การ แลก เปลี่ยน เรียน รู้ ในนักศีกษาแพทย์กลุ่มรังสี ( ๔ )


ALR ( After Learning Review )

ลปรร ในนักศึกษากลุ่มรังสีวิทยา (๔)
“ALR” หลังการเรียนจริยธรรม และ รังสีระบบทางเดินหายใจ


            ผมได้นำเทคนิคการจัดการความรู้มา เป็นเครื่องมือในการสอนนักศึกษาแพทย์ กลุ่มที่ขึ้นมาเรียนรังสีวิทยา เป็นกลุ่มที่ ๔ โดย สอดแทรกการสอนจริยธรรมของวิชาชีพ โดยให้เด็กนักศึกษา เขียนประสบการณ์จริงที่เคยได้สัมผัสแพทย์ที่ดี ว่าเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจที่ นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้ ใช้เทคนิคบัตรคำ ที่ผมแนะนำให้ เมื่อนำมาเล่า เพื่อ ลปรร (แลก เปลี่ยน เรียน รู้) ปรากฏว่าเป็น คุณหมอท่านหนึ่งที่เป็นผู้อำนวยการที่โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เด็กๆหลายคนเล่าว่า ท่านเป็น แพทย์ที่จบมาด้วยเกียรตินิยม เหรียญทอง จาก กทม และ มาทำงานที่ต่างจังหวัด มีจิตใจที่ดีงาม มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ ท่านทำงานเชิงรุกโดยเข้าไปร่วมส่งเสริมสุขภาพในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และสนใจในความเป็นอยู่ของคนในชุมชน อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เข้ากับกลุ่มวิชาชีพอื่นๆได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ท่านยังรู้จักความเพียงพอ เป็นนักพัฒนาตัวอย่าง
            ผมได้แนะนำให้ในกลุ่มมี คุณลิขิต และกลุ่มได้สรุป แพทย์ที่ดี จากประสบการณ์ตรง มีดังนี้ครับ

 ๑.   ดูแลรักษาคนไข้แบบองค์รวม ทำงานทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
 ๒.   คำนึงถึงประโยชน์ของคนไข้เป็นหลัก
 ๓.   มีมนุษย์สัมพันธ์ดี สามารถเข้าได้กับผู้ร่วมงาน และ ชุมชน
 ๔.   มีการศึกษาหาความรู้เป็นประจำ
 ๕.   มีจริยธรรมและจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพที่ดี

  จากนั้นผมได้สอนวิธีการเรียน “วิชารังสีวิทยา ของระบบทางเดินหายใจ” โดยวิธีการคิด ด้วยการใช้ Mind map อย่างง่าย และ ให้นักศึกษาแพทย์ แลก เปลี่ยน เรียน รู้ ดู ภาพรังสี โดยใช้ประสบการณ์ที่เคยผ่านมาในหอผู้ป่วยตั้งแต่ชั้นปีที่ ๔  และ นำมาสอน ซักถามกันเอง โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม หลังจากนั้น ผมได้ให้นักศึกษาแพทย์ ทำ ALR ( After Learning Review ) และอธิบายกระบวนการทั้งหมดให้เด็กๆฟัง ว่าสิ่งที่ทำวันนี้เป็นกระบวนการอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดย เพื่อน ช่วย เพื่อน และ เป็นการดึงเอา “ความรู้ฝังลึก” ที่เรียกว่า Tacit Knowledge มาช่วยกันตอบโจทย์ อ่านภาพรังสี( หัวปลา ) ซึ่งเด็กช่วยกัน สองทีมสามารถตอบได้ และ ช่วยกันอย่างดี


            ข้างล่างคือ ALR สามประเด็นครับ
๑.   ได้เรียนรู้อะไร
๒.   ยังขาดอะไร
๓.   อยากจะบอกอะไร
ข้อสรุป มีดังนี้ครับ


๑.    ได้เรียนรู้หลักการ รวบรวมแนวคิด นำมาสังเคราะห์ร่วมกันทั้งเรื่อง แพทย์ที่ดี และ การอ่านฟิล์ม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความคิดเห็นของเพื่อนๆที่มีประสบการณ์ ได้วิธีคิดอย่างเป็นระบบ ได้รู้ว่าการคิดหลายหัว ดีกว่าหัวเดียว
๒.   สิ่งทีขาด สำหรับบางท่านว่าไม่ขาด เป็นวิธีการที่สอนแปลกดี อาจารย์สามารถแทรก “เนื้อหาจริยธรรมเข้ากับบทเรียนได้ดีมาก” “เวลาเรียนน้อยไป”
๓.   อื่นๆที่อยากะบอก เช่น “ได้รับความรู้ที่เป็นหลักการมากกว่าความจำ” “ขอบคุณที่อาจารย์ที่ช่วยสอนให้เป็นหมอที่ดีในอนาคต” “ชอบที่ให้แบ่งเป็นสองกลุ่มช่วยกันดูภาพรังสี แล้วช่วยกันคิด ให้ทุกคนได้ระดมความรู้ที่เคยเรียนมาช่วยกัน” “ไม่ง่วง ได้ฝึกใช้ความคิด ทำให้จำได้มากขึ้น ได้ความรู้ ชอบเรียนแบบนี้” “การสอนลักษณะทำกลุ่มเป็น Active Learning สนุกดีครับ แถมได้หัดคิดด้วย อยากให้สอนอย่างนี้ต่อไปครับ เป็นการสอนแบบ Hit to the point ชอบครับ”
    ข้อคิดเห็นทั้งหมดนักศึกษาเขียนแบบไม่ได้ลงชื่อครับเป็น การให้ออกความคิดเห็นแบบเสรี แต่ก็มีบางท่านที่ยังต้องการการเรียนแบบเดิมๆ ให้สอนทีละเรื่อง รวมทั้งต้องการเอกสารคำสอน หรือ บางท่านก็จดไม่ทัน

ทั้งหมดผมคงจะปรับปรุงและนำมา เล่าสู่กันฟังหลังสอนนักศึกษากลุ่มใหม่ในเดือนพฤศจิกายนครับ
            เรียนเชิญ ลปรร เรื่องการนำ "KM มาเป็นเครื่องมือช่วยสอนนักศึกษาแพทย์"กันบ้างครับ

  JJ
 

หมายเลขบันทึก: 5426เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2005 23:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท