สมุดปกขาว (White Paper) ผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ธุรกิจบริการ: ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” โดย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์


เนื่องด้วยการพัฒนาธุรกิจบริการไทยจำเป็นต้องเกี่ยวพันกับหลายภาคส่วน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงจัดสัมมนาเรื่อง “ธุรกิจบริการ ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” ในวันเสาร์ที่ 18 และวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา ซึ่งจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการสาหรับกลุ่มธุรกิจบริการสี่กลุ่มหลักคือ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจโลจิสติกส์ และอีกกลุ่มที่เป็นพื้นฐานของการบูรณาการธุรกิจในทุกกลุ่ม นั่นคือ เรื่องทุนมนุษย์ในภาคบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมฯ ซึ่งมาจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกาหนดทิศทางการพัฒนาธุรกิจการค้าภาคบริการเชิงโครงสร้าง และเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการนั้นได้นามารวบรวมเป็นสมุดปกขาว (White Paper) เพื่อนาเสนอยุทธศาสตร์ในการพัฒนาธุรกิจบริการไทยให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนาไปปฏิบัติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2555

เนื่องจากผมเป็นรองประธานคณะกรรมการด้านธุรกิจบริการ สภาหอการค้า และเป็นรองประธานจัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการ "ธุรกิจบริการ" ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond"  ช่วงปลายปี 2555 คณะกรรมการชุดนี้ได้ร่วมกันจัดทำรายงานวิจัยที่ได้จากการจัดสัมมนาในครั้งนี้ นำเสนอประธานหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อขออนุมัติจัดทำสมุดปกขาวเพื่อนำส่งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการนำไปจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนธุรกิจบริการใน 4 สาขา + ประกอบด้วย

1.ธุรกิจก่อสร้าง

2.ธุรกิจท่องเที่ยว

3.ธุรกิจโลจิสติกส์

4.ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

และ บวกทุนมนุษย์ภาคบริการ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีบทบาทในทุกภาคธุรกิจ

แต่เนื่องจากข้อมูลของแต่ละสาขามีความยาวมาก จึงขอนำเสนอแยกเป็นแต่ละสาขา โดยเริ่มจากสาขาท่องเที่ยวเป็นลำดับแรก

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

22 กรกฎาคม 2556


การวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจบริการท่องเที่ยว
หมวด 1: โครงสร้างและระบบภายใน
 3.3 มาตรการในการส่งเสริมให้ธุรกิจท่องเที่ยวไปลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียน (Outward Foreign Investment) ควรเป็นอย่างไร

 ผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ธุรกิจบริการ: ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” โดย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ที่มาและความสาคัญ

การพัฒนาโครงสร้างของธุรกิจบริการไทยให้เข้มแข็งจะนามาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยั่งยืนไม่ว่าสถานการณ์การเปิดเสรีทางการค้าของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใด หากพิจารณาโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะพบว่าภาคบริการมีความสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันโดยสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของภาคบริการมีอัตราส่วนสูงกว่าภาคอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2553 (ภาคบริการร้อยละ 45.1/ ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 43.3: World Economic Outlook Database ค.ศ. 2010) ยิ่งไปกว่านั้น ภาคบริการถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิต ทั้งนี้ โครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายต่างก็มีภาคบริการเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทบทั้งสิ้น โดยการเจรจาการค้าในปัจจุบันต่างให้ความสาคัญกับการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน ประเทศไทยเองไม่เพียงแค่เจรจาเปิดเสรีภาคบริการในกรอบอาเซียนเท่านั้นแต่ยังเจรจาเปิดเสรีภาคบริการกับประเทศอื่นๆ ในกรอบการเจรจาแบบทวิภาคี กระแสการเปิดเสรีทางการค้ามีแนวโน้มที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงในหลายมิติ จึงไม่สามารถแยกบริบทด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนออกจากกัน รวมทั้งภาคบริการยังเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี นวัตกรรม การเคลื่อนย้ายของทุน การเงินและทุนมนุษย์ ประเด็นเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องพัฒนาเพื่อนาไปสู่การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ตั้งแต่ประเทศไทยจัดตั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 จุดเน้นของประเทศคือการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนาเข้าและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก สาหรับภาคบริการนั้นปัจจุบันยังไม่ปรากฏแนวทางหรือแผนแม่บทในการพัฒนาธุรกิจภาคบริการในภาพรวมรวมทั้งๆ ที่แนวโน้มการเจริญเติบโตในภาคบริการมีมากขึ้น ในปัจจุบันประเทศกาลังพัฒนาหลายประเทศหันมาเน้นธุรกิจภาคบริการมากขึ้น หนึ่งในสาเหตุหลักเนื่องมาจากเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมตกอยู่ในมือของประเทศพัฒนาแล้ว ทาให้ประเทศกาลังพัฒนาไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากเท่าที่ควร การพัฒนาธุรกิจบริการจึงมีความสาคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเพื่อหลุดพ้นจากสถานะประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Country) แต่ธุรกิจบริการไทยต้องประสบปัญหากับกรอบนโยบายและทิศทางที่ไม่ชัดเจน อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ อาทิเช่นมาตรฐานการให้บริการ กฎระเบียบและข้อกฎหมายบางประการนั้นไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดาเนินธุรกิจของภาคเอกชน ทาให้กลไกการพัฒนาภาคบริการโดยรวมไม่สามารถที่จะใช้จุดแข็งและโอกาสที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจบริการเป็นสิ่งที่จาเป็นในการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งและสร้างความคุ้มกันต่อความผันผวนภายนอกเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจเพื่อขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเป็นประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO)

กระบวนการเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนซึ่งเริ่มเปิดตลาดระหว่างกันมากขึ้นเป็นลาดับตามที่ระบุไว้ในข้อผูกพันการเปิดตลาดชุดที่ 1-7 และจากชุดที่ 8-11 ระดับการเปิดตลาดจะทวีความเข้มข้นขึ้น โดยจะอนุญาตให้ผู้ให้บริการอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการทุกสาขาได้เกินกึ่งหนึ่งเริ่มตั้งแต่ข้อผูกพันการเปิดตลาดฯ ชุดที่ 8 และอย่างน้อยร้อยละ 70 ในสาขาบริการเร่งรัด และทยอยยกเลิกอุปสรรคในการเข้ามาให้บริการทั้งหมดตามที่อาเซียนกาหนดเมื่อปี 2558 ขณะเดียวกันอาเซียนยังดาเนินการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการกับคู่เจรจาอื่นๆ และประเทศไทยเองมีการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการแบบทวิภาคีกับคู่เจรจาในหลายประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การเปิดเสรีการค้าบริการของไทยเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องกาหนดยุทธศาสตร์ มาตรการ กฎเกณฑ์ และกลไกที่จะพัฒนาและส่งเสริมภาคบริการให้สอดรับกับกระแสการเปิดเสรีและสถานะของธุรกิจบริการไทยเพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน

การเปิดเสรีในกรอบอาเซียนทาให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันในระดับที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคในภูมิภาคมีทางเลือกในการใช้บริการ ถ้าหากภาคบริการไทยสามารถพัฒนาศักยภาพในการให้บริการที่มีคุณภาพ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยจะเติบโตได้มากในอนาคต ประเทศไทยจึงควรที่จะใช้นโยบายการเปิดเสรีภาคบริการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาภาคบริการของประเทศให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและย่อมซึ่งมีจานวนประมาณร้อยละ 90 ของผู้ประกอบธุรกิจบริการทั้งหมด ตลอดจนส่งเสริมให้ธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับนโยบายของภาครัฐและภาคเอกชนให้สอดคล้องกันเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประเทศเพื่อเปิดรับโอกาสและการแข่งขันที่จะมีมากขึ้น

เนื่องด้วยการพัฒนาธุรกิจบริการไทยจำเป็นต้องเกี่ยวพันกับหลายภาคส่วน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงจัดสัมมนาเรื่อง “ธุรกิจบริการ ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” ในวันเสาร์ที่ 18 และวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา ซึ่งจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการสาหรับกลุ่มธุรกิจบริการสี่กลุ่มหลักคือ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจโลจิสติกส์ และอีกกลุ่มที่เป็นพื้นฐานของการบูรณาการธุรกิจในทุกกลุ่ม นั่นคือ เรื่องทุนมนุษย์ในภาคบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมฯ ซึ่งมาจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกาหนดทิศทางการพัฒนาธุรกิจการค้าภาคบริการเชิงโครงสร้าง และเสริมสร้างศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการนั้นได้นามารวบรวมเป็นสมุดปกขาว (White Paper) เพื่อนาเสนอยุทธศาสตร์ในการพัฒนาธุรกิจบริการไทยให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนาไปปฏิบัติ

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

พฤศจิกายน 2555


การเสวนาสาขาธุรกิจท่องเที่ยว ดร. วีระศักดิ์ โควสุรัตน์

ภาครัฐมีความประสงค์จะเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวจากปัจจุบันที่อยู่ระดับหนึ่งล้านล้านบาทเป็นสองล้านล้านบาท เนื่องจากเป็นสาขาธุรกิจที่ได้รับผลตอบแทนสูง อย่างไรก็ดีในสาขาท่องเที่ยวต้องประสบกับข้อจากัดต่างๆ ดังต่อไปนี้

 การท่องเที่ยวทั่วโลกเติบโตได้เพียงร้อยละสามต่อปี แต่ในระดับภูมิภาคอาเซียนการท่องเที่ยวเติบโตได้มากเนื่องจากการขยายตัวของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่า (Low Cost Airline) ซึ่งทาให้ชนชั้นกลางเดินทางได้มากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจะมีศักยภาพเติบโตได้มากถ้าหากสามารถแก้ไขข้อจากัดดังต่อไปนี้

- ความแออัดของท่าอากาศยานและระบบโลจิสติกส์ กรณีศึกษาที่ดีคือประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีนักท่องเที่ยวกว่า 60 ล้านคน เท่ากับจานวนประชากรในประเทศ แต่มีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวจานวนดังกล่าวได้

- กฎหมายและระเบียบไม่เอื้ออานวย เช่นการไม่ให้ Single Visa ในประเทศอาเซียน ในขณะที่กลุ่มประเทศ CLMV มีสัญญาร่วมกันว่าจะพัฒนาระบบ Single Visa ซึ่งแสดงถึงความก้าวหน้าในข้อกฎหมายและระเบียบดังกล่าว

- คณะกรรมการตรวจคนเข้าเมืองมาจากหน่วยงานด้านความมั่นคงเกือบทั้งหมด ทาให้ไม่เข้าใจธุรกิจ จึงควรแก้โครงสร้างของปัญหานี้

- ประเทศไทยมีกฎหมายด้านความสะอาดแต่ไม่มีการบังคับใช้ เช่น ความสะอาดของป้ายโฆษณา และความสะอาดของถนน

- ปัญหาความปลอดภัย ส่วนหนึ่งมาจากโรงแรมที่ไม่ได้รับอนุญาตจัดตั้งตามกฎหมาย แนวทางการปรับปรุงควรจะนากรณีศึกษาในประเทศรัสเซียมาใช้ คือให้มีการจัดเก็บภาษีในอัตราเดียวกันหมดคือร้อยละ 13 ซึ่งจะทาให้ธุรกิจนอกกฎหมายเข้ามาสู่ในระบบ และรัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น รัสเซียใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับคนเข้าเมืองที่เอื้อต่อการอนุมัติคนเข้าเมือง อาทิ กลุ่ม Expat ทาให้มีคนเข้ามาในประเทศมากขึ้น

- ปัญหาด้านเอกลักษณ์ ทาให้ประเทศไทยขาด Product Differentiation โดยสินค้าที่คล้ายๆ กันก่อให้เกิดการ Over-supply จึงทาให้เกิดการแข่นขันด้านราคา ตัดราคากันเองเพื่อแย่งลูกค้า

 ประเทศไทยควรมองประเทศในอาเซียนนอกจากเป็นเสมือนประเทศคู่ค้า คู่แข่งแล้วให้คิดว่าเป็นประเทศคู่คิด (Partner) เช่น กรณีถ้าต้องขยายตลาดมุสลิม ประเทศไทยจาเป็นต้องร่วมมือกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน และต้องประสานความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ CLMV เป็นต้น

 รัฐบาลต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในส่วนที่เอกชนไม่สามารถดาเนินการได้เอง อาทิเช่น การแก้กฎหมาย

 ถึงแม้ภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งสาคัญในการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว แต่สิ่งที่สาคัญมากกว่าคือทัศนคติ (Mentality and Mindset) ของผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว หรือการปรับทัศนคติต่อนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ อาทิเช่น ความเข้าใจต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนจากประเทศต่างๆ ที่ผู้ให้บริการตระหนักว่านักท่องเที่ยวผู้ที่ใช้จ่ายมากที่สุดมักจะเป็นชาวเอเชีย ส่วนนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายน้อยมักจะมาจากประเทศเยอรมัน เป็นต้น

ธุรกิจท่องเที่ยว ผู้เข้าร่วมสัมมนา: จำนวน 80 คน ผู้ดาเนินการสัมมนา รองศาสตราจารย์ ดร. บงกช ฤทธิชัยนุวัฒน์ งามสม ผู้อานวยการหลักสูตรนานาชาติการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยสยาม วิทยากร คุณมัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศษ อดีตนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ คุณศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ ประธานฝ่ายการตลาด สมาคมโรงแรมไทย คุณสุวดี ปาจรียางกูร ที่ปรึกษาสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA) และกรรมการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมาศักดิ์สมาคมโรงแรมไทย และอุปนายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันตก ผู้เขียนรายงานการสัมมนา ดร. ประพันธ์พงษ์ ขาอ่อน อาจารย์ประจาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 สถานะปัจจุบันของธุรกิจท่องเที่ยว

ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นสาขาเร่งรัด (Priority Sector) ภายใต้กรอบการเปิดเสรีอาเซียนซึ่งกาหนดให้ประเทศสมาชิกจะต้องอนุญาตให้ผู้ให้บริการหรือนิติบุคคลในประเทศสมาชิกอาเซียนถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในปี 2554 ธุรกิจท่องเที่ยวไทยเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงโดยจากการประชุมเชิงปฏิบัติการของหน่วยงานรัฐบาลในปี 2555 สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดให้ธุรกิจบริการท่องเที่ยวเป็นกลุ่มที่ได้เปรียบแต่ยังไม่มีความพร้อมเนื่องจากขาดการพัฒนาในหลายด้านโดยเฉพาะเรื่องศักยภาพของบุคลากรในการให้บริการ และการบริหารจัดการทรัพยกรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

จากสถิติในปี 25542 พบว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทย 19.1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกจานวน 980.2 ล้านคน และจัดอยู่ในอันดับที่ 15 ของประเทศที่มีจานวนนักท่องเที่ยวไปเยือนมากที่สุด เมื่อเทียบในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือน 217.1 ล้านคนในปี 2554 นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 8.8

แนวโน้มในอนาคตสาหรับธุรกิจท่องเที่ยวในระดับโลกจะมีอัตราการเติบโตมากขึ้น โดยองค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization - UNWTO) คาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 980 ล้านคนในปี 2554 เป็น 1,561 ล้านคนในปี 2563 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.6 ต่อปีในช่วงปี 2555-2563 สาหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะเป็นภูมิภาคที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปเพิ่มขึ้นจาก 207 ล้านคนในปี 2544 เป็น 416 ล้านคนในปี 2563 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10.2 ต่อปีในช่วงปี 2555-2563 ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปเยือนในอัตราเพิ่มสูงขึ้นโดยมีแรงเกื้อหนุนสาคัญจากการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนและการสนับสนุนจากรัฐบาล เมื่อพิจารณาจากการขยายตัวของตลาดธุรกิจท่องเที่ยวของไทยสาหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในอัตราร้อยละ 19.8 ในปี 2554 ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวของตลาดธุรกิจท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค รัฐบาลไทยตั้งเป้าหมายจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจาก 19 ล้านคนในปี 2554 เป็น 30 ล้านคนในปี 2558

จุดแข็ง

 ความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายของทรัพยากรด้านท่องเที่ยว

 ความมีเอกลักษณ์ของประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น

 สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่เอื้ออานวยให้ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

 ความเป็นมิตรและมีจิตใจบริการของคนไทย

 ความหลากหลายของบริการด้านการท่องเที่ยว สามารถรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกันได้อย่างลงตัว

จุดอ่อน

 ขาดการบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

 แหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่อย่างหลากหลายของไทยยังไม่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และการสร้าง “Theme” ที่ชัดเจนเพื่อนาเสนอและชักชวนให้ชาวต่างชาติเดินทางมา

 บุคลากรยังไม่มีคุณภาพในการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพด้านภาษา

 ขาดจิตสานึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม

 ปัญหาเรื่องความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศไทย

โอกาส

 จานวนผู้สูงอายุในประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้นเป็นโอกาสในการขยายตลาดการท่องเที่ยวพานักระยะยาว (L-Stay) ของประเทศไทย

แนวโน้มปัจจุบันสนับสนุนตลาดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

 ตลาดท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค โดยมีจีน อินเดีย รวมทั้งตะวันออกกลางเป็นตลาดเป้าหมายสาคัญ

 การขยายตัวของตลาดนักท่องเที่ยวเดินทางซ้า

 ผลของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศมากขึ้น

ปัจจัยคุกคาม

 ปัญหาทางเศรษฐกิจในตลาดท่องเที่ยวหลักเช่น ยุโรป

 ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

    ศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้านมีมากขึ้น

 ประเทศต่างๆ อาทิเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาผ่อนปรนความเข้มงวดในการตรวจคนเข้าเมืองเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจีนเข้าประเทศ

 ผลกระทบจากการเมืองภายในประเทศ


1.1 มาตรฐาน (Standard) ที่ภาคธุรกิจบริการต้องพัฒนาเพื่อยกระดับศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศอื่น

 ข้อเท็จจริง 

1.1.1 มาตรฐานเรื่องการให้บริการของผู้ให้บริการ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ซึ่งมาตรฐานในด้านบริการยังเป็นรองกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมขนาดใหญ่อยู่มาก ข้อเสนอ 

1.1.2 การพัฒนามาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ในการบูรณาการธุรกิจท่องเที่ยวให้มีความรวดเร็วและทันสมัยในการให้บริการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน 

1.1.3 การพัฒนามาตรฐานด้านโลจิสติกส์เพื่ออานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว อาทิเช่น ระบบขนส่งจากสนามบินเข้ามาในเมือง ระบบขนส่งมวลชน และคุณภาพของรถแท็กซี่ เป็นต้น

 1.1.4 การพัฒนามาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันมิให้มีธุรกิจบริการท่องเที่ยวที่ผิดกฎหมาย อาทิเช่น ธุรกิจที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบการที่แอบแฝงเข้ามาหาประโยชน์

 1.2 ทางเลือกของโครงสร้างของธุรกิจท่องเที่ยวในปัจจุบัน: การเน้นความสาคัญทางด้านทุน (Capital Intensive), การเน้นความสาคัญทางด้านเทคโนโลยี (Technology Intensive), การเน้นความสาคัญทางด้านแรงงาน (Labor Intensive) และการเน้นความสาคัญทางด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Intensive) ข้อเท็จจริง 1.2.1 เพื่อก้าวพ้นสภาพ “กับดักของประเทศกาลังพัฒนา” (Middle Income Trap) ประเทศไทยควรจะต้องหาจุดยืน (Benchmark) เพื่อเป็นหลักในการพัฒนาธุรกิจบริการไทย

 1.2.2 ภาคธุรกิจท่องเที่ยวเห็นว่าการเน้นความสาคัญทางด้านทุน (Capital Intensive), การเน้นความสาคัญทางด้านเทคโนโลยี (Technology Intensive), การเน้นความสาคัญทางด้านแรงงาน (Labor Intensive) และการเน้นความสาคัญทางด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Intensive) ล้วนเป็นจุดยืนที่ธุรกิจท่องเที่ยวไทยควรยึดถือเป็นหลัก ข้อเสนอ 

1.2.3 ความสาคัญด้านเทคโนโลยี อาทิเช่น การนา Software มาใช้กับการให้บริการการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ควรจะเป็นสิ่งที่ควรเน้นในยุคปัจจุบัน เพราะ Software ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่แพร่หลายโดยส่วนมากคือระบบการจองโรงแรม (Booking) แต่ Software สามารถนามาใช้กับธุรกิจบริการท่องเที่ยวทางด้านอื่นๆ ได้เช่นระบบการจัดการบริหารโรงแรม (Hotel Management) และระบบการจัดการบริการนาเที่ยว (Tour Management) เป็นต้น

1.3 โครงสร้างด้านกรอบการกากับดูแลธุรกิจท่องเที่ยว (Regulatory Framework) ที่ควรปรับปรุงแก้ไข

ข้อเท็จจริง

 1.3.1 การกากับดูแลธุรกิจโรงแรมในต่างจังหวัดไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ธุรกิจโรงแรมในต่างจังหวัดจานวนมากไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมเพราะผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมเนื่องจากมีต้นทุนสูง ผู้ประกอบการบางรายจึงสร้างอาคารชุดให้เช่ารายเดือนแล้วพัฒนามาเป็นธุรกิจโรงแรมในภายหลังโดยมิได้ขอใบอนุญาต ข้อเสนอ

 1.3.2 ควรมีการบังคับใช้การกากับดูแลธุรกิจท่องเที่ยวให้ดีมากขึ้นทั้งในเรื่องการออกใบอนุญาตและมาตรฐานการให้บริการ อาทิเช่น เรื่องการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่สามารถตรวจสอบใบอนุญาตได้อย่างทั่วถึงจึงทาให้เกิดธุรกิจแอบแฝง และเกิดการให้บริการธุรกิจผิดประเภท เป็นต้น 

1.3.3 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้มีอานาจหน้าที่ออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม แต่ไม่มีการบังคับใช้กฏหมายและควบคุมธุรกิจโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาต ควรที่จะเข้ามาจัดระเบียบและบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง 1.3.4 กรมการท่องเที่ยวควรมีมาตรฐานในการบังคับใช้และกากับดูแลมาตรฐานโรงแรม อาทิเช่นเรื่องการลาดับดาวของโรงแรม

 1.4 กฎเกณฑ์และกฎหมายที่จาเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข

 1.4.1 พระราชบัญญัติธุรกิจนาเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 ซึ่งต้องเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติให้สอดคล้องกับข้อผูกพันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 

1.4.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น พระราชบัญญัติการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ เพื่อให้มีการจัดตั้งสภามัคคุเทศก์อาชีพ พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลป์ ฯลฯ ในกรณีที่มีการตกลงเรื่องคุณสมบัติวิชาชีพร่วมกันในประชาคมอาเซียน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) 

1.5 ปัญหาในการเข้าถึงแหล่งทุนของภาคธุรกิจท่องเที่ยว 1.5.1 ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาเรื่องการเข้าถึงแหล่งทุนในตลาดเงิน เพราะธนาคารพาณิชย์ไม่อนุมัติเงินกู้

 หมวด 2: ความเชื่อมโยงและเครือข่าย 

2.1 การปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับรัฐ ความสามารถในการร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับรัฐ

 2.1.1 การทางานระหว่างรัฐและเอกชนต้องเป็นไปอย่างใกล้ชิด

2.1.2 ภาคเอกชนและภาครัฐควรมีมาตรการร่วมกันในการแก้ปัญหาโดยมีความตกลงร่วมกันในเรื่องกรอบเวลาในการปฏิบัติงาน

 2.1.3 รัฐบาลควรมีมาตรการสนับสนุนเอกชนในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพ อาทิเช่น การออกนิทรรศการ และการพบปะนักธุรกิจต่างชาติ

 2.1.4 เอกชนควรมีความร่วมมือกับรัฐในการตรวจสอบธุรกิจที่ผิดกฎหมายและรายงานกับรัฐบาล อาทิเช่น ปัญหาธุรกิจร้านอาหารซึ่งประกอบธุรกิจนาเที่ยวไปด้วยทั้งๆ ที่ไม่มีใบอนุญาต

 2.1.5 รัฐบาลต้องจัดตั้งศูนย์เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากเอกชน

 2.1.6 รัฐบาลต้องจัดเวที (Forum) มากขึ้นในการรับฟังความคิดเห็นของเอกชน

 2.2 มาตรการของรัฐบาลในการสนับสนุนให้การเปิดตลาดเสรีของธุรกิจท่องเที่ยวเป็นไปอย่างยั่งยืน

 2.2.1 มาตรการของรัฐในการเยียวยาผลกระทบที่จะเกิดจากการเปิดเสรี AEC เพียงพอหรือไม่ (ณ ปัจจุบันมีกองทุน FTA และมาตรการปกป้อง)

 2.2.2 มาตรการกองทุน FTA ซึ่งมีกองทุนธุรกิจท่องเที่ยวอยู่ด้วย โดยรัฐบาลให้ข้อมูลว่าเอกชนสามารถรวมกลุ่มกันเพื่อขอใช้ประโยชน์จากกองทุนนี้ได้ แต่เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การขอใช้เงินจากกองทุนนี้ยังมีความคลุมเครือและไม่มีข้อมูลบ่งบอกไว้ชัดเจน

 2.3 การปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจบริการ 2.3.1 เอกชนจาเป็นต้องรวมกลุ่มกันเป็น Cluster

 2.3.2 การรวมกลุ่มเป็น Cluster ทาได้โดยการรวมกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือข้ามประเภทธุรกิจ (Cross Cluster) เช่น ธุรกิจโรงแรมรวมกลุ่มกับธุรกิจนาเที่ยว เป็นต้น

 2.3.3 มีการสร้าง Cluster ในกลุ่มจังหวัด อาทิ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สุรินทร์ ชัยภูมิ ศีรษะเกศ บุรีรัมย์)

 2.3.4 ปัญหาของการรวมกลุ่มเป็น Cluster คือ ขาดเงินทุน ซึ่งแนวทางแก้ไขคือ Cluster ต้องรวมกลุ่มไปจดทะเบียนเป็นสมาคมการค้าเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานะทางกฎหมายในการที่จะร่วมงานกับรัฐ และเป็นสมาชิกของหน่วยงานต่างๆ เช่นสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 

หมวด 3: การเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน

 3.1 หน่วยงานในประเทศไทยที่รับผิดชอบในการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจท่องเที่ยว หน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของธุรกิจท่องเที่ยว

 3.1.1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

 3.1.2 กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสาร

3.2 มาตรการในการส่งเสริมศักยภาพของธุรกิจท่องเที่ยว และมาตรการในการส่งเสริมศักยภาพสาหรับธุรกิจท่องเที่ยวให้สามารถออกไปแข่งขันในเชิงรุกกับต่างประเทศได้ 

3.2.1 ควรจัดตั้งกองทุนสาหรับธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism Mutual Fund) หรือสนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์การบริการท่องเที่ยวไทยเพื่อพัฒนาศักยภาพของธุรกิจท่องเที่ยวไทย โดยที่ทุนในกองทุนจะมาจากส่วนของภาษีเงินได้ที่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวทั้งหมดจ่ายให้แก่รัฐ กองทุนนี้จะบริหารโดยเอกชนในภาคธุรกิจท่องเที่ยว 

3.2.2 กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและการสื่อสารควรร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศให้แก่ธุรกิจท่องเที่ยวไทย

 3.2.3 กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาควรมีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโดยการให้รางวัลสาหรับธุรกิจท่องเที่ยวที่รักษามาตรฐานการให้บริการอย่างยอดเยี่ยม

 3.2.4 ควรมีมาตรการในการลดดอกเบี้ยเงินกู้สาหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs และมาตรการในการลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ

 3.2.5 ควรมีความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและกรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการพัฒนามาตรฐานการให้บริการ เนื่องจากกรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผู้พัฒนามาตรฐานต่างๆสาหรับธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีทั้งหมดมี 44 มาตรฐาน และมาตรฐานบางอย่างได้รับการพัฒนาเพื่อสอดคล้องกับกรอบของ ASEAN อาทิเช่น มาตรฐาน ASEAN Spa และ Green Hotel 

3.2.6 ควรมีมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เนื่องจากการทาการตลาดทางอินเตอร์เนตเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการทาให้แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว แต่ในขณะเดียวกันการตลาดทางอินเตอร์เน็ตมีราคาแพง อาทิเช่น การลงโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งธุรกิจ SMEs ของไทยไม่สามารถจัดหามาได้ 

3.2.7 มาตรการสนับสนุนให้คนไทยเที่ยวในเมืองไทย “ไทยเที่ยวไทย” เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศ

 3.3.1 มาตรการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศควรเน้นที่ธุรกิจ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ยังประสบปัญหาเรื่องทุน เพราะธุรกิจขนาดใหญ่มีศักยภาพในการออกไปลงทุนต่างประเทศอยู่แล้ว

 3.3.2 ควรมีมาตรการให้ภาครัฐสร้างระบบ “Coaching” ให้แก่ธุรกิจท่องเที่ยว SMEs โดยหน่วยงานของภาครัฐจะให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเริ่มตั้งแต่กระบวนการตั้งธุรกิจ การให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค ตลอดจนความช่วยเหลือในด้านการเข้าถึงแหล่งทุนให้แก่ธุรกิจ SMEs

 3.4 วิธีการการส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัย (Research and Development: R&D) เพื่อสร้างศักยภาพแก่ธุรกิจท่องเที่ยว หน่วยงานผู้รับผิดชอบ

 3.4.1 ควรจัดตั้งหน่วยงานเจ้าภาพ อาทิเช่น กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา สถาบันการศึกษา ฯลฯ เพื่อให้มีการเผยแพร่งานวิจัยแก่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง เพื่อส่งเสริมงานวิจัยของนักวิจัยไทย มาตรการที่ส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัย (Research and Development: R&D) เพื่อสร้างศักยภาพแก่ธุรกิจท่องเที่ยว

 3.4.2 รัฐควรมีมาตรการในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยให้แก่ผู้ที่สนใจ และมีกลไกในการนาไปประยุกต์ใช้ได้จริง

 3.4.3 รัฐควรมีมาตรการในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลวิจัยให้เข้าถึงสาธารณชนในวงกว้างให้มากที่สุด

 หมวด 4: อุปสรรค

 4.1 อุปสรรคในการแข่งขันของภาคธุรกิจท่องเที่ยว และแนวทางแก้ไข

 4.1.1 การบังคับใช้กฎหมาย



ความเห็น (3)

ต้องขอโทษด้วยครับที่เกิดข้อผิดพลาดในการคัดลอกเอกสารนำลงในบันทึกนี้ ก่อนที่จะทำการบันทึกก็เรียบร้อบ ตัวหนังสือมีขนาดที่เหมาะสม และมีข้อมูลสมบูรณ์ แต่เมื่อทำการบันทึก ผลที่ออกมาตัวหนังสือ มีขนาดที่แตกต่างจากที่คัดลอกมาก่อนมีการบันทึก บางประโยคตัวหนังสือใหญ่และหนา บางประโยคตัวหนังสือเล็ก และข้อมูลหารไปไม่สมบูรณ์  เข้าใจว่าเป็นเทคนิดในการคัดลอก อย่างไรก็ตามต้องขอประทานโทษ โดยผมจะนำมาบันทึกให้ใหม่ แต่ต้องขอเวลาเนื่องจากมีงานอื่นที่ยังค้างอยู่ เมื่อมีเวลาจะรีบนำมาเผยแพร่ให้ใหม่ เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

27 กรกฎาคม 2556

 

 

 

 ..... ขอบคุณค่ะ ...พออ่านได้ค่ะ .... AECเป็นเรื่่องสำคัญ ประชาชนทุกภาคส่วนต้องเรียนรู้ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท