ เช่น ทุกปี ฯลฯ ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยง... ให้ปรึกษา รพ.ใกล้บ้าน
.
(8). โรคเรื้อรัง
.
โรคเรื้อรัง เช่น ไตเสื่อม ไตวาย ฯลฯ เพิ่มเสี่ยงโรคเลือดจาง
.
ไตคนเราเสื่อมตามอายุ (ประมาณ 1%/ปี หลังอายุ 25 ปี)
.
ปัจจัยที่ทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นได้แก่ ความดันเลือดสูง เบาหวาน ไขมันในเลือด(โคเลสเตอรอล)สูง นิ่ว ภาวะขาดน้ำ กรวยไตติดเชื้อ(อักเสบ), การกินยาแก้ปวดข้อกลุ่มเอนเซดส์(NSAIDs)นานเกิน 1-2 วัน/ครั้ง
.
ถ้าถามว่า มียาบำรุงไตไหม... คำตอบที่เป็นไปได้ตอนนี้ คือ มี
.
ยารักษาโรคความดันเลือดสูง ยารักษาโรคเบาหวาน ยาลดไขมันในเลือด มีส่วนช่วยถนอมไตให้ดีไปนานขึ้น (ถ้าตรวจพบโรค)
.
น้ำเปล่ามีส่วนช่วยถนอมไตเช่นกัน (ดื่มตอนเช้า 1-2 แก้ว และดื่มให้พอตลอดวัน ลดเสี่ยงนิ่ว ลดภาวะขาดน้ำ)
.
.
การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า วิธีป้องกันสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ ฯลฯ ที่สำคัญได้แก่
.
(1). ไม่สูบบุหรี่
.
(2). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ และไม่นั่งนิ่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง
.
มีคำกล่าวว่า สมองดีได้นานเพราะ ใช้ "1 สมอง 2 ตีน(เท้า)" ให้บ่อย
.
ใช้สมอง คือ เรียนต่อเนื่องตลอดชีวิต เช่น เรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาต่างประเทศ สวดมนต์หลายภาษา เช่น บาลี-ไทย ฯลฯ
.
ใช้เท้า คือ เดิน ปั่นจักรยาน วิ่ง ขึ้นลงบันได และออกกำลัง-ออกแรงหลายๆ รูปแบบเป็นประจำ
.
.
(3). พบปะสังสันทน์กับญาติสนิทมิตรสหายตามโอกาส ไม่โดดเดี่ยวจนเกินไป
.
(4). ลดปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือด
.
เช่น ตรวจเช็คความดันเลือด น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอล ฯลฯ รักษาให้ต่อเนื่องถ้าพบว่า เป็นโรค หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Reuter source > Neurology, online July 31, 2013.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 1 สิงหาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
 


หมายเลขบันทึก: 544284เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 07:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุึณค่ะ คุณหมอ ช่วงนี้ครูแกงเริ่มป้ำ ๆ เป๋อ ๆ

แต่คงยังไม่เป็นกระมังคะ

จะเอาความรู้นี้ไปปรับปรุงตัวเองค่ะ เรื่องอาหารการกิน

ที่บ้านเกล็ดเลือดต่ำกันเกือบทุกคนเลยค่ะ

ความดันต่ำด้วยค่ะ

วันก่อนไปโรงพยายบาล วัดความดัน พยาบาลมองหน้าแล้วบ่น

ทำไมความดันต่ำจัง วัดอีกทีเท่าเดิม 80-50 ถ้าเป็นคนทั่วไปคงล้มแล้วกระมัง

แต่ครูแกงแค่มึน ๆ หัว สงสัยจะวัยทองเล่นงานด้วยแหละค่ะ

แต่ไม่หงุดหงิด ดีไปหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท