การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


หลักการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง

2. ให้ผู้เรียนมีบทบาทส่วนร่วมในการเรียนรู้ให้มากที่สุด

3. ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์

4. ให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 

     การแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเพื่อให้ตนเองและสมาชิกกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ในลักษณะประชาธิปไตย มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 

     - คิดและคุยกัน ผลัดกันพูด

     - กิจกรรมโต๊ะกลม ให้ผู้เรียนเล่าหรือเขียนความคิดเห็นโดยเวียนไปทางใดทางหนึ่งจนครบทุกคน

     - คู่ตรวจสอบ มุมสนทนา ร่วมกันคิด โดยผู้เรียนในแต่ละกลุ่มต้องคละเพศและความสามารถ เมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มย่อยตอบปัญหาได้แล้ว เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนกัน

2. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

     การสอนแบบบูรณาการจะเน้นองค์รวมของเนื้อหา มากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชาและเน้นที่สร้างความรู้ของผู้เรียนมากกว่าการให้เนื้อหาโดยตัวครู

     2.1 การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว ครูจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆ กับหัวข้อเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้จากหัวเรื่องที่กำหนด

     2.2 การบูรณาการแบบคู่ขนาน มีครู 2 คนขึ้นไป สอนโดยยึดหัวข้อหนึ่งแล้วจัดการเชื่อมโยง 2 วิชาเข้าด้วยกัน

     2.3 การบูรณาการแบบสหวิทยาการ นำเนื้อหาสาระจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยง เพื่อจัดการเรียนรู้ ส่วนใหญ่จัดแยกสอนตามรายวิชา แต่ในบางเรื่องอาจจัดรวมกันได้ เช่น เรื่อววันสิ่งแวดล้อมของชาติ สามารถบูรณาการได้กับวิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา เป็นต้น

     2.4 การบูรณาการแบบโครงการ โดยครูและนักเรียนช่วยกันสร้างโครงการขึ้น แล้วนำเอาชั่วโมงสอนที่แยกกันมาสอนรวมกันเป็นทีม แต่กิจกรรมบางอย่างที่ต้องเน้นทักษะเป็นพิเศษครูสามารถแยกการสอนได้

3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี

     3.1 ศูนย์การเรียน การจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนที่มุ่งเน้นกิจกรรม แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม เรียกว่า ศูนย์การเรียน แต่ละกลุ่มจะมีสื่อและเนื้อหากิจกรรมที่แตกต่างกัน 

     3.2 ชุดการสอน การนำเอาระบบสื่อประสม ที่สอดคล้องกับเนื้อหา เช่น รูปภาพ ซีดี องค์ประกอบของชุดการสอน ได้แก่ คู่มือและแบบปฎิบัติ คำสั่งหรือการมอบหมายงาน เนื้อหาสาระ และการประเมินผล 

     3.3 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีทั้งภาพและเสียง มีลักษณะคล้ายกับห้องเรียนจริงมากที่สุด ประเภทของแบบเรียน CAI 

          - แบบฝึกหัด เลือกได้ตามความสามารถของผู้เรียน

          - แบบเจรจา พูดคุยโต้ตอบได้ใช้ในการเรียนด้านภาษา 

          - แบบจำลองสถานการณ์ 

          - เกมส์ เช่น เกมส์ต่อภาพ เกมส์คำศัพท์

          - การแก้ปัญหาต่างๆ วิชาสถิติ คณิตศาสตร์

          - การค้นพบสิ่งใหม่ การผสมพยัญชนะ คำศัพท์

          - การทดสอบ เช่น การทดสอบพื้นฐานความรู้ 

     3.4 E-Learning 

         เป็นนวัตกรรมทางการศึกษา สามารถเรียนผ่านทางไกล การเรียนผ่านเว็บ ห้องเรียนเสมือนจริง มีจุดเชื่อมโยงคือเทคโนโลยี การสื่อสารเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้ ห้องเรียนเสมือน คือ การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียนที่ผู้สอนออกแบบไว้ในเครือข่าย มีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆในลักษณะเหมือนห้องเรียนจริง

บรรณานุกรม

จีระ  งอกศิลป์.(2552). มาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. คู่มือเตรียมทดสอบความรู้: ส.วิทยาการพิมพ์.


หมายเลขบันทึก: 544159เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 01:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 01:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท