การสังเคราะห์บทเรียนการดำเนินโครงการเทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพ


การสังเคราะห์บทเรียนการดำเนินโครงการเทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพ

                                                                                            นางฉัตรลดา      กาญจนสุทธิแสง                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     

                                                                                            นางฐิฎา        ไกรวัฒนพงศ์      

                                                                                                 ศูนย์อนามัยที่ 1 กรมอนามัย

 ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา

                การดำเนินงานเมืองน่าอยู่เพื่อนำไปสู่เมืองไทยแข็งแรง ต้องอาศัยความความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นภาคส่วนที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ ทั้งในระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ขึ้นอยู่กับ ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรชุมชน หรือประชาสังคมเป็นหลัก เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพในระดับเทศบาล ควรดำเนินงานด้านกระบวนการเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ  5 องค์ประกอบได้แก่ 1) เทศบาลมีนโยบายและแผนการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ 2) เจ้าหน้าที่เทศบาลผู้รับผิดชอบด้านสุขภาพ ได้รับการอบรม/ประชุม/สัมมนาเกี่ยวกับเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ หรือ การบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุขด้านต่างๆ 3) เทศบาล ภาคีเครือข่าย หรือผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินงานเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ 4) เทศบาลมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศึกษาดูงานในระดับเทศบาล 5) เทศบาลพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพตามตัวชี้วัดทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต(กรมอนามัย,2548)

ปี พ.2547-2548  ศูนย์อนามัยที่1 กรุงเทพฯ ได้สนับสนุนการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ในบริบทของเทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพทั้งด้านกระบวนการ และผลผลิต ในเขตรับผิดชอบ 4 จังหวัด คือจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง  โดยใช้กลวิธี 1) จัดเวทีประสานภาคีเครือข่ายการดำเนินงาน 2) เทศบาลมีการประเมินตนเอง(Self Assessment)  3) การเยี่ยมเสริมพลัง(Empower Visit)  4) การติดตามสอนงาน(Coaching) และ5) การศึกษาเทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด(Best Practice)  มีการดำเนินงานยึดเป้าหมายกรมอนามัย คือ ครอบคลุมเทศบาลร้อยละ20และ40 ตามลำดับ  ซึ่งปี พ.. 2548สามารถพัฒนาการดำเนินงานเทศบาลผ่านการประเมินรับรอง ถึง ร้อยละ 85.24 โดยมีเทศบาลสมัครเข้าร่วมโครงการ 61 แห่ง (ร้อยละ 100 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินรับรอง เป็นเทศบาลแข็งแรง 11 แห่ง ( ร้อยละ 18.03)  เป็นเทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพ 37 แห่ง ( ร้อยละ 60.66 ) และมีกระบวนการเมืองน่าอยู่ 4 แห่ง ( ร้อยละ 6.56 )

                ในระยะต่อไปการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพในพื้นที่เทศบาล เพื่อพัฒนาเป็นเทศบาลแข็งแรงสู่ภาพรวมการพัฒนาระดับประเทศ ให้คนไทยแข็งแกร่ง เมืองไทยแข็งแรง ควรมีการดำเนินงานดังนี้ 1) มีผู้รับผิดชอบเป็นคณะทำงานในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ 2) ประกาศ นโยบายการพัฒนาเทศบาลให้เป็น ชุมชนน่าอยู่ เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพและประกาศให้ประชาชนทราบ 3) ประชาสัมพันธ์นโยบายการพัฒนาเทศบาลเทศบาลให้เป็น ชุมชนน่าอยู่ เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ และเชิญชวนประชาชนร่วมเป็นเจ้าภาพ 4) สร้างความเข้าใจและแนวคิดร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารของเทศบาล ทีมดำเนินงาน กับ ภาคีเครือข่าย 5) สำรวจข้อมูล และประเมินตนเองด้านสุขภาพอนามัย 6) เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาชุมชน/ เทศบาล กับข้อตกลงรวมกัน พัฒนาเทศบาลตนเองให้เป็น เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ บรรจุในแผนชุมชน และ แผนเทศบาล และ7) มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง(กรมอนามัย,2548)

                                อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานเทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพที่ผ่านมา เทศบาลจะมีระดับของการพัฒนาที่แตกต่างกันตามบริบท และศักยภาพของแต่ละพื้นที่  โดยยังขาดการบูรณาการ และความเชื่อมโยงการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก การผลักดันและขับเคลื่อนยังเป็นบทบาทของสาธารณสุขเสียส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในเรื่อง ฐานข้อมูล และ ผลผลิตด้านสุขภาพ  กระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการปรับวิธีการทำงาน ให้สามารถเผชิญกับปัญหาใหม่ๆที่สลับซับซ้อน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยดึงศักยภาพที่หลากหลาย บูรณาการจนได้องค์ความรู้ใหม่ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาสู่สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ 3 ประการ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้สมานฉันท์ เอื้ออาทรต่อกัน เป็นสังคมที่มีคุณภาพ (สรรเสริญ วงศ์ชอุ่ม,2543 : 8 ) แนวคิดการถอดบทเรียน และ สังเคราะห์องค์ความรู้ จะช่วยให้โครงการมีการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง จุดเริ่มต้นในการดำเนินกิจกรรมในโครงการพัฒนา การสร้างสรรค์ ค้นคว้า รวบรวมกระบวนการเรียนรู้ การสะท้อนกลับของสิ่งที่เกิดขึ้น จะนำมาสู่การได้บทเรียน (Lessons Learned )  บทเรียนที่ได้จะถูกนำมากลั่นกรอง ตรวจสอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่เป็นทุนทางปัญญา ทุนทางปัญญานี้จะถูกนำไปปรับใช้ เผยแพร่ให้บุคคลอื่นเรียนรู้และประยุกต์ใช้ ในการดำเนินกิจกรรมต่อไปเป็นวงจร(ศุภวัลย์ พลายน้อย,2547)  การเรียนรู้จากการใช้ประโยชน์จากบทเรียนในการดำเนินโครงการ จะเป็นการใช้บทเรียนดำเนินโครงการต่อไปให้ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดิม และเป้าหมายใหม่ที่สูงกว่าเดิม เป็นการยกระดับการเรียนรู้( Second-order Learning )

การวิจัยครั้งนี้ได้ออกแบบให้มีการถอดบทเรียน การจัดการความรู้ รวมทั้งการสังเคราะห์บทเรียน  โดยมุ่งหวังว่าความรู้ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ จะช่วยให้โครงการมีการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ก่อให้เกิดการกระทำผิดซ้ำ รวมทั้งเป็นบทเรียนให้กับโครงการอื่นๆ ในการดำเนินโครงการในอนาคต นอกจากนี้บทเรียนและองค์ความรู้ที่ได้ จะนำมาซึ่งการพัฒนาแนวคิด วิธีวิทยา และทฤษฏีที่เกิดจากการปฏิบัติของพื้นที่ เพื่อเป็นกลไกในการดำเนินงาน ชุมชนน่าอยู่ เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ ต่อไป

 วัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ใช้การจัดการความรู้ และวิธีวิทยาในการถอดบทเรียนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาโครงการเทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพ                                 2. สังเคราะห์บทเรียนการดำเนินโครงการเทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพ

3. พัฒนาองค์ความรู้และสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นระหว่างคนทำงาน บนพื้นฐานการทำงานของเครือข่าย

 บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้การจัดการความรู้ และวิธีวิทยาในการถอดบทเรียนเป็นเครื่องมือสังเคราะห์และถอดบทเรียนการดำเนินโครงการเทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพ ในการพัฒนาการดำเนินงาน และสร้างองค์ความรู้บนฐานการทำงานของภาคีเครือข่าย  กลุ่มตัวอย่างเป็นเทศบาลที่มีกระบวนการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ 17 แห่ง ของ 4 จังหวัด เขต 1 คือจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ 1)ประชุมปฏิบัติการเวทีถอดบทเรียน โดยใช้ตัวแบบต้นไม้ (tree model) เทคนิคการสนทนาแบบสร้างสรรค์(dialogue) และการเล่าเรื่อง(telling story) 2)เทศบาลดำเนินงานตามแผนการพัฒนา 3) เยี่ยมเสริมพลัง(empower visit ) และติดตามสอนงาน (coaching) 4)ติดตามประเมินผล

                ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงในการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ เรียงตามลำดับดังนี้ คือ 1) วิสัยทัศน์ นโยบาย และการบริหารจัดการของผู้บริหาร ที่เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2) ความร่มเย็นเป็นสุข เน้นเรื่องการวางผังเมืองในการพัฒนาที่อยู่อาศัย 3) ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม เน้นทุนทางสังคม 4) เศรษฐกิจชุมชน เน้นวิถีการเกษตร และอาหารปลอดภัย 5) การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เน้นการใช้เทคโนโลยีกำจัดขยะ และ6) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เน้นเรื่องการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังจากการถอดบทเรียนเทศบาลมีแผนพัฒนาการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ในด้านกระบวนการเมืองน่าอยู่ และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ในเรื่อง1)การบูรณาการ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอกเทศบาล 2)การจัดทำฐานข้อมูลด้านสุขภาพ 3) การพัฒนาเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชน 4) ผลผลิตด้านสุขภาพ ในเรื่อง ตลาดสดน่าซื้อ ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ อาหารปลอดภัย สวนสาธารณะ และกฎหมายสาธารณสุข นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เทศบาลเกิดจาก 1) มีกระบวนการทำงานที่ดี เช่นการวางแผน การใช้ข้อมูลในการทำงาน การทำงานเป็นทีม 2) บุคลากรมีความรุ้ ความสามารถ และทักษะในการทำงาน เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การสื่อสาร การเจรจาต่อรอง และความมุ่งมั่น ขยัน อดทน 3) มีปัจจัยสนับสนุน เช่น นโยบาย ผู้บริหาร โอกาส และเวลา ผลจากการประเมินรับรอง เทศบาลทั้ง 17 แห่งสามารถผ่านการประเมินกระบวนการเทศบาลน่าอยู่ด้านสุขภาพได้

                ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า สามารถใช้วิธีการสังเคราะห์ และถอดบทเรียน ในการพัฒนาองค์ความรู้ สร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนทำงาน ตลอดจนใช้ในการติดตาม ประเมินผล สรุปบทเรียน และพัฒนางาน/โครงการ  ด้วยเหตุนี้การสนับสนุนให้เทศบาลใช้วิธีการนี้ จึงจะเป็นตัวเร่งให้เกิดเทศบาลน่าอยู่สู่เมืองไทยแข็งแรงได้    

 

                                                        ………………………………………..

หมายเลขบันทึก: 54263เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2006 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Empower Visit เป็นอย่างไรครับ??

รบกวนพี่ฉัตรลดา เล่ากระบวนการผ่านบันทึก ด้วยครับ เพราะสนใจ คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านอื่นๆครับ

บันทึกน่าสนใจมากครับ 

แล้ว "ตัวแบบต้นไม้" ล่ะคะ หน้าตาเป็นอย่างไร และใช้ยังไงคะ
วิสุทธิ บุญญะโสภิต

พี่ฉัตรครับ รบกวน Full Paper สัก 1 เล่มนะครับ เพราะกำลังทำเรื่องนี้ในระดับ อบต. อยู่ เพื่อเป็นการต่อยอดงาน ขอบคุณล่วงหน้าครับ

อ่านเรื่องการสังเคราะห์บทเรียนการดำเนินงานโครงการแล้ว น่าสนใจมากค่ะ ก็เหมือนกับหลายๆท่าน ที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรื่องกระบวนการ และน่าจะเป็นตัวอย่างของการจัดการความรู้ที่นำไปใช้ในการทำงานได้ พอดีปีนี้กำลังทำการประเมินผลโครงการกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ก็เลยรบกวนขออ่าน full paper ด้วยนะคะ หากดำเนินการเสร็จแล้วจะนำมาแลกเปลี่ยนด้ววยนะคะ ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์ ....เข้ามาเรียนรู้การสังเคราะห์บทเรียนจากอาจารย์ค่ะ  ไม่แน่ใจว่าต่างจากการถอดบทเรียนอย่างไร ...ขอบคุณค่ะ
  • ส่งการบ้าน AAR ให้อาจารย์ทางเมลแล้วค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท