กฎหมายธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องทราบ


เป็นกฎหมายสำหรับประชาชน ห้องสมุดกฎหมาย ของ www.krisdika.go.th

     ธุรกิจที่สนในเป็นเรื่องนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายที่ต้องทราบ

จำนำ
          การจำนำ คือการที่ผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ (มาตรา ๗๔๗ และมาตรา ๗๔๘) และในกรณีที่ทรัพย์สินที่นำมาจำนำมีตราสารหนี้ (ตราสารหนี้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามกฎหมายและจะโอนกันได้ก็ต่อเมื่อโอนด้วยวิธีของตราสารนั้นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ใบหุ้น หรือตั๋วเงิน เป็นต้น) ผู้จำนำต้องแจ้งให้ผู้รับจำนำทราบ และต้องมอบตราสารหนี้นั้นให้ผู้รับจำนำไว้ด้วย (มาตรา ๗๕๐ มาตรา ๗๕๑ มาตรา ๗๕๒ และมาตรา ๗๕๓)
          ในการบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องแจ้งให้ผู้จำนำทราบล่วงหน้า ถ้าผู้จำนำยังเพิกเฉย ผู้รับจำนำอาจนำทรัพย์สินที่จำนำนั้นออกขายทอดตลาดได้ (มาตรา ๗๖๔ มาตรา ๗๖๕ มาตรา ๗๖๖ มาตรา ๗๖๗ และมาตรา ๗๖๘)
          การจำนำสิ้นสุดเมื่อหนี้ที่นำมาจำนำระงับไป เช่น มีการชำระหนี้กันแล้ว หรือได้หักกลบลบหนี้กันแล้ว เป็นต้น การที่ผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับไปสู่การครอบครองของผู้จำนำย่อมทำให้การจำนำสิ้นสุดลงเช่นกัน (มาตรา ๗๖๙)

จำนอง
          การจำนอง คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า "ผู้จำนอง" เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า "ผู้รับจำนอง" เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง (มาตรา ๗๐๒)
          ทรัพย์สินที่จะจำนองได้ คือ
          ๑. อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน และทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย
          ๒. สังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ที่จะจำนองได้นั้นต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมายและเฉพาะสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้เท่านั้น คือ (๑) เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป (๒) แพ (๓) สัตว์พาหนะ(๔) สังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ (มาตรา ๗๐๓)
          การจำนองจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๗๑๔)
          ถ้าการจำนองไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การจำนองย่อมตกเป็นโมฆะ (มาตรา ๑๕๒)
          การบังคับจำนองมี ๒ วิธี คือ
          ๑. การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาด (มาตรา ๗๒๘)
          ๒. การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้เอาทรัพย์สินที่จำนองหลุดเป็นสิทธิของผู้รับจำนอง (มาตรา ๗๒๙)

 

หมายเลขบันทึก: 54277เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2006 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ที่เขียนมา ก็น่าจะไม่ผิด แต่สิ่งที่น่าจะตรึกตรองมากกว่า ก็คือ (๑) การสมมติตัวเราว่า เป็นผู้ประกอบการนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (๒) คิดให้ออกว่า ในทางธุรกิจ เราจะต้องทำอะไรบ้าง ? และทำกับใคร ? (๓) หากเราจินตนาการ เราจะพบว่า เราต้องความสัมพันธ์กับทั้งรัฐและเอกชนด้วยกัน ดังนั้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องก็จะทั้งที่เป็น "กฎหมายเอกชน" และ "กฎหมายมหาชน"

สุกัลยาตอบมาในบทความนี้ ก็คือ ปพพ.ว่าด้วยจำนำและจำนอง ซึ่งตรงนี้ เป็นเรื่องระหว่าง เอกชนผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ และผู้ซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นแค่จุดเดียวในธุรกิจทั้งหมด

ลองทบทวนที่สอนให้คืด แล้วลองคิดใหม่ และตบแต่งบทความใหม่

ทำอย่างที่ อ.แนะนำ เริ่มต้นคิดจากจุดแรกของการประกอบการ ไปจนถึงจุดสุดท้าย

อยากทราบว่า ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน กฎหมายธุรกิจไหนที่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการมากที่สุด ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท