อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

เตือนให้เฝ้าระวัง โรคไหม้ข้าว


เกษตรกรที่ปลูกข้าวโดยเฉพาะนาดำอยู่ในระยะกล้า-ระยะแตกกอ
ควรระวังโรคไหม้ข้าวระบาด ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ข้าวที่อ่อนแอต่อโรค รวมทั้งใช้  เมล็ดพันธุ์และปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุในโตรเจนสูงเกินคำแนะนำจึงเป็นสาเหตุทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย
ดังนั้นควรหมั่นสำรวจ  นาข้าวอย่างสม่ำเสมอถ้าพบต้นข้าวได้รับเชื้อราเข้าทำลาย  จะแสดงอาการ
ดังนี้


ระยะกล้า

ที่ใบเป็นจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตาหรือรูปกระสวยทอผ้า หัวท้ายแหลม ตรงกลางแผลมีจุดสีเทา
เมื่อแผลขยายลุกลามติดต่อกันอยู่ทั่วใบ ในกรณีที่โรคระบาดรุนแรง กล้าข้าวจะแห้งฟุบตายทั้งกอ
อาการคล้ายถูกไฟไหม้

ระยะแตกกอ
อาการของโรคพบได้ที่กาบใบ ข้อต่อใบและข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า  แผลจะขยายลุกลามติดต่อกัน ที่บริเวณข้อต่อใบจะมีลักษณะแผลสีน้ำตาลดำและใบมักจะหลุดจากกาบใบ

สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ ขอแนะนำวิธีการป้องกันและกำจัด ดังนี้๑. สำรวจแปลงนา อย่างสม่ำเสมอถ้าพบอาการของโรคไหม้ข้าวควรให้ปฏิบัติดังนี้

๑.๑ ใช้เชื้อบีเอส (บาซิลลัส ซับทีลิส) พ่นอัตราตามคำแนะนำในฉลาก
๑.๒ ใช้เชื้อไตรโครเดอร์มาอัตรา ๒๕๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร พ่น
๒. ถ้ามีความจำเป็นให้ใช้สารเคมีพ่นเฉพาะจุดที่พบการระบาดเพื่อควบคุม

ไม่ให้เชื้อราแพร่กระจายขยายเป็นวงกว้างออกไป สำหรับสารเคมีที่ใช้ ได้แก่

- อิดิเฟนฟอส ๕๐ เปอร์เซ็นต์ อีซี อัตรา ๒๐-๒๕ ซีซี ผสมน้ำ ๒๐ ลิตร
- บลาสติซิดิน-เอส ๒ เปอร์เซ็นต์ อีซี อัตรา ๒๐-๒๕ ซีซี ผสมน้ำ ๒๐
ลิตร
- ไตรไซคราโซล ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา ๑๐-๑๖ กรัม ผสมน้ำ ๒๐
ลิตร
ควรพ่นในแปลงข้าวที่มีประวัติว่าเคยมีโรคระบาดมาก่อน การใช้สารเคมีพ่นซ้ำกันหลายครั้ง
เชื้อราจะต้านทาน

สารเคมีหรือดื้อยา ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราต้านทานสารเคมี
จึงควรเลือกใช้สารเคมีบางชนิดพ่นสลับกัน ทั้งนี้ในการใช้สารเคมีควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
และคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้และสภาพแวดล้อม



                                                                                                                           ภาพ/เรื่อง  : เกษตรแอมมี่

หมายเลขบันทึก: 539921เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...... โรคในข้าว สำคัญมากเลย นะคะ ..... ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท