มาตรฐานช่วงชั้นและชั้นปีของหลักสูตร


สำหรับเรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นและชั้นปีของหลักสูตร ผมค้นหาจาก 2 เว็บไซต์ และ หนังสืออีก 1 เล่ม เนื้อหาตามข้างล่างเลยครับ

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นและชั้นปีของหลักสูตร

ซึ่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้นักเรียน เรียนรู้ทั้งหมด 8 กลุ่มสาระ ดังนี้ ภาษาไทย สังคมศึกษา ฯ การงานอาชีพฯ คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ ศิลปะ และสุขศึกษา พละศึกษา และแต่ละกลุ่มสาระก็ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน และในแต่ละรายวิชาจะมีมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อเป็นตัวกำหนดให้นักเรียนบรรลุการจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามที่คาดหวัง

 และตัวชี้วัดเป็นสิ่งที่ระบุว่าผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น และเป็นเกณฑ์ในการวัดผลและประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งตัวชี้วัดจะแบ่งเป็น

1.  ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ(ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3)

2.  ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

การจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1.  ระดับประถมศึกษา(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ การคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้ง  ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

2.  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด และความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำรงชีวิต  มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐาน  ในการประกอบอาชีพ หรือการศึกษาต่อ

3.  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน ทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ มีทักษะ มีทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ

สรุปจากการศึกษา เรื่อง มาตรฐานช่วงชั้นและชั้นปีของหลักสูตร ซึ่งทำให้ผมเข้าใจในตัวของมาตรฐานการเรียนรู้มากขึ้น เข้าใจตัวย่อที่ใช้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้อย่างชัดแจ้ง และในรายวิชาวิทยาศาสตร์ที่ผมสอนอยู่ในเทอมนี้ก็มีตัวชี้วัดทั้งหมด 33 ข้อ ซึ่งนักเรียนต้องผ่านหรือบรรลุตามตัวชี้วัด และในเทอมนี้มีมาตรฐานการเรียนรู้อยู่ 2 มาตรฐาน เช่น

“มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต”  ผมยกมาให้ดูประกอบคำอธิบายของผมครับ ซึ่งถ้านักเรียนเรียนจบในแต่ละช่วงชั้นก็จะได้เข้าใจ และเห็นความสำคัญของปรากฏการณ์ของโลก สิ่งแวดล้อม และมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ และสำหรับท่านใดที่สนใจสามารถไปศึกษาต่อได้ตามเว็บไซต์และหนังสือที่อ้างอิงนะครับ

บรรณานุกรม

สมนึก ธาตุทอง.(2548).เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา.กรุงเทพมหานคร : เพชรเกษมการพิมพ์.

หลักสูตรแกนกลาง 2551.(2556).เข้าถึงได้จาก :

  http://www.igetweb.com/www/jeera/private_folder/intro_mid_2551.pdf

หลักสูตรแกนกลาง 2551.(2556).เข้าถึงได้จาก :

  http://www.curriculum51.net/upload/cur-51.pdf


หมายเลขบันทึก: 542040เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2013 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2013 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • คนที่เป็นครูแล้ว จะเข้าใจเรืื่่องนี้ได้เร็วกว่า
  • อย่าลืมศึกษามาตรฐานฯของสาระอื่นๆ ประกอบด้วย เพื่อมองเห็นภาพรวมของหลักสูตร และสามารถบูรณาการข้ามสาระได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท