อีกเหตุผล__ที่ทำให้คนอินเดียเก่ง



 
.
สำนักข่าว CNN นำเสนอเรื่อง 'Girl raised in brothel wins scholarship'
= "(ผู้หญิงเติบโตใน) จากซ่องสู่มหา(วิทยา)ลัย", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ตัวเอกเรื่องนี้เป็นลูกสาวโสเภณีในซ่องที่มุมไบ อินเดีย
.
.
ภาพที่ 1: แผนที่เอเชียใต้ = อัฟกานิสถาน _ ปากีสถาน _ อินเดีย _ บังคลาเทศ _ เนปาล _ ภูฏาน _ ศรีลังกา _ มัลดีฟส์
.
แผนที่นี้รวมพม่าด้วย เข้าใจว่า คนทำแผนที่คงจะคุ้นเคยกับเอเชียใต้ยุคอาณานิคมอังกฤษ ซึ่งพม่าถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย
.
เรื่องที่ลืมไม่ได้ คือ จากอาเซียนทางบกไปเอเชียใต้จะต้องผ่านพม่า ทำให้พม่าเป็นจุดเชื่อมเอเชียใต้กับอาเซียนที่สำคัญที่สุดทางบก
.
ทางเลือกที่จะทำให้ไทยก้าวไปข้างหน้า คือ ต้องเป็นมิตรกับเพื่อนบ้านรอบทิศ จึงจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีอาเซียน (AEC) เต็มที่
.
.
ภาพที่ 2: แผนที่อินเดีย แสดงที่ตั้งมุมไบ (Mumbai - ชื่อเก่า คือ บอมเบย์ - Bombay)
.
เนปาลอยู่ทางเหนือ ค่อนไปทางตะวันออก, เมืองหลวงของเนปาล คือ กัฎมัณฑุอยู่ทางตะวันออก
.
.
ธนาคารโลกรายงานว่า มุมไบเป็น 1 ในมหานครแห่งโสเภณี... ส่วนหนึ่งมาจากเนปาล ทำงานได้พักหนึ่งก็กลับบ้าน (เนปาล), และบ้านเก่า (ตายจากเอดส์) ตามลำดับ [ wordbank ]
.
รัฐบาลเผด็จการทำให้เนปาลเป็นประเทศที่เกือบล้มละลาย และมีสงครามกลางเมืองหลายสิบปี
.
.
เนปาลมีโสเภณีผู้หญิงอย่างน้อย 24,679-28,359 คน ในจำนวนนี้มีเชื้อ HIV หรือเอดส์ 1.69%
.
แหล่งที่มีเชื้อเอดส์มากที่สุดอยู่ในกัฎมัณฑุ (4.2%), กลุ่มลูกค้าก็ไม่น้อยหน้ากันเท่าไร คือ มีเอดส์ 4.4%
.
ผู้เชี่ยวชาญพบว่า โสเภณีประมาณ 50% เป็นศิษย์เก่ามุมไบ หรือไปทำงานเมืองนอก (ของเนปาล) มาก่อน
.
ตอนนี้มีโสเภณีเนปาลทำงานที่นั่น (มุมไบ) ประมาณ 100,000 คน, ในจำนวนนี้ประมาณ 50% มีเชื้อเอดส์
.
.
เรื่องจาก CNN คือ นักศึกษาสาวที่เติบโตจากซ่องในมุมไบท่านหนึ่ง ได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนาคนชายขอบ (marginal ones = คนชายขอบ ด้อยโอกาส) ให้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
.
คุณแม่ของเธอกล่าวว่า ไม่ว่าชีวิตจะยากลำบากอย่างไร... เธอก็สนับสนุนให้ลูกสาวเรียนตั้งแต่เด็ก เพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น
.
CNN รายงานเร็วๆ นี้ว่า ปี 2555 เป็นปีที่สหรัฐฯ รับผู้อพยพเข้าประเทศจากเอเชียเพิ่มขึ้นมาก ปัจจัยสำคัญ คือ คนเอเชีย โดยเฉพาะคนจากจีน-อินเดีย มีระดับการศึกษาสูงกว่าผู้อพยพชาติอื่นๆ แถมยังปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ได้ดีกว่าด้วย
.
ต้นทุนในเรื่องการส่งเสริมการศึกษา ขยัน อดทน ประหยัด กตัญญู เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมสำคัญของเอเชีย
.
.
ศัพท์ภาษาอังกฤษจากเรื่องนี้ คือ
  • [ brothel ] > [ บร๊อท _ เติ่ว; ตัวสะกด 'L' ออกเสียงคล้ายสะกดด้วยตัว "ว" ] > http://www.thefreedictionary.com/brothel > noun = house of prostitution = ซ่อง สำนักค้ากาม
  • [ scholarship ] > [ สะ _ ก๊อว _ เหลอะ _ ฉิพ _ p/ผึ (เสียงพ่นลม สั้น เบา) ] > http://www.thefreedictionary.com/scholarship > noun = ทุนการศึกษา
คำ 'scholarship' มาจากภาษาละติน = school = โรงเรียน
.
ไทยมีศักยภาพสูงในการส่งเสริมการศึกษา เช่น ถ้ารัฐบาลทำเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เชิญอาจารย์ที่สอนเก่งที่สุด หรือสอนแล้วนักเรียน "รู้เรื่อง" มากที่สุด 2-3 แห่ง มาถ่ายทำในรูปวิดีโอ
.
สอนทุกเรื่อง ติวทุกเรื่อง ตั้งแต่อนุบาล_ประถม_มัธยม_อาชีวะ_วิชาช่าง_ภาษาไทย_ภาษาต่างประเทศ
.
สอนทุกเรื่อง ติวทุกเรื่อง รวมการทำอาหารไทย_ขนมไทย_วัฒนธรรมไทยด้วย
.
ให้ดาวน์โหลดหรือชมทางเว็บไซต์ ทางยูทูบ ดาวน์โหลดได้ที่โรงเรียน-ห้องสมุดทุกจังหวัด
.
.
และส่งเสริมให้บ้านนอกมีอินเตอร์เน็ตใช้ (ไม่จำเป็นต้องฟรี แต่ขอให้ทั่วถึง)
.
คนไทยจะเก่งขึ้นเร็ว และแข่งขันกับนานาชาติได้
.
มีคำกล่าวว่า ความแตกต่างระหว่าง "คนที่มีการศึกษา (scholar)" กับคน "เรียนจบ (ปริญญา ฯลฯ)" ทั่วไป คือ "คนที่เรียนจบ" = "จบแล้วจบเลย" = "เรียนเรื่องใหม่ไม่เป็น (ต้องรอให้ครู-อาจารย์สอน หรือแจกชี้ท-แผ่นกระดาษสรุปให้ท่อง)"
  • scholar > เรียนไม่จบ
  • scholar > สนใจ ใฝ่รู้ เรียนเรื่องใหม่ตลอดชีวิต
  • scholar > ทำงานแล้วเก่งขึ้น สะสมความรู้ความเชี่ยวชาญใหม่ได้
  • scholar > พัฒนางานให้ดีขึ้นได้
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
                                                                 
.
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต (แบบครีเอทีฟ คอมมอนส์)
CC: BY-NC-SA

หมายเลขบันทึก: 539649เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 07:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท