Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

แบบสอบถามทัศนคติต่อประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)


แพรภัทร ยอดแก้ว .2555. งานวิจัยเรื่อง " ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความรู้และทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม The Relationship between Transformational Leadership, Knowledge and Attitude toward ASEAN Community of Students of Nakhon Pathom Rajabhat University " ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ SMART 3 (ครั้งที่ 3) วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน

ทัศนคติต่อประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  (ASCC)

คำชี้แจง   โปรดทำเครื่องหมาย /  ลงในช่องว่างที่ตรงกับความคิดเห็นและความรู้สึกของท่าน

เรื่อง

ระดับทัศนคติ

มากที่สุด

(5)

มาก

(4)

ปานกลาง

(3)

น้อย

(2)

น้อยที่สุด

(1)

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

31.  ท่านเห็นด้วยกับเป้าหมายที่ต้องการให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน

32.  ท่านเห็นด้วยกับการสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันของอาเซียนและการสร้างความรู้สึก ร่วมของประชาชนให้ตระหนักถึงหน้าที่ในการเป็นประชากรของอาเซียน

33.  ท่านเห็นด้วยกับความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ระดับภูมิภาคร่วมกัน

34.  ท่านเห็นด้วยกับการอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทรมีสวัสดิการทาง สังคมที่ดีมีความมั่นคงทางสังคมมีความอยู่ดีกินดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บมี สิ่งแวดล้อมที่ดี

35.  ท่านเห็นด้วยกับความร่วมมือกันของประเทศสมาชิกในด้านการพัฒนามนุษย์การคุ้ม ครองและสวัสดิการสังคมสิทธิและความยุติธรรมทางสังคมความยั่งยืนด้านสิ่งแวด ล้อมการสร้างอัตลักษณ์อาเซียนและการลดช่องว่างทางการพัฒนา

36.  ท่านพอใจกับการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในภูมิภาคโดยเฉพาะในระดับประชาชน

37.  ท่านชอบแนวคิดการรวมตัวกันของประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนให้อยู่ร่วมกันภาย ใต้สังคมที่เอื้ออาทรมีสวัสดิการทางสังคมที่ดีมีความมั่นคงทางสังคมอาเซียน

38.  ท่านดีใจกับการการช่วยเหลือเมื่อมีภัยพิบัติ (ศูนย์ AHACenter)

39.  ท่านดีใจที่อาเซียนมีการช่วยเหลือด้านกงสุลแก่ประชาชนอาเซียนในประเทศที่ 3

40.  ท่านภูมิใจในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่างๆของประเทศสมาชิกอาเซียน

41.  ท่านสนับสนุนการการสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปันแก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ

42.  ท่านสนับสนุนการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขเช่นโรคติดต่อที่อาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงานและนักท่องเที่ยวโดยเสรี

43.  ท่านสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารอาเซียน ซึ่งจะเป็นรากฐานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

44.  ท่านสนับสนุนการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง

45.  ท่านสนับสนุนความพยายามในระดับโลก (global efforts) ในเรื่องต่างๆเช่นการรักษาสันติภาพการปราบปรามโจรสลัดการตอบสนองต่อภัยพิบัติ

ส่วนที่ 5  เป็นข้อคำถามวัดระดับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของนักศึกษา เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจากการตรวจสอบเอกสาร  แนวคิดเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และแนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ  โดยยึดองค์ประกอบของทัศนคติแบบ 3 องค์ประกอบมาตั้งเป็นข้อคำถาม  ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วน (Scale) ตามแบบการประเมินค่า (Rating Scale) โดยใช้การประเมินค่าของลิเคอร์ท  (Likert’s  Scale) ที่ให้ผู้ตอบประเมินค่า (1 - 5) ด้วยการเลือกเพียงคำตอบเดียว  ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน  45  ข้อ  ซึ่งครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 3  ด้าน  ดังนี้

1. ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC)  มีจำนวน  15  ข้อ  ได้แก่  ข้อ 1 – 15

2. ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีจำนวน  15  ข้อ  ได้แก่  ข้อ  16 - 30

3. ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  (ASCC)  มีจำนวน  15  ข้อ  ได้แก่  ข้อ  31 - 45

นอกจากนี้  ข้อคำถามจำนวน  45  ข้อนั้น  ยังครอบคลุมแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับทัศนคติในองค์ประกอบทั้ง  3  ด้าน  คือ

1. องค์ประกอบด้าน ความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive Component) มีจำนวน  15  ข้อ

ข้อคำถามเชิงบวก  ข้อที่  1,2,3,4,5,16,17,18,19,20,31,32,33,34 และ 35

2. องค์ประกอบด้านอารมณ์ความรู้สึก (Affective Component)   มีจำนวน  15  ข้อ

ข้อคำถามเชิงบวก  ข้อที่  6,7,8,9,10,21,22,23,24,25,36,37,38,39 และ 40

3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioral Component)   มีจำนวน  15 ข้อ

ข้อคำถามเชิงบวก  ข้อที่  11,12,13,14,15,26,27,28,29,30,41,42,43,44  และ 45

แบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อประชาคมอาเซียน มี 3 ด้าน จำนวน 45 ข้อ ด้านละ 15 ข้อ

แบบสอบถามทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ  .9590

เมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบรายด้านได้ค่าความเชื่อมั่น ดังนี้


3.  ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  (ASCC)  เท่ากับ  .9034


นิสิต นักศึกษา นักวิจัย หน่วยงาน และองค์การใด สนใจที่จะนำแบบสอบถามฉบับนี้ไปใช้

ขอความกรุณาทำหนังสือ ขอใช้แบบสอบถาม ส่งมาได้ที่


อ.แพรภัทร  ยอดแก้ว

85 ถ.มาลัยแมน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

อ.เมือง จ.นครปฐม 73000


ดังตัวอย่างหนังสือขอใช้แบบสอบถาม  จาก กองวิทยาการ  กรมแพทย์ทหารอากาศ ค่ะ

แล้วจะส่งไฟล์แบบสอบถามทั้งฉบับไปให้ค่ะ

เอกสารอ้างอิง

แพรภัทร  ยอดแก้ว. 2555. งานวิจัยเรื่อง  "ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความรู้และทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

แพรภัทร  ยอดแก้วและ ญาณภัทร ยอดแก้ว. 2555. งานวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้กับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคม "

แพรภัทร  ยอดแก้วและ ญาณภัทร ยอดแก้ว. 2555. งานวิจัยเรื่อง "การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าเจริญราชเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน"

แพรภัทร  ยอดแก้วและ ญาณภัทร ยอดแก้ว. 2555. งานวิจัยเรื่อง การเปิดรับข่าวสาร ความรู้กับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร

แบบสอบถามทัศนคติด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/505373

แบบสอบถามทัศนคติด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/505376

แบบสอบถามทัศนคติด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน


หมายเลขบันทึก: 542152เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 05:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 05:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท