๑๔๘.การพัฒนาการคิดและทำงานความรู้บนข้อมูลแบบ Nonverbal,Nontext Intellectual


 

ข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในรูปของภาษาถ้อยคำ หรือ อวจนภาษา (Nonverbal Language) หรือทำให้เป็นแบบ Nontext ในยุคปัจจุบัน มีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน โดยเฉพาะปรากฏการณ์ต่างๆที่มีชีวิตในแต่ละหน่วยปรากฏการณ์ รวมทั้งตัวเหตุการณ์และสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เช่น ศิลปะการแสดงท่าทาง วัฒนธรรมการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ศิลปะบนอาหารการกิน รูปแบบและแบบแผนการดำเนินชีวิต การปฏิสันถารและวัฒนธรรมการรวมกลุ่ม การเลือกสรรสิ่งแวดล้อมและการจัดระบบนิเวศชีวิต การส่งเสียงสร้างทำนองการร้องรำทำเพลง การวาดรูป การปั้นและแกะสลัก รวมทั้งการทำสิ่งของเครื่องใช้ การทำบ้านและที่อยู่อาศัย การตั้งถิ่นฐานและความเป็นชุมชนการอยู่อาศัย เหล่านี้เป็นต้น 

ข้อมูลในลักษณะดังกล่าว มีบทบาทต่อการสร้างสุขภาวะสังคมของมนุษย์ในสังคมวัฒนธรรมต่างๆมาอย่างยาวนานตลอดพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ ซึ่งเราสามารถเข้าถึงและสัมผัสได้ แต่เครื่องมือและวิธีบันทึกถ่ายทอดแบบ Verbal Language-Text data ที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป จะมีข้อจำกัดมาก

 

ในการสร้างความรู้และสร้างสรรค์ทางปัญญาแบบ Nonverbal Intellectual นั้น มีวิธีการที่เฉพาะ ทั้งแตกต่างจากภาษาและข้อมูลแบบภาษาถ้อยคำ และผสมผสานกัน อีกทั้งยังคมมีบทบาทต่อพัฒนาการต่างๆของสังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่ในการศึกษา การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการศึกษาและพัฒนาการปฏิบัติ เพื่อนำมาใช้ในโอกาสที่จำเป็นต่างๆอย่างเป็นระบบ ไม่ค่อยมีใครทำกันมากนัก เพราะจำเป็นต้องดำเนินการแบบบูรณาการศาสตร์หลายด้าน ซึ่งเป็นข้อจำกัดของยุคการศึกษาและการพัฒนาแบบแยกส่วน ซึ่งเป็นกระแสหลักของสังคมโดยทั่วไปในปัจจุบัน 

อย่างไรก็ตาม ภาษาที่เหนือภาษาถ้อยคำ ก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่ยังคงดำรงอยู่จริงและยังคงมีบทบาทต่อการสื่อสาร การสร้างสรรค์สังคม รวมทั้งการดำเนินชีวิตและทำการงาน อีกทั้งในบางกรณี ก็มีความเป็นสากล ข้ามพรมแดนความแตกต่างได้อย่างไร้กรอบจำกัดยิ่งกว่าภาษาถ้อยคำ 

กล่าวได้ว่า มีความจำเป็นและสำคัญมาก โดยเฉพาะสังคมที่คนส่วนใหญ่สร้างกิจกรรมชีวิต ดำเนินชีวิต ผลิตความคิดและสร้างความรู้ สร้างความเข้าใจต่อชีวิตและโลกรอบข้างในรูปแบบต่างๆหลากหลายรูปแบบที่ไม่ใช่ในรูปภาษาถ้อยคำอย่างเดียว เช่น อยู่ในศิลปะการสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างชุมชน การสร้างงานศิลปะทุกแขนง การถ่ายภาพ การสร้างเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ศิลปะเครื่องประดับ เหล่านี้เป็นต้น ข้อมูลบนปรากฏการณ์เหล่านี้ เป็นข้อมูลแบบอวจนภาษา หรือ Nonverbal Language และแบบ Nontext 

     

                       

ชุดสื่อพาวเวอร์พ๊อยต์ การคิดและทำงานด้วยภาษาด้วยภาพ ประกอบการบรรยายและประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับเครือข่ายวิจัยชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายโรงพยาบาลสร้างสุข

หมายเลขบันทึก: 543647เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 06:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2013 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ได้เรียนเรื่องแบบนี้ใน text ฝรั่ง แต่บ้านเราไม่ค่อยมี การคิดและทำงานด้วยภาษาด้วยภาพ

ได้อ่านในบันทึกจองอาจารย์นี่ละครับ

กำลังทำเรื่องนี้อยู่พอดีเย้ๆๆ สนทนาและถ่ายทอดเรื่องราวชุมชน

ขอบคุณมากๆครับ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิตครับ
ดีใจที่อาจารย์ให้ความสนใจกับการทำงานความรู้ในด้านนี้ด้วย ในเว๊บบล๊อก GotoKnow ในทุกหัวข้อของผมนั้น ใช้ข้อมูลและเขียนด้วยวิธีการอย่างนี้ไปด้วยทั้งหมดเลยละครับ ในชุดองค์ความรู้ของ คนหนองบัว ในด้านของการเก็บข้อมูล ก็ผสมผสานกันทั้ง ....

  • Informative and Educative Events and Situational โดยเฉพาะการนำเอาสื่อและสิ่งแสดงต่างๆไปจัดแสดงแล้วก็เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์จริง ที่มีมิติสังคม เศรษฐกิจ การดำเนินชีวิต และการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆของสังคมเกิดขึ้นจริงๆให้สัมผัสแล้วก็ทำการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมด้วยตัวเราเองเป็นทีม 
  • Photo and Visual Immage Data
  • Audio,Sound and Dialogue โดยเฉพาะการนั่งล้อมวงเสวนา ร้องเพลงพวงมาลัย หลายกลุ่ม หลายระดับ  
  • Conceptaul Drawing การวาดภาพความคิดทั้งจากบุคคลและกลุ่มคน
  • Fact and Research - Based Drawing การวาดภาพจากข้อมูลและการศึกษาวิจัย
  • Spectaculation Drawing การวาดภาพและบันทึกจากการเดินสำรวจมิติต่างๆในพื้นที่
  • Art and Crafts Subjects ทั้งของที่ทำขึ้นใหม่ ของเก่า และของอนุรักษ์ของชุมชน เช่น มีดของช่างว่อน ขนมและอาหารของชาวบ้าน การทำไถและงานฝีมือต่างๆของชุมชน

หลังจากวิเคราะห์ ประมวลผล และนำเสนอเผยแพร่สื่อสารกับสาธารณะนี่ อาจารย์จะพบว่า ทั้งหมดของชุดความรู้หนองบัวนั้น เป็นการผสมผสานหรือ Text and Nontext, Knowledge and Communication Combinationed ทั้งสิ้นเลย และบางเรื่องเป็น Nontext ร้อยเปอร์เซ็นต์ รวมทั้งนอกเหนือจากเรื่องของคนหนองบัว ซึ่งบางทีผมก็ยืมคำว่า Photo Essay มาใช้ ถึงแม้จะไม่พอดีคความอย่างที่ต้องการนัก แต่ก็ไม่รู้จะหาคำไหนมาใช้ เลยยืมเขามาใช้ไปพลางๆก่อน จึงพอจะอวดได้นะครับว่าในสังคมไทยมีมานานแล้วใน GotoKnow เพราะตอนเริ่มเขียนใน GotoKnow ก็ตั้งใจดูในเรื่องนี้มาด้วยแหละครับ ในเรื่องการวิจัยแบบ PAR ก็ยกระดับด้านที่เป็น Methodology and Tools แล้วก็รายงาน เผยแพร่ สั่งสมมาเรื่อยๆ ซึ่งทางมหิดลและ สพช ก็ได้สนับสนุนให้ได้ทำเป็นสื่อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ดังนั้น ในบ้านเราจึงมี และมีบนบริบทความรู้เชิงสังคมของเราเองด้วยน่ะครับ

มีความพยายามยกระดับการศึกษาและทำให้มันชัดเจนขึ้นเรื่อยๆอยู่ในกลุ่มที่ทำงานบนความสนใจเดียวกันมาตลอดแต่เป็นกลุ่มเล็กมากอยู่ด้วยบ้างเหมือนกันครับ แต่แม้จำเป็นกลุ่มสนใจเล็กๆและทำไปเรื่อยๆ ก็ได้บันทึกแลเผยแพร่ไปเรื่อยๆได้มากพอสมควร แล้วก็คิดว่าจะเป็นข้อมูลที่นำกลับมาใช้เป็นฐานการพัฒนาเอาไว้ใช้ทำงานในบ้านเราได้อีกแนวหนึ่งได้ดีขึ้นเรื่อยๆนะครับ  

ขอเป็นกำลังใจในการพัฒนาสื่อด้านนี้ค่ะ...ที่มูลนิธิสยามกัมมาจล ได้สนับสนุนเยาวชนในงานanimation เพื่อสังคม ซึ่งต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี่ เพื่อต่อยอดให้เกิดแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนงานเพื่อสังคมอีกมิติหนึ่งค่ะ

สวัสดีครับพี่ใหญ่ครับ
ได้ติดตามและเห็นจากที่พี่ใหญ่ได้นำมาถ่ายทอดสื่อสารให้ทราบใน GotoKnow นี้อยู่เป็นระยะๆ ซึ่งน่าสนใจและเป็นเวทีสร้างคนรุ่นอนาคตที่ดีมากเลยนะครับ

ชอบรูปวาดของอาจารย์จังค่ะ

มีเรื่อง มีราว ให้อ่านเสมอ

ขอบคุณค่ะที่รังสรรค์งานดีๆ.

สวัสดีครับคุณ pis.ratana ครับ

รูปนี้แต่เดิมนั้น ก็ใช้บันทึก ถ่ายทอด และนำเสนอมิติต่างๆ ที่บูรณาการและเชื่อมโยงอยู่กับการทำขนมกระยาสารทและความเป็นสารทเดือน ๑๐ ของชุมชนเกษตรกรรมของสังคมไทย ที่มาก็สืบเนื่องกับการสื่อสารความรู้และเขียนข้อมูลต่างด้วยกันของคนหนองบัว อำเภอหนองบัว นครสวรรค์ ซึ่งทั้งคนที่ช่วยกันมอง ช่วยกันเก็บรวบรวมและให้ข้อมูล ช่วยกันแต่งเติม บ้างก็เป็นชาวบ้าน และบ้างก็เป็นคนทำงาน คนมีการศึกษาสมัยใหม่ จะคุยกันด้วยตัวหนังสืออย่างเดียว ก็เกิดพรมแดนทางวิธีเข้าถึงความรู้และทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึงการสนทนากันอย่างกว้างขวางของผู้คนอีกเป็นจำนวนมาก เลยประมวลภาพทั้งหมด ให้เป็นภาษาภาพ จึงเป็นภาพเล่าเรื่องและอิงไปกับข้อมูลหลายๆมิติ แสดงผลให้เห็นได้ทั้งมิติสังคม กระบวนการทางสังคม และความสัมพันธ์กันทางสังคมบนโครงสร้างการผลิต เห็นบทบาทของวัฒนธรรมอาหารและประเพณี ในด้านที่ก่อให้เกิดการระดมและจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร เพื่อการอยู่ร่วมกันในชุมชน และทำให้ระบบสังคมในหน่วยย่อยๆ มีพลัวตรที่จะดำเนินไปอย่างมีความสมดุล ผมใช้เป็นตัวอย่างของวิธีการ Approach ปรากฏการณ์ของสิ่งที่ศึกษาเสียใหม่ ที่มีความเป็นระบบนิเวศทางสังคมวัฒนธรรมที่มีชีวิต รวมทั้งเป็นตัวอย่างของการที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการศึกษา ให้หลากหลายมากขึ้นโดยใช้สื่อศิลปะและเครื่องมือแบบ Nonverbal Intellectual มาใช้ตามความจำเป็น ก็ได้ความน่าสนใจสำหรับตนเองไปด้วยมากเช่นกันครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท