ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งให้บริการแก่ประชาชนที่ครอบคลุมทั้งประเทศและให้บริการที่ตอบสนองต่อประชาชนคนไทยได้อย่างมากแม้จะมีเงินงบประมาณจัดสรรมาให้อย่างจำกัดก็ตาม ในโรงพยาบาลจะมีเจ้าหน้าที่ที่มีสถานภาพการจ้างงานที่แตกต่างกันอยู่คือจ้างโดยรัฐบาลคือข้าราชการและลูกจ้างประจำ(เดิมมีพนักงานของรัฐด้วยตอนนี้เปลี่ยนเป็นข้าราชการแล้ว) จ้างโดยโรงพยาบาลคือลูกจ้างชั่วคราว ในกลุ่มของลูกจ้างชั่วคราวนี้อาจจ้างเป็นรายเดือนรายวันหรือรายคาบก็ได้ มีการกำหนดระดับของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านตาก แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือผู้บริหารระดับสูง(ผอก./รองผอก.) ผู้บริหารระดับกลาง(หน.กลุ่มงาน) ผู้บริหารระดับต้น(หน.งาน) ผู้ปฏิบัติ(ข้าราชการ,ลูกจ้างประจำ,ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน,ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน,ลูกจ้างชั่วคราวรายคาบ,ลูกจ้างชั่วคราวเงินงบประมาณ)
ส่วนที่ผมจะได้พูดถึงจะเป็นกลุ่มของลูกจ้างเงินบำรุงรายเดือนที่มีการจ้างงานตามสัญญาเป็นปีๆไปแต่ส่วนใหญ่จะจ้างคนเดิมอย่างต่อเนื่องดูเหมือนคล้ายเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำแต่ต่างกันก็คือไม่ได้สิทธิแบบราชการ เงินเดือนจะจ่ายจากเงินบำรุงของโรงพยาบาลเอง ต้องทำบัตรประกันสังคมโดยมีการหักเงินโรงพยาบาลและเงินลูกจ้างส่งประกันสังคมทุกเดือนตามที่กฎหมายกำหนด การจ้างและเงินเดือนจะมีระเบียบการจ้างลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยแต่เดิมเงินเดือนของกลุ่มแรงงานจะไม่เกิน 4,100 บาท ต่อมาปรับเป็น 4,300 บาท และมีหนังสือฉบับใหม่มาอีกล่าสุดให้ปรับขึ้นไปอีกเนื่องจากค่าครองชีพและการปรับตามเงินเดือนข้าราชการ และกำหนดให้โรงพยาบาลพิจารณาได้อย่างเหมาะสมตามที่คณะกรรมการบริหารสถานพยาบาลเห็นสมควรและไม่เป็นภาระแก่เงินบำรุงของโรงพยาบาล ทางคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลบ้านตากก็ได้มาพิจารณาว่าควรจะมีการปรับเงินเดือนกันอย่างไร เพราะปกติแล้วลูกจ้างชั่วคราวจะจ้างในอัตราเดิมตลอดทุกปี จนลูกจ้างชั่วคราวหลายคนสงสัยทำไมไม่เหมือนกับข้าราชการ ก็ต้องอธิบายกันอยู่บ่อยๆ เพื่อให้การกำหนดอัตราเงินเดือนลูกจ้างชั่งคราวเหมาะสมกับตำแหน่ง ความสามารถ และสอดคล้องตามระเบียบที่กำหนด
ผมได้นำหลักการประเมินค่างาน(Job
Evaluation) มาใช้
โดยในเบื้องต้นปรับให้ลูกจ้างชั่วคราวมีอัตราเงินเดือนไม่น้อยกว่าเดือนละ
4,740 บาท ตามค่าแรงขั้นต่ำและระเบียบที่กำหนดไว้
และมีการพิจารณาค่าเงินเดือนที่แตกต่างกันตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
- ประเภทของตำแหน่งเป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง
เป็นข้าราชการกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ(เทคนิคการแพทย์,กายภาพบำบัด,เจ้าพนักงานเภสัชกรรม)หรือข้าราชการกลุ่มสนับสนุนทั่วไป(ธุรการ
สถิติ พัสดุ) ถ้าเป็นลูกจ้างก็ดูว่าเป็นกลุ่มแรงงาน(คนงาน คนสวน
ช่างประปา ช่างท่อ คนครัว)หรือกึงฝีมือ(ลูกมือช่าง พนักงานขับรถ
ผู้ช่วยเหลือคนไข้)หรือฝีมือ(พนักงานนวดที่จบการศึกษามาโดยตรง)
- ดูความขาดแคลนหรือความต้องการของตลาด
ราคาแรงงานในตลาดการจ้าง เช่นนักกายภาพหรือนักเทคนิคการแพทย์
จะใกล้กับของมหาวิทยาลัยคือประมาณ1.3-1.5
เท่าของวุฒิปริญญาตรี
- มีระเบียบว่าไว้เฉพาะหรือไม่เช่นลูกจ้างกลุ่มนักเรียนทุนหรือเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ตามเวลาทำงานเช่นหมอนวดแผนไทยที่มีการฝึกอบรมมาจากกระทรวง
- มีวุฒิการศึกษาที่สอดคล้องกับภารกิจหรือเกื้อหนุนตรงต่อภารกิจที่ทำหรือไม่ ถ้าตรงจะมีการปรับค่าจ้างเพิ่มให้ตามวุฒิ เช่นธุรการจบปริญญาตรี หรือครูพี่เลี้ยงเด็กจบครุศาสตร์ เป็นต้น
- ระยะเวลาทำงานเพื่อดูความจงรักภักดีต่อองค์กร ถือที่ระยะเวลามากกว่า 5 ปีขึ้นไป กับน้อยกว่า 5 ปี จึงทำให้ตำแหน่งเดียวกันแต่ค่าจ้างไม่เท่ากันได้ หากทำงานมากกว่า 5 ปีหรือน้อยกว่า 5 ปี
- ในการกำหนดอัตราเงินเดือนเทียบเคียงจากตารางเงินเดือนของข้าราชการฉบับปัจจุบัน โดยถ้าเป็นตำแหน่งลูกจ้างถือว่าเริ่มที่ซี 1 ถ้าตำแหน่งราชการที่อนุปริญญาอยู่ที่ซี 2 (ไม่ใช่ดูที่วุฒิแต่ดูที่ตำแหน่ง) ถ้าเป็นปริญญาตรีดูที่ซี 3 เพื่อให้เป็นไปตามเอกสารการกำหนดเงินเดือนของลูกจ้างฉบับที่มีอยู่แต่ปรับตามเงินเดือนปัจจุบัน เงินเดือนจึงเป็นไปตามขั้นแบบเงินเดือนข้าราชการ
- ดูจากเอกสารคุณสมบัติประจำตำแหน่งของลูกจ้างกลุ่มต่างๆว่ามีระดับเงินเดือนปรับตามวุฒิหรือไม่ซึ่งกระทรวงได้จัดทำไว้
นำหลักเกณฑ์เหล่านี้มากำหนดเป็นเงินเดือนขั้นต่ำที่ลูกจ้างแต่ละคนจะได้รับ
ส่วนในปีต่อไปก็จะต้องมาพิจารณาหลักเกณฑ์กันอีกว่าจะปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างเป็นอย่างไร
เท่าไร
โดยในปีนี้ได้นำคุณสมบัติเฉพาะประจำตำแหน่ง(Job specification) มาเป็นแนวทางหลักในการปรับ
ทำให้ลูกจ้างที่เคยมีเงินเดือนเท่ากันในปีนี้
จะมีเงินเดือนที่แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติที่กำหนด
ความเป็นธรรมก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างทุกคนต้องได้เงินเดือนเท่ากันเพราะแต่ละตำแหน่งมีความแตกต่างกันอยู่
ถ้าให้นักกายภาพบำบัดได้เงินเดือนเท่ากับคนสวน ก็คงไม่เป็นธรรมเช่นกัน
การจำแนกสิ่งเหล่านี้เป็นการจำแนกค่าของงานที่เขารับผิดชอบแต่ไม่ได้จำแนกค่าของคนว่าแตกต่างกัน
เพราะทุกคนในโรงพยาบาลมีคุณค่าต่อโรงพยาบาลเหมือนกัน
ในปีนี้การวิเคราะห์ค่างานโดยใช้คุณลักษณะจึงเป็นการกำหนดค่าจ้างขั้นต้นเท่านั้น
แต่การจะพิจารณาค่าจ้างในปีต่อๆไปนั้นนอกจากใช้คุณลักษณะ(Job
specification)แล้ว
จะต้องพิจารณาถึงงานที่แต่ละคนได้รับการมอบหมายให้ทำ(Job description)ด้วย งานที่มีความรับผิดชอบสูง
ความเสี่ยงสูง หาคนมาทำยากก็ต้องได้เงินมากกว่า
ผลงานที่แต่ละคนทำได้(Performance)
จากการประเมินแบบ 360 องศา
และสมรรถนะ(Competency)ของแต่ละคนมาประกอบด้วย
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Dr. Phichet Banyati ใน PracticalKM
คำสำคัญ (Tags)#kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 5423, เขียน: 15 Oct 2005 @ 23:06 (), แก้ไข: 24 Jun 2012 @ 02:01 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 20, อ่าน: คลิก
เรียน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ลูกจ้างสอบเข้ามาทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ แต่ไม่ได้ทำในตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ แต่ทำในตำแหน่ง การจัดเก็บรายได้ ซึ่งเป็นในหน่วยสำนักงาน
เป็นเวลามา 16 ปี อัตตราการจ้าง เป็นแบบเงินบำรุงที่ไม่ได้จ้างตามวุฒิ แบบบี้สามารถที่จะเปลี่ยนตามอัตราการจ้างตามวุฒิได้หรือไม่ เพราะความรับรับผิดชอบในเรื่องงานมีเยอะ
ถ้าเป็นไปได้ ทำไมไม่ปรับลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานได้ตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป เป็นพนักงานราชการ หรือออกกฏหมายมาให้แน่ชัดไปเลยว่า ลูกจ้างรายใดที่ทำงานตรงกับสายงานใกให้ปรับเปลี่ยนตามวุฒิเลย เป็นการบังคับในโรงยาบาลไปเลย เพราะในโรงพยาบาลทุกที่ย่อมใช้เส้นทั้งนั้น ไม่มีความยุติธรรม เพราะทุกอย่างจะต้องให้กระทรวงบังคับทั้งนั้น ไม่งั้นไม่เคยสนใจลูกจ้าง นอกจากพวกพ้องของตนเอง การปรับลูกจ้างเป็นพนักงานราชการ
เช่น ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ ผู้ที่มีอายุงานตั่งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ปรับเป็นพนักงานราชการทั้งหมด แล้วแต่จะกำหนดให้ มีกี่ตำแหน่ง ไม่ช่นุกถึงแต่ตำแหน่งที่เค้าพึ่งสมัครกันเข้ามาแล้วได้เป็นพนักงานราชการเลย ไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ที่ทำงานก่อน แต่คนข้างหลังที่ทำก่อนกลับไม่ได้ และตำแหน่งพนักงารราชการที่ให้มา ไม่เพียงพอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด เป็นโรงพยาบาลที่ทำงานหนักอยู่แล้ว แต่โรงพยาบาลอำเภอกับได้ตำแหน่งพนักงานราชการเยอะกว่าโรงพยาบาลประจำจังหวัด ไม่ยุติธรรมเลย จึงอยากให้ท่านที่เกี่ยวข้องโปรดพิจารณาใหม่ อย่างสมเหตุสมผล
1. ลูกจ้างที่ทำตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ มีอายุงาน 15 ปีขึ้นไป สามารถปรับเปลี่ยนเป็น พนักงานราชการเลยได้มั้ย
2. ลูกจ้างที่ทำงานไม่ตรงสายงาน สามารถที่จะปรับเปลี่ยนวุฒิในตำแหน่งที่ทำได้หรือไม่ โดยการบังคับให้ฝ่ายบุคคลากรทำเลย เพราะชอบอ้างว่าไม่ได้
3.