ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_03 : ออกแบบให้ได้ "ฝึกคิด" เพื่อพัฒนา "ทักษะการคิด"


วันที่ 14-16 มิถุนายน 2556 ทีมขับเคลื่อน PLC มหาสารคาม ร่วมกับ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์  บันทึกนี้เขียนต่อจากบันทึกแรก อ่านได้ที่นี่ครับ และบันทึกที่สองที่นี่ครับ

มุนษย์เรียนรู้และเกิดปัญญาได้จาก 3 วิธี คือ จากการฟัง จากการคิด และลงมือปฏิบัติ  ดังนั้น ทักษะการเรียนรู้ ก็คือทักษะการฟัง ทักษะการคิด และทักษะการลงมือปฏิบัตินั่นเองครับ  ผมเขียนบันทึกเกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้ไว้ที่นี่  และเขียนคำอธิบายของสไลด์ด้านล่างไว้ที่นี่

เราออกแบบให้ครูได้ทดลองเรียนรู้ผ่าน "การเรียนรู้ผ่านรูปแบบ" โดยไม่รู้ตัว โดยใช้กิจกรรม "มองนักเรียน" โดยใช้กระดาษ A4 เพียงคนละแผ่น เรียกว่ากิจกรรม "กระดาษ 4 พับ"

เริ่มจาก การพาครูพับกระดาษที่ละขั้น พับครึ่งด้านขวางยาว แล้วพับครึ่งอีก จะได้กระดาษ 4 คอลัมน์ จากนั้นใหัพับด้านตั้งเป็น 3 ส่วน จะได้กระดาษ 4 คอลัมน์ 3 แถว  12 ช่อง จากนั้นให้ครูเติมข้อความดังนี้

  • คอลัมน์ที่ 2 ให้ครูจินตนาการถึงนักเรียนในโรงเรียนของตน จิตนาการถึงนักเรียนส่วนใหญ่ แล้วเติมคุณลักษณะของนักเรียนที่ยังไม่พอใจครู เรียงตังแต่ไม่พอใจ ไม่พอใจมาก และไม่พอใจมากที่สุด ในแถวที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ
  • คอลัมน์ที่ 3 ให้เติมสิ่งตรงข้ามจากคอลัมน์ที่ 2
  • คอลัมน์ที่ 1 ให้เอาใจเด็กนักเรียนมาใส่ใจเรา และเขียนมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับสิ่งที่เราไม่พอใจนั้น อะไรเป็นสาเหตุ ทำไมนักเรียนเป็นอย่างนั้น
  • คอลัมน์ที่ 4 ให้เขียนเรื่องประทับใจในชีวิตความเป็นครู ก่อนจะนำมาใช้ในการแลกเปลี่ยนกันต่อไป

ผลสรุปคร่าวๆ แสดงดังตารางครับ

อาจเป็นเพราะ ไปกำหนดว่า "คุณลักษณะของนักเรียน ทำให้ครู่ส่วนใหญ่ซึ่งเดาว่าเข้าใจคำว่า คุณลักษณะก็คือ ลักษณะ 8 ประการ คือ รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตใจสาธารณะ  ทำให้สิ่งที่ครูมองเด็กมีปัญหาด้านคุณธรรม  มีเพียง อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และคิดไม่เป็นที่เป็น ทักษะที่จำเป็นสำหรับนักเรียน

ตอนที่ไปทำกิจกรรม "มองครู" ที่ จาก รองผอ.เขต ศน. และผู้อำนวยการโรงเรียน เราก็พบผลดังตารางครับ

สังเกตว่า มีหลายอันที่ครูก็มีปัญหา คล้ายๆ กับนักเรียน เป็นเหตุเหมาะสมที่จะตั้งสมมติฐานว่า การเป็นแบบอย่างที่ดีจะต้องมีความสำคัญพอสมควรเป็นแน่ 

ผมอยากสรุป "เชิงกระบวนการ" สำหรับคุณครูหรือเพื่อนักขับเคลื่อน อยากเอาไปปรับใช้นะครับ

  • คอลัมน์ ที่ 2 สิ่งที่เราไม่ชอบ สิ่งที่เราไม่พอใจ ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน นั่นเป็น "ปัญหา" หน้าที่ของเราต้องนำไปวิเคราะห์ต่อว่า
    • ปัญหานั้นแก้ไขได้หรือไม่ เกิดศักยภาพของเราหรือไม่ หากเกินศักยภาพของเรา อย่าได้ไปใส่ใจครับ เราเรียกมันว่า เป็น "ข้อจำกัด" ไม่ควรใช้สมองไม่ครุ่นคิด ถงเถึยงนานเกิน เพราะส่วนใหญ่จะนำไปสู่ทางตัน
    • หากปัญหานั้นแก้ได้ ให้วงกลมไว้ แล้วนำมาจัดการ "บริหารความเสี่ยง" คือ ดูว่าโอกาสเกิดขึ้นบ่อยหรือไม่ เกิดกับนักเรียนมากน้อยแค่ไหน และดูว่าถ้าเกิดแล้วจะเกิดความเสียหายมากน้อยเพียงใด  พิจารณาทั้งสองอย่างร่วมกัน อาจใช้แผนผังการประเมินวิเคราะห์ความเสี่ยงแบบ COSO  แล้วจัดเรียงลำดับความสำคัญ ของปัญหา
  • คอลัมน์ที่ 3 ที่เขียนสิ่งที่ตรงข้ามกับคอลัมน์ที่ 2 คือ เป้าหมายของการแก้ปัญหาของเรา หรือลักษณะหรือพฤติกรรมปลายทางที่เราอยากให้นักเรียนเป็น หากจัดหมวดหมู่ให้ดี แล้วพิจารณาเชื่อมโยงกับหลักสูตรแกนกลาง จะทราบทันทีว่า สิ่งที่ควรจัดการก่อน ควรดูแลก่อนคือเรื่องอะไร
  • คอลัมน์ที่ 1 ที่ให้มอง คอลัมน์ที่ 2 แบบเชิงบวก ก็คือ การพิจารณาหาสาเหตุของปัญหา  ..... อย่างไรก็ตาม จากการทำกิจกรรมใน 3 วันนี้ ปัญหาที่พบสำคัญคือ "ครูจำนวนไม่น้อย ที่ยังมองเชิงบวกไม่เป็น" (แต่อาจเป็นเพราะการสื่อสารของกระบวนกรไม่ชัดเจนก็ได้ครับ) 
  • คอลัมน์ที่ 4 ปกติเราจะให้ เขียนวิธีการแก้ปัญหา และเมื่อรวมแนวทางตามความคิดของทุกคน แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ และวิเคราะห์ให้ดี  จะสามารถหาแนวทางแก้ไขที่ดีที่เหมาะสมได้

ผมบอกครูทุกท่านว่า กิจกรรม "กระดาษ 4 พับ" หากเปลี่ยนแค่เพียงคำถาม สามารถที่จะใช้ฝึกการคิดของนักเรียนได้ดีมากๆ เพราะตลอดกิจกรรมนักเรียนต้องคิด และหากจัดให้มีการรวมกลุ่มคุยแลกเปลี่ยน แล้วนำเสนอ นักเรียนจะได้ทักษะด้านการคิดหลายๆ ตัวทีเดียวครับ 

ทุกกิจกรรม เราพยายามเปิดโอกาสให้ครูร่วมกัน สะท้อน(Reflection) โดยใช้ "กระดาษ 3 พับ" กับ 3 คำถามว่า

  • เห็นอะไร / รู้สึกอย่างไร
  • เห็นแล้วคิดอะไรต่อ
  • จะนำไปต่อไปหรือไม่ อย่างไร

ก่อนจะจบวันที่ 2 ผมเน้นย้ำกับทุกคนว่า การถามคำถามแบบนี้ เป็นการ "ถอดบทเรียน" อย่างหนึ่ง ที่สามารถออกแบบและทำกันได้หลายรูปแบบ ......  สำคัญคือ เราต้องฝึกออกแบบเอาเอง ....ยังไงก็แล้วแต่ เราจะคิดบนฐานความรู้เดิม...เช่น 3 คำถามนี้ ผมเองเคยได้ยินมาจาก คุณอ้อ (วรรณา) จากมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ เหมือนกับท่านจะบอกผมว่า เป็นเทคนิคของชาวญี่ปุ่น เขามี 4 คำถาม... (แปลกที่ผมพยายามค้นหาในเว็บแต่ไม่เจอ)

(ต่อบันทึกต่อไปนะครับ)

หมายเลขบันทึก: 539474เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 04:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2013 05:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท