การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น


       หลักสูตรท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่สถานศึกษา ครูและผู้เรียนร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นโอกาสให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาในท้องถิ่นนั้นๆ สามารถดำเนินการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรียน สภาพสังคม เศรษฐกิจของท้องถิ่น ลักษณะเด่นของท้องถิ่นตัวเองเพื่อผู้เรียนจะได้เรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและของท้องถิ่นในด้านต่างๆ ตลอดจนสามารถพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนเอง ครอบครัว ชุมชน ได้รู้จักท้องถิ่นของตนเอง เกิดความรักและผูกพันกับท้องถิ่น  โดยการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนอาจพัฒนาได้หลายวิธีด้วยกันคือ

-  การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากปัญหา วิถีชีวิตและความต้องการของผู้เรียน

-  การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากการสำรวจปัญหาชุมชนทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นวิถีชีวิตตามความเป็นจริงของผู้เรียน

-  การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากจากสภาพวิกฤตทางสังคมในปัจจุบัน โดยเป็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องรีบแก้ไขให้หมดอย่างเร่งด่วน เช่น การระบาดของโรคฉี่หนู โรคเอดส์ ยาเสพติด

-  การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากภูมิปัญญาสิ่งที่มีค่าในท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์ไว้หรือเผยแพร่ให้แก่ผู้อื่นได้รู้

-  การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากหลักสูตรแกนกลาง

       ในการจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นนั้น ทางโรงเรียนจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน เป้าหมาย คุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยยึดเกณฑ์จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 เป็นหลัก

       ตัวอย่างหลักสูตรท้องถิ่นจังหวัดน่านที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 1 จัดทำขึ้นนั้นจะเน้นความรู้ในหัวข้อเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ สภาพทางกายภาพจังหวัดน่าน ประวัติศาสตร์เมืองน่าน การปกครองของจังหวัดน่าน สังคมจังหวัดน่าน โบราณสถาน-โบราณวัตถุ ประเพณีและงานเทศกาล เศรษฐกิจชองจังหวัดน่านและอาชีพที่สำคัญ วัฒนธรรมของคนเมืองน่าน ประชากรในจังหวัดน่าน ดนตรี นาฏศิลป์และการละเล่นพื้นบ้าน การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน ศิลปะเมืองน่าน ภาษาและวรรณกรรม ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีท้องถิ่น ทรัพยากรที่สำคัญในจังหวัดน่าน

บรรณานุกรม

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น : ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

           บรรณกิจ 1991 จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต  1. หลักสูตรท้องถิ่นจังหวัดน่าน. สืบค้นเมื่อวันที่

           14 กรกฎาคม 2556. จาก www.ednan1.go.th/ednan1/SANO/2553/002.doc


หมายเลขบันทึก: 542396เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท