ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

น้ำท่วมซ้ำซาก : กับการจัดการหลังน้ำลด ตอนที่1


น้ำท่วมซ้ำซาก

น้ำท่วมซ้ำซาก : กับการจัดการหลังน้ำลด ตอนที่1

  ถึงแม้จะบอกว่า...น้ำ... คือหัวใจสำคัญในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรก็คงไม่ผิด...เพราะน้ำนอกจากจะเป็นองค์ประกอบภายในเซลของพืชแล้วยังเป็นตัวทำละลายสารอาหารอันจะเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย... หากแต่ว่าถ้ามีน้ำในประมาณที่มากเกินไปจนกระทั่งท่วมผลผลิตเสียหาย...มันคงไม่ใช่ประโยชน์แล้ว...เพราะต้นพืชไม่สามารถสังเคราะห์แสง(การสร้างอาหาร) ขาดอากาศหายใจ หากท่วมนานต้นพืชก็จะขาดใจตายในที่สุด เช่นเดียวกันกับสิ่งมีชีวิตอื่นโดยทั่วไป ดังเช่นพี่น้องเกษตรกรบ้านท่างอย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำตอนต้นของอำเภอวารินชำราบและรอยต่อของอำเภอเมืองอุบลราชธานี เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อของแม่น้ำสายสำคัญเสมือนสายเลือดหล่อเลี้ยงชาวอีสาน 2 สายไหลมาบรรจบกันคือแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี แม่น้ำทั้งสองสายล้วนแต่มีปริมาณมวลน้ำที่มาก เนื่องจากทั้งสองสายมีจุดรับน้ำที่ยาวกว่า 720 กิโลเมตร (726, 765 ก.ม.) มีลุ่มน้ำสาขาจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อถึงคราวหน้าฝนเรามักจะได้ยินเสมอว่าน้ำท่วมอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

น้ำท่วม

ทำไม? จังหวัดอุบลราชธานีน้ำจึงท่วมซ้ำซาก

            หลายคนอาจจะสงสัยครับว่าทำไมจังหวัดอุบลราชธานี จึงมักจะมีปรากฏการณ์น้ำท่วมทุกปี ซึ่งชาวบ้านอีสานเรียกว่า น้ำท่วมซุปี” จนกระทั่งนักวิชาการ และหน่วยงานราชการเอาไปตั้งชื่อให้ใหม่อย่างสวยหรูว่า “น้ำท่วมซ้ำซาก” จากปรากฏการณ์ที่น้ำท่วมทุกปีๆ นี้พอสรุปสาเหตุของการท่วมได้ 4 ประการ คือ

1.  มีมวลน้ำจากแม่น้ำไหลผ่านจำนวนมาก
       ดังที่เกลิ่นไปแล้วในเบื้องต้น คือ อำเภอวารินชำราบเป็นจุดรับน้ำจากแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ซึ่งในฤดูน้ำหลากทั้งสองแม่น้ำมีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลมาพร้อมๆ กัน ทำให้ระบายไม่ทัน

2. มีปริมาณน้ำฝนมาก จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่อยู่ตะวันออกสุดของประเทศ และได้รับผลบุญ (ผลกระทบ) จาก 2 ประเทศเพื่อนบ้าน คือ ลาว และกัมพูชา ที่มีต้นไม้เยอะจึงสามารถดึงฝนมาตกได้มากขึ้น
(ตามทิศทางลมมรสุม) ดังจะเห็นได้จากสถิติปริมาณน้ำฝนจากสถานีอุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
(2556) ได้ชี้ให้เห็นว่าปริมาณน้ำฝนมีมาก โดยเฉพาะในช่วงเดือน ก.ค.-ต.ค.ของทุกปี ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทำไมน้ำมันจึงท่วมวารินชำราบ

น้ำท่วม1


ที่มา:
สถานีอุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน, 2556

 

        สถิติ เฉลี่ยปริมาณน้ำฝนระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี
(1-12) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

 ที่มา: สถานีอุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน, 2556

 3.  การรุกล้ำล้ำพื้นที่ระบายน้ำ
          กล่าวคือ มีการรุกล้ำพื้นที่เข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและการบุกรุกเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินตามแนวระบายน้ำธรรมชาติและมีการสร้างสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำเป็นจำนวนมาก จึงทำให้การระบายน้ำได้ช้ากว่าที่เคยมีมาในอดีต

ดังข้อมูลตัวอย่าง http://news.thaipbs.or.th/video/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A

4.  สภาพของลำน้ำมูลมีเกาะแก่งตามธรรมชาติ
    โดยเฉพาะในลำน้ำมูลด้านท้ายอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการระบายน้ำในสภาวะน้ำหลากเป็นเสมือนฝายธรรมชาติที่ทำหน้าที่ยกระดับน้ำในลำน้ำมูลให้มีระดับสูงขึ้นและส่งอิทธิพลของน้ำเอ่อย้อนไปถึงเมืองอุบลราชธานี


ด้วยเหตุผล 4
     ประการดังกล่าวข้างต้น ได้ส่งผลกระทบแก่พี่น้องเกษตรกรทำนาบ้านท่างอยเรื่อยมา นั่นก็หมายความว่าพี่น้องเกษตรกรไม่สามารถทำนาปีได้เลย เพราะทำทีไรน้ำท่วมเสียหายหมด หรือหากคนที่ทำก็ต้องตกอยู่กับภาวะของความเสี่ยง (Risk) และความไม่แน่นอน (Uncertainty) หรือหากจะพูดกันแบบบ้านๆ
ก็อาจจะบอกว่าวัดดวงเอา หากดวงดีก็ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต หากดวงซวยก็ทำกันใหม่

            อย่างไรก็ตาม พี่น้องชาวท่างอยก็ไม่ได้นั่งคอยแต่วาสนาแต่อย่างใด พยายามดิ้นรนและรวมกลุ่มกันเพื่อหาแนวทางในการทำนาปรัง หลังจากที่น้ำลด พ่อทวี สีทากุล ผู้ใหญ่บ้านท่างอย เล่าว่า “พวกเรารอโชคชะตาไม่ได้หรอกครับ จะต้องดิ้นรนเพื่อหาแนวทางในการทำนาให้ได้ ไม่เช่นนั้นมนจะอดตาย เมื่อปี 2549 ได้รวมตัวกันเพื่อของบประมาณในการทำระบบชลประทาน และดึงน้ำจากแม่น้ำชีและมูลขึ้นมาใช้ จนกระทั่ง ปี 2551 จึงได้คลองน้ำพร้อมเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ขนาดท่อสูบน้ำ 10 นิ้ว รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร ส่งผลให้เกษตรกรบ้านท่างอยกว่าร้อยละ 36 ของครัวเรือน ได้ทำนาปรังสมดั่งใจ พี่น้องเกษตรกรมีพื้นที่ในการทำนาปรัง ประมาณ 800 ไร่ นับเป็นการเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารเป็นอย่างดี

        แต่อนิจจา... หลังจากได้ระบบชลประทานมาเพื่อทำนาปรัง หน่วยงานภาครัฐทอดทิ้งอย่างไม่มีเยื่อใย ทิ้งชตากรรมให้ตกอยู่กับชาวบ้านในการดูแลรักษาเครื่องสูบน้ำและระบบชลประทานที่มูลค่ากว่า 10
ล้านบาท

เกิดอะไรขึ้น.... โปรดติตามตอน 2 ครับ

หมายเลขบันทึก: 544179เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2013 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออภัยนะครับรูปการาฟเอาขึ้นไม่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท