การประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางเวชปฏิบัติ และการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า


          การประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางเวชปฏิบัติ และการเฝ้าระวัง ป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า

                                               นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

                 


สรุป การปฏิบัติในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังการสัมผัส

1. การสัมผัสที่ไม่ติดเชื้อ คือ การถูกต้องตัวสัตว์ สัมผัสน้ำลายหรือเลือดสัตว์ โดยผิวหนังของผู้สัมผัส ไม่มีแผลหรือรอยถลอก กรณีนี้ไม่ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

2. การสัมผัสที่มีโอกาสติดเชื้อ คือ การที่น้ำลายหรือสารคัดหลั่งของสัตว์สัมผัสกับรอยถลอกของผิวหนัง หรือรอยข่วน แผล เยื่อเมือก หรือถูกกัดโดยฟันสัตว์ทะลุผิวหนัง พิจารณาปฏิบัติดังต่อไปนี้

2.1 กรณีที่ต้องฉีดวัคซีนจนครบ จากการสัมผัสที่มีโอกาสติดเชื้อในลักษณะต่างๆดังนี้

-  สุนัขหรือแมวที่มีอาการผิดปกติ หรือมีนิสัยเปลี่ยนไป เช่นไม่เคยกัดใคร แต่เปลี่ยนนิสัยเป็นดุร้ายกัดเจ้าของหรือคนอื่น หรือมีอาการเซื่องซึม

-  สัตว์จรจัด สัตว์ป่า หรือหนู ค้างคาว สุนัขหรือแมว ที่กัดแล้วหนีหายไป หรือผู้ถูกกัดจำสัตว์ที่กัดไม่ได้

-  สัตว์ซึ่งมีผลการตรวจสมองโดย  Direct Fluoescent Rabies Antibody test (DFA) ให้ผลบวก

- สัตว์ซึ่งมีผลการตรวจสมองโดย  Direct Fluoescent Rabies Antibody test (DEA) ให้ผลลบ แต่มีความผิดปกติ หรือสัตว์ตายและถูกกัดแผลฉกรรจ์

2.2 กรณีที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว และสามารถกักขังสุนัขและแมวไว้สังเกตอาการครบ 10 วัน หากสุนัขและแมวมีอาการเป็นปกติ ให้หยุดฉีดยาได้

2.3 กรณีที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ต้องกักขังสุนัขและแมวไว้สังเกตอาการ 10 วัน และต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

-  การถูกกัดโดยมีเหตุผลโน้มนำ โดยสัตว์ที่กัดมีอาการปกติ

-  สุนัขและแมวได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี ฉีดมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งหลังสุดไม่เกิน 1 ปี

-  สุนัขและแมวได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี อยู่มนรั้วรอบขอบชิต ทำให้มีโอกาสสัมผัสสัตว์อื่นที่อาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้าน้อย

ถ้าสุนัขและแมวเกิดอาการผิดปกติ หรือหนีหายไปไม่สามารถติดตามดูอาการได้ ให้เริ่มฉีดวัคซีนทันที่หากสัตว์ตายระหว่างกักขัง ควรส่งหัวตรวจทางห้องปฏิบัติการ

2.3 กรณีดังต่อไปนี้ที่ไม่ฉีด rabies immunoglobulin (RIG) คือ

- ผู้สัมผัสที่เคยได้รับวัคซีน HDCV, PCECV, PVRV, CPRV, PDEV rabies vaccine มากก่อนครบชุดอย่างน้อย 3 เข็ม

- ผู้สัมผัสที่ได้รับวัคซีนฉีดป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกมาเกิน 7 วันแล้ว เพราะ RIG จะกดการสร้างภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน


หมายเลขบันทึก: 540153เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2013 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2013 08:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เปลี่ยนภาพประจำตัว ยังไม่คุ้นตา  ต้องอ่านชื่ออีกรอบ  ขอบคุณบันทึกดี ๆ จ้ะคุณหมอแดง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท