568. องค์กรใช้สมอง "เป็น" (ตอนที่ 3)


ผมชอบเรื่องราวของการใช้สมองมากครับ มีทฤษฎีดีๆมากมาย เคยเขียนมาหลายตอนครับ วันนี้จะต่อเรื่อง “องค์กรใช้สมองเป็น”  แน่นอนองค์กรประกอบด้วยคน คนเราเก่งอยู่แล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เราใช้สมองจริงๆ น้อยมากๆ คือยังใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ นั่นเอง ทำอย่างไรจะเติมเต็ม และขยายศักยภาพ นั่นคือวัตถุประสงค์ของงานเขียนวันนี้ครับ 

                        

ครั้งนี้เป็นตอนที่ 3 ผู้อื่นเรื่องนี้ควรอ่านตอนแรก และตอนสอง ปูพื้นมาก่อน ไม่อย่างนั้นจะงง เอาเป็นว่าสั้นๆ ตามทฤษฎีของ Dudley Lynch นั้นสมองแบ่งเป็นสี่ส่วน คือ I-Control เป็นสมองส่วนที่แทนด้วยคำว่า “วินัย” ครับ ต่อมาเป็นสมองของ I-Presereve หรือสมองของ “นักประสานไมตรี” ต่อมาเป็นสมองของ I-Explore หรือสมองนักสำรวจ ส่วนสุดท้ายคือสมอง I-Pursue หรือสมองนักปฏิบัติ ซึ่งผมได้ศึกษา  แนวคิดหลักคือคนเรามักใช้สมองด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป เลยไม่ค่อยสมดุลย์ พวก I-Control ก็ควบคุมชาวบ้านซะจนคนอื่นอึดอัด พวก I-Explore ก็บรรเจิด แต่ไม่เริ่มลงมือทำ คือคิดฝันมากไป พวก I-Pursue ก็ทำๆๆๆๆ แต่ไม่ค่อยคิดหาวิธีการอะไรใหม่ๆ I-Preserve ก็สุดๆ รักเพื่อนมาก จนบางครั้งเสียศูนย์ อาจารย์ดั๊ดลี่ย์สอนให้มนุษย์ตระหนักถึงเรื่องนี้ แล้วพยายามขยายศักยภาพสมองด้านอื่นๆ ... เท่าที่ผมสัมผัสและทดลองกับตัวเองมาหลายปี มันเปลี่ยนจริงๆ ครับ

ต่อมาผมลองตั้งคำถามกับคนจำนวนมาก โดยใช้คำถามเชิงบวกแบบ Appreciative Inquiry (AI) จนเทียบเป็นคำไทยได้ว่า พระเดช พระคุณ เฉลียว ฉลาด ...  ในองค์กรต้องมีการใช้สมองทั้งหมดนี้ครับ องค์จะไปได้ดีมากๆ 

                                           

ต่อมาผมได้พยายามค้นหาอีก โดยตั้งคำถามกับคนจำนวนไม่ต่ำกว่า 50 คน โดยถามสี่คำถามว่า.. ลองนึกถึงพวกใช้พระเดช แต่คุณอยู่ด้วยแล้วมีความสุข พูดง่ายๆ คือคุณยอมรับในพระเดชของเขา คุณนึกถึงใคร แล้ว.. ถามต่อว่า เขามีวิธีการใช้ชีวิตไม่เหมือนคนอื่นตรงไหน ถามต่อไป.. กับสมองด้านอื่นในลักษะแบบเดียวกัน.. สรุปได้พฤติกรรมหลักดังนี้

                        

วิธีเอาไปใช้ เริ่มจากให้ลองสังเกตดู ว่าคุณมีพฤติกรรมหลักอยู่ในโซนไหน ถ้า I-Control ลองดูวิธีการใช้พระเดชของคุณมันกลมกล่อม สร้างความสุข ให้คนอื่นไหม ถ้าไม่ลองคิดถึงเรื่องการให้โอกาส การให้ข้อคิดดีๆ การใช้ Feedback แบบสร้างสรรค์ (ประมาณว่าประเมิน แล้วสอนด้วย โค้ชด้วย) ที่สำคัญลองทำอะไรบางอย่าง กำหนดกติกาง่ายๆ ให้คนอื่นลองทำตามเป็นนิสัย ครับ (ดูเรื่อง The Power of Habit)  ในขณะเดียวกันอาจเริ่มลองใช้สมองด้านอื่น เช่น I-Preserve ตรงนี้ คือสมองนักประสานไมตรี คือคุณต้องให้ก่อน ให้ความเชื่อมั่นคนอื่น เข้าสังกัดชมรม หรือตั้งชมรมเอง เพราะจะเป็นวิธีการใช้สมองแบบสร้างสรรค์เข้มข้นมากๆ ต่อมาต้องให้ความรู้สึกปลอดภัยกับคนอื่น 

ด้านอื่นๆ ถ้าต้องการใช้สมองด้าน I-Preserve คุณสามารถเริ่มที่จะให้ทางเลือกคนอื่น... ไปเที่ยว เราจะเจออะไรใหม่ๆ เวลาจะทำอะไรสร้างสรรค์ ก่อนทำลองไปสำรวจของจริงก่อน สุดท้ายสร้างสรรค์ บรรยากาศที่ “สนุก”  สมองส่วนสุดท้ายที่เราสามารถพัฒนาให้ดีมากกว่าเดิมได้ก็คือ I-Pursue หรือสมองนักปฏิบัติ คุณสามารถทำได้ตั้งแต่ “ลุย” ครับ ทำอะไรทำจริงๆ ไปเลย กล้าได้กล้าเสีย แต่ก็ต้องรู้จักหยุดคิดปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ ที่สำคัญที่สุดในโซนนี้ก็คือการมี “จิตอาสา”

สรุปว่า ลองประเมินพฤติกรรรมหลักของคุณว่าออกมาในโซนไหน แล้วลองประเมินว่ามันกลมกล่อมไหม ถ้าไม่ ก็สะท้อนว่ามันเอียงๆ อยู่ ลองดูแนวทางที่ผมได้สำรวจมา คุณเองอาจสำรวจเพิ่มเติม แล้วจากนั้นลองพัฒนาตัวเองขึ้นมา แล้วลองขยายไปในโซนอื่นครับ ชีวิตจะกลมกล่อมมากกว่าเดิม

                         

เท่าที่สำรวจมากับคนราวๆ 50 คนได้ผลดังนี้จริงๆ ครับ.. น่าคิดมากๆ คุณสามารถเอาไปลองใช้ และส่งเสริมการใช้สมองง เพื่อสร้างบรรยาการการทำงานที่ได้ผล แต่เป็นมิตรมากขึ้น งานได้ผล คนเป็นสุข ซึ่งจะส่งผลให้ชีวิต องค์กร เติบโต ก้าวไกล ยั่งยืนกว่าเดิมครับ

เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

References:

On the Ball: Leveraging the Future you want with WBL


Picture 1: http://www.thetwincoach.com/2012/10/finding-help-for-difficult-child.html

Picture 2: Pinyo Rattanaphan 

Picture 3: Pinyo Rattanaphan 

Picture 4: http://gizmodo.com/5769490/the-beautiful-difference-between-your-left-brain-and-right-brain


หมายเลขบันทึก: 539476เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับอาจารย์ มาอ่านเมื่อไหร่ก็ได้พลังความคิดมากจริงๆครับ.. 

ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ครับ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและนักเรียนมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท