จิ๊บ พัชรี
นักศึกษากิจกรรมบำบัด พัชรี รุ่งฉัตร

Evidence based practice in OT


Evidence based practice in OT

        เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสนำเสนอกรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีความต้องการอยากจะกลับไปประกอบอาชีพเดิม คือกลับไปค้าขายร้านของชำของตนเอง ดิฉันได้นำเสนอการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดที่ให้กับผู้รับบริการรายนี้ รวมทั้งเหตุผลทางคลินิกที่เกี่ยวของ โดยได้มีการนำงานวิจัยที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนเทคนิคการให้บริการต่างๆด้วย

        ก่อนอื่นดิฉันจะขอเริ่มต้นด้วยการเล่าข้อมูลเกี่ยวกับกรณีศึกษาอย่างคร่าวๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถมองเห็นภาพโดยรวมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ผู้รับบริการชื่อ นาย W (นามสมมติ) อายุ 47 ปี เริ่มมีอาการเดือนมีนาคม 2556 คือรู้สึกปวดหัวและรู้สึกอ่อนแรงร่างกายซีกขวาจนล้มลงไป แต่หัวไม่กระแทกพื้น ญาตินำส่งโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หลังจากนั้นมีอาการอ่อนแรงร่างกายซีกขวา มีอาการเกร็งที่แขนขวา ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนและมือขวาได้อย่างคล่องแคล่วและราบเรียบ มีปัญหาเรื่องการทรงตัวทั้งในท่านั่งและยืน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นความบกพร่องในเรื่องการเคลื่อนไหว โดยปัญหาเหล่านี้เองส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลับไปทำงาน ซึ่งเป็นความต้องการสูงสุดของผู้รับบริการ

      จากข้อมูลข้างต้นนี้ดิฉันได้นำเสนอเทคนิคการรักษา เพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของแขนและมือขวา และมีการนำงานวิจัยที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุน รายละเอียดดังนี้

งานวิจัยแบบ Meta-Analysis or Systematic Review

>>Strength Training Improves Upper-Limb Function in Individuals with Stroke (Jocelyn E. & Janice J., 2013)

     งานวิจัยนี้จะกล่าวไว้ว่า “การฝึกเพิ่มกำลัง (Strength Training) สามารถเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและการใช้งานของร่างกายท่อนบน โดยไม่เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อและการบาดเจ็บ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง”

เนื่องจากงานวิจัยนี้เป็นแบบ Meta-analysis of randomized controlled trials ดิฉันจึงดึงงานวิจัยที่เป็น RCT ออกมาวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพของงานวิจัย RCT โดยใช้ PEDro scale ยกตัวอย่างดังนี้

1) A community-based upper-extremity group exercise program improves motor function and performance of functional activitys in chronic stroke: a  randomized controlled trial. (Pang MY., Harris JE., Eng JJ., 2006)
ตัวอย่างการใช้ PEDro scale (คุณภาพน้อย-มาก : 1-10)

1. Subjects were randomly allocated to groups : yes

2. Allocation was concealed. : yes

3. The groups were similar at baseline regarding the most important prognostic indicators. : yes

4. There was blinding of all subjects. : no

5. There was blinding of all therapists who administered the therapy. : no

6. There was blinding of all assessors who measured at least one key outcome. : no

7. Measures of at least one key outcome were obtained from more than 85% of the subjects initially allocated to groups. : yes

8. All subjects for whom outcome measures were available received the treatment or control condition as allocated or, where this was not the case, data for at least one key outcome was analysed by ‘intention to treat’. : yes

9. The results of between-group statistical comparisons are reported for at least one key outcome. : yes

10. The study provides both point measures and measures of variability for at least one key outcome. : yes

11. Eligibility criteria were specified (not included in score) : yes

Total score (PEDro) : 7/10

การกำหนดน้ำหนักได้ ++ควรทำ เพราะมีความเหมาะสมกับสถานการณ์และสถานภาพของการประกอบวิชาชีพในประเทศไทย มีความคุ้มค่า สามารถทำได้เลย สามารถปรับใช้อุปกรณ์ในบ้านมาฝึกได้หรืออาจไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือก็ทำได้ อีกทั้งงานวิจัยก็มีคุณภาพสูง (PEDro 7/10)


2) A randomized controlled comparison of upper-extremity rehabilitation strategies in acute stroke: a pilot study of immediate and long-term outcomes (Carolee J. , Dorian K., Sylvia M., Lebbeca L., Helena C., & Stanley P., 2004)

Total score (PEDro) : 7/10

การกำหนดน้ำหนักได้ + น่าทำ เพราะเน้นการฝึกผ่านกิจกรรมและฝึกเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ ซึ่งความเหมาะสมกับสถานการณ์และสถานภาพของการประกอบวิชาชีพในประเทศไทย สามารถทำได้ง่าย ใช้กันอย่างแพร่หลายและเห็นผล แต่ยังมีข้อจำกัดเนื่องจากเป็น pilot study และปีที่ทำวิจัยนี้ก็นานแล้ว (ตั้งแต่ 2004)

      จะเห็นได้ว่าแต่ละงานวิจัยจะมีทั้งของดีและข้อเสีย โดยก่อนที่ใช้เทคนิคจากงานวิจัยเหล่านั้น ผู้บำบัดเอง ควรจะมีการพิจารณา วิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพของงานวิจัยก่อน หากงานวิจัยที่เป็น RCT อาจใช้ PEDro scale วัดคุณภาพดังที่ได้ยกตัวอย่างไป และควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ให้บริการผู้รับบริการ ในบริบทสังคมไทย เพื่อให้การให้บริการทางกิจกรรมบำบัดมีประสิทธิภาพสูงสุด.


หมายเลขบันทึก: 541546เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 00:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ช่วยสรุปจากงานวิจัยทั้ง 2 เรื่อง นักกิจกรรมบำบัดจะทำอะไรให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้

ที่ประชาชนอ่านแล้ว เข้าใจได้

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท