เนื้อหาของการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด : Bipolar disorder


จากการเรียนวิชาการให้เหตุผลทางคลินิก  ทำให้ดิฉันได้ฝึกฝนทักษะการคิดการบูรณาการความรู้ต่างๆ

ในสิ่งที่ตัวดิฉันได้ฝึกปฏิบัติไปให้เป็นระบบชัดเจน  เพื่อให้เกิดประสิทธิผลการรักษาสูงสุดแก่ผู้รับบริการ

และฝึกทักษะประสบการณ์การทำงานกิจกรรมบำบัดของดิฉัน  ดิฉันจึงขอยกตัวอย่างการเขียนรายงานเหตุผล

ทางคลินิกกิจกรรมบำบัดของดิฉัน มาเพื่อเป็นแนวทางและแลกเปลี่ยนแลกเรียนรู้กันนะค่ะ 

รายงานเหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด

ชื่อผู้รับบริการ  นาย ก. (นามสมมติ)  อายุ  54 ปี  Dx. Bipolar disorder

1.  เนื้อหาของการให้เหตุผลทางคลินิก


1.1  ทฤษฎีและวิทยาศาสตร์

               Bipolar Disorder  “โรคอารมณ์สองขั้วเป็นความผิดปกติทางอารมณ์"

               ผู้ที่เป็นจะมีอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน  2 แบบ

                             แบบแรก  ลักษณะอารมณ์และพฤติกรรมเป็นแบบซึมเศร้า ( depressive)

          แบบที่สอง  ลักษณะคึกคักพลุ่งพล่าน  ( mania )

 ผู้เขียน : รศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล

               Areas of functional impairment        Autonomy

                                                                  Occupational functioning

                                                                  Cognitive functioning

                                                                  Interpersonal relationships

                                                                  Financial issues

                                                                  Leisure time

1.2  บริบทของการให้บริการ

ปัจจัยที่ส่งเสริม

              -  Habits  ลักษณะนิสัยของผู้รับบริการเป็นคนกระตือรือร้น

              -  Learning  สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้รวดเร็ว

              -  Value  ให้คุณค่ากับกิจกรรม เมื่อทำสำเร็จเกิดความภาคภูมิใจ self-esteem

ปัจจัยที่จำกัด

             -  Short attention span  ช่วงความสนใจในการทำกิจกรรมสั้น หันเหบ่อย

             -  Low interpersonal skills  หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

             -  Low self-control  ยากลำบากในกการควบคุมตนเองให้ทำกิจกรรมเสร็จ

1.3  บริบทของชีวิตผู้รับบริการ

             -  Motivation ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการร่วมทำกิจกรรมการรักษา

             -  ความปรารถนา  คือ อยากควบคุมตนเองได้มากกว่านี้  self-control

             -  ความสามารถที่มีอยู่ Independent BADL

             -  บกพร่อง short attention span, low interpersonal skills, low self- control

             -  ผู้รับบริการคาดหวังว่าจะกลับไปประกอบอาชีพเดิมและดูแลลูก

1.4  ความเชื่อส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ

             -  ผู้รับบริการมักปฏิเสธการทำกิจกรรมที่ตนเองไม่ชอบหรือไม่สนใจ

                เช่น กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว กายบริหาร เป็นต้น

1.5  ทัศนคติและความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของผู้ให้บริการ

            -  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามหน้าที่ที่กำหนดให้  เพื่อลดการ manipulate

            -  เมื่อสามารถทำกิจกรรมได้สำเร็จเกิดความภาคภูมิใจ self-esteem

            -  ขณะทำกิจกรรม มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนสมาชิก แลกเปลี่ยนประสบการณ์

               interpersonal skills, self-expression

           -   คาดหวังว่าผู้รับบริการจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามบทบาทที่ต้องการได้

               เช่น บทบาทแพทย์สูติฯ  บทบาทพ่อของลูก

1.6 กรอบอ้างอิงของผู้ให้บริการ

           –  Cognitive rehabilitation  :  cognitive training skills

           –   เข้าหาผู้รับบริการเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ก่อนการทำกิจกรรมการรักษา

           –  Therapeutic use of self  :  ในขณะทำกิจกรรม active friendliness,

               respect, reinforcement , firm , extinction (ignore) เนื่องจากผู้รับบริการ

               มีอาการชอบจัดการกลุ่ม  manipulate 


หมายเลขบันทึก: 542877เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2013 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท