ปล่อยลูกดูทีวี เสี่ยงเป็นโรคออทิสติกจริงหรือ? และกิจกรรมบำบัดช่วยได้อย่างไร


" การดูทีวีเพิ่มความเสี่ยงให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้นมากกว่าเด็กที่ไม่ดูถึงร้อยละ 10 เพราะสมองของเด็กที่เพิ่งเกิดช่วงอายุ 1 - 3 ปีแรกนั้นจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การดูทีวีหรือฟังรายการวิทยุที่มีการสลับรายการออกอากาศบ่อยๆ จะทำให้สมองของเด็กถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา และเป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ไม่มีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้ ส่งผลให้เด็กไม่เกิดการพัฒนาทั้งทักษะ ภาษา ผลที่ตามมาก็คือเมื่อถึงวัยเรียนเด็กที่ดูทีวีจะหัวช้ากว่าเด็กคนอื่น "

ขอขอบคุณบทความดีๆจากนิตยสาร M&C แม่และเด็ก ที่ได้ไปเจอมาจากอินเตอร์เน็ท เพราะเคยเจอกรณีศึกษาที่เป็นออทิสติก ที่มีพัฒนาการถดถอยตอนอายุ 1 ปี 2 เดือน จากการสอบถามผู้ปกครองพบว่าคุณแม่ส่งเด็กให้ตา ยายเลี้ยงดูตอนอายุ 1 ปีเนื่องจากแม่ต้องไปทำงานไม่มีเวลาเลี้ยงดู ตา ยายมักจะปล่อยให้เด็กได้ดูโทรทัศน์ตามลำพัง เกือบทั้งวันเพราะคิดว่าหลานชอบ จนเด็กเริ่มมีพฤติกรรมแยกตัว ไม่พูด ไม่มองหน้า สบตาและได้รับการวินิจฉัยเป็นออทิสติกในที่สุด

จึงเกิดความสงสัยว่าการดูโทรทัศน์นั้นทำให้เด็กเป็นออทิสติกได้อย่างไรจนได้มาเจอกับบทความนี้ ...


เหตุ : " สมองของเด็กที่เพิ่งเกิดช่วงอายุ 1 - 3 ปีแรกนั้นจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การดูทีวีหรือฟังรายการวิทยุที่มีการสลับรายการออกอากาศบ่อยๆ จะทำให้สมองของเด็กถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา และเป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ไม่มีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้ " 

ผล : " เด็กไม่เกิดการพัฒนาทั้งทักษะ ภาษา เมื่อถึงวัยเรียนเด็กที่ดูทีวีจะหัวช้ากว่าเด็กคนอื่น ส่งผลให้เป็นโรคออทิสติก "


 

กิจกรรมบำบัด :

การป้องกัน

  • ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงดู ลดเวลาที่จะให้เด็กดูโทรทัศน์ทั้งวัน ให้ตา ยายได้มีการพูดคุยกับหลาน จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาให้ดีขึ้น
  • ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ภาษา สังคมให้เหมาะสมตามช่วงวัย

การรักษา

  • จัดกิจกรรมให้เด็กในรูปแบบของกิจกรรมการเล่น  ภายใต้กรอบการรักษาที่เรียกว่า  Sensory  Integration  (S.I.)  เพราะเนื่องจากเด็กออทิสติกมักมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น พฤติกรรมซ้ำ ชอบสะบัดมือ กระโดดหมุนตัว ส่งเสียงดัง เลือกรับประทานอาหาร เนื่องจากมีการบูรณาการประสาทความรู้สึกในแต่ละด้านที่ผิดปกติในสมอง นักกิจกรรมบำบัดจึงจัดกิจกรรมให้การรับความรู้สึกแต่ละด้านมีความสมดุลกัน ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน
  • ตัวอย่างการกระตุ้นระบบประสาททรงตัวและการเคลื่อนไหว ( Vestibular )  เช่น  กิจกรรมการกระโดดแทมโพลีน  การโยกบอล  การนั่งชิงช้า  การกลิ้งตัว  เป็นต้น 
  • ตัวอย่างการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัส (Tactile) เช่น  กิจกรรมอ่างบอล  การสัมผัสพื้นผิวต่างๆ การกลิ้งตัวบนพรม เป็นต้น
  • ตัวอย่างการกระตุ้นระบบประสาทกล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive)  เช่น  การให้ทำกิจกรรม
    การยกของหนัก  การลาก  ดึง  ผลักของที่มีน้ำหนักมาก   การโหน  การปีนป่าย  การกระโดด เป็นต้น
ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการดูแลบำบัดเด็กกลุ่มนี้ไม่ใช่เป็นบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดเพียงอย่างเดียว เพราะผู้ปกครองเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด รู้ปัญหาและการจัดการเกี่ยวกับเด็ก เด็กต้องได้รับการดูแลตลอดเวลาเพื่อให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

อ้างอิง : ปล่อยลูกดูทีวี เสี่ยงเป็นโรคออทิสติก ? :เข้าถึงโดย http://motherandchild.in.th/content/view/210/

หมายเลขบันทึก: 541543เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2013 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

..... การดูTV เป็นการสื่อสารทางเดียว .... ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ ไต่ถามนะคะ ...... ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท