ขอเชิญร่วมบันทึกความร่วมมือในการทำงาน หมดเขต 29 มิย. นี้ และลุ้นรับรางวัลค่ะ


โครงการ สรอ. ขอความรู้ ใน GotoKnow ขอเชิญสมาชิกร่วมบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ หรือแนะนำโครงการที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือในการทำงานของคนในชุมชน องค์กร หรือในระดับประเทศที่ท่านเคยพบเจอค่ะ

โดยบันทึกลงในสมุดของท่านเองใน  GotoKnow และใส่คำสำคัญว่า ความร่วมมือ หมดเขตร่วมกิจกรรม 29 มิย.นี้ค่ะ ผู้ร่วมกิจกรรม สรอ. ขอความรู้ในครั้งนี้จะมีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลเงินสดจำนวน 2,500 บาท 2 รางวัลนะคะ


ตัวอย่างเช่น โครงการบูรณาการความร่วมมือรณรงค์ วัฒนธรรม ความปลอดภัย บนท้องถนน ภายใต้โครงการถนนสีขาวของบริษัท Toyota 



ที่มา: http://www.toyota.co.th/lite/index.php


เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานเอกชนและสี่หน่วยงานภาครัฐ (กรมการขนส่งทางบก กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ตลอดจนขยายความร่วมือไปสู่ภาคประชาชนในการร่วมรณรงค์วินัยและนำ้ใจบนท้องถนน โดยจะเป้นแนวทางหนึ่งในการช่วยส่งเสริมการลดอุบัตเหตุ และการเสียชีวิตบนท้องถนนของภาคประชาชน ผ่านการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎจราจรที่ถูกต้อง และความมีน้ำใจบนท้องถนน ตั้งแต่ระดับเด็กและเยาวชน สู่ระดับครอบครัว สถาบันการศึกษา ขยายไปจนถึงเครือข่ายทางสังคม มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันนั่นคือ การเป็นสังคมแห่งความปลอดภัย

ขอบคุณค่ะ



"สรอ. ขอความรู้" เป็นโครงการในความร่วมมือระหว่าง GotoKnow และ สรอ. (EGA) เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการให้ความรู้และข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อการพัฒนาระบบบริการเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ของประเทศค่ะ




หมายเลขบันทึก: 539636เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2013 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2015 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากอีกเรื่องหนึ่งนะคะ เพราะสังคมไทยเราค่อนข้างจะมีปัญหาในด้านความร่วมมือในการทำงานทั้งในระดับหน่วยงาน ระดับชุมชน และระดับชาติ

"ไอดิน-กลิ่นไม้" จะร่วมเขียนบันทึก โดยใช้ข้อมูลระดับชุมชน (หมู่บ้าน) ที่ได้มีโอกาสสัมผัสอย่างใกล้ชิดมากขึ้นหลังเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้จะนำหลักวิชาจากที่เคยเขียนตำราวิชากระบวนการกลุ่ม (Group Process) และวิชากลุ่มสัมพันธ์และการทำงานเป็นทีม (Group Dynamics and Teamwork) มาร่วมวิเคราะห์ด้วยค่ะ แต่คงเป็นสัปดาห์สุดท้ายของเดือน เพราะสัปดาห์นี้กำลังเตรียมบันทึกถอดบทเรียน  Happy 8 ค่ะ  

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมากค่ะ

ความร่วมมือ 

ที่ใกล้ตัวคือเริ่มจากครอบครัว..

ขยายวงออกสู่องค์กร ชุมชน สังคม

ไปจนถึงประเทศ..หลายๆโครงการ จะเกิดขึ้นไม่ได้หาก

ทุกส่วนไม่ร่วมมือกันคะ


น่าจะให้มีการอบรมเพื่อสร้างบุมชนให้น่าอยู่และวัฒนธรรมที่ดีต่อไปนะ


เป็นโครงการที่น่าสนใจดีค่ะ ดิฉันเป็นแม่บ้านที่อยู่บ้านดูแลลูก ๆ ก็จะสอนให้ลูกรู้จักวิธีการแยกขยะ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ ขวดน้ำพลาสติก ขวดแก้ว เป็นต้น ให้ลูกรู้ว่าเดี๋ยวขยะมากมายเหลือเกิน จนขยะจะล้นเมืองอยู่แล้ว และบอกลูก ๆ ว่าขยะบางอย่างก็สามารถมารีไซเคิลได้ใหม่ หรือไม่ก็รียูส ก็ได้ ขยะเปียกก็สามารถมาทำเป็นน้ำ EM ได้ ตอนน้ำท่วมเมื่อปลายปี 54 ครอบครัวของดิฉันก็อยู่ในช่วงน้ำท่วมอย่างมาก แถวบางบัวทอง จ.นนทบุรี ครอบครัวของดิฉันได้เก็บขวดน้ำพลาสติกที่ลอยไป ลอยมา แล้วก็กลับมาใส่น้ำ EM แจกให้กับชุมชน ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่เล็ก ๆ น้อย ๆ เด็ก ๆ ก็ได้ซึมซับว่าความมีน้ำใจเป็นอย่างไร จนทุกวันนี้พอเห็นดิฉันเก็บขวดพลาสติก ก็ถามว่า จะทำน้ำ EM แจกหรือ ดิฉันก็ได้แต่หัวเราะ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมานี้ ต.บางรักพัฒนา ได้ทำบุญขยะรีไซเคิล ดิฉันก็ได้บอกกล่าวกับคนรู้จักว่าจะเก็บขยะมาทำบุญ ทุกคนก็ให้ความร่วมมือ ถือว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมเพียงเล็กน้อยแล้วดีกว่าไม่ทำอะไรเลยใช่ไหมค่ะ

วันนี้  23  มิ.ย. 56 ยังพอมีเวลาเขียน  ยังทันนะจ๊ะ

เวลาจะเขียนไม่แน่ใจว่าต้องเขียนลงที่ไหน

สวัสดีค่ะ ดิฉันได้อ่านหัวข้อโครงการเกี่ยวกับการให้ความร่วมมือกับส่วนรวมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นของชุมชน รัฐ เอกชน รู้สึกมีความสนใจ อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้ผู้อื่นได้อ่านบ้าง ดิฉันทำงานที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรและได้มีการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลหลายภาคของประเทศไทย แต่ละภาคของเกษตรกรมีวิถึชีวิตในการดำเนินชีวิตเพื่อเลี้ยงชีพที่ไม่แตกต่างกันคือการทำเกษตรกรรม แต่ทุกภาคก็จะมีเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือในชุมชนดีบ้าง และไม่ดีบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ส่วนที่ให้ความร่วมมือดีก็จะได้รับการยกย่องเป็นเกษตรกรดีเด่น เป็นปราชญ์เกษตร ฯลฯแล้วแต่ละส่วนของโครงการ ดิฉันขอยกตัวอย่างเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือ อย่างเช่น ปราชญ์ นายเลี่ยม บุตรจันทา ที่ได้ทำการปลูกป่าเพื่อเป็นการปกคลุมดินและเป็นไม้ในอนาคต และท่านยังได้ดำเนินชีวิตที่สละเวลาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้สนใจทั่วไป ส่วนวิถีชีวิตในครัวเรือนและชุมชนท่านจะชักชวนให้ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหารในการดำรงชีวิต เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในเรื่องปลอดสารและมลพิษเสมือนหนึ่งว่าเรารักษาโรคด้วยตัวเอง ถ้าทุกคนประหยัดเรื่องอาหารการกินได้ก็ทำให้เราอยู่ได้อย่างพอเพียง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท