ถอดองค์ความรู้กิจกรรมการอบรมการจัดการเรียนรู้ผ่านโครงงานของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม



 นายกองโท ดร. คมคาย อุดรพิมพ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดอบจ.มหาสารคามท่านได้ทราบว่าแต่ละโรงเรียนมีตั้งอยู่ในที่แตกต่างกันจึงทำให้มีทรัพยากรหรือแหล่งเรียนรู้ที่ต่างกัน  นอกจากนี้คุณครูแต่ละโรงเรียนก็มีความถนัดที่แตกต่างกัน เพื่อให้มีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาอย่างถั่วถึง จึงมีนโยบายให้โรงเรียนในสังกัดอบจ.มหาสารคาม ได้มีีศูนย์การเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนอื่น ๆในสังกัดจึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นมา 20 ศูนย์ ได้แก่  ศูนย์การเรียนรู้คณิศาสตร์  โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม  ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โรงเรียนน่าข่าวิทยาคม  ศูนย์การเรียนรู้ศิลปะ  โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม  ศูนย์สังคมศึกษาฯ  โรงเรียนมัธยมดงยาง  ศูนย์การงานอาชีพฯ  โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา  ศูนย์ศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม  ศูนย์การเรียนรู้ภาษาและอาเซียน  โรงเรียนท่าขอนยางวิทยาคม  ศูนย์การพัฒนาเด็กพิเศษ  โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล  ศูนย์การเรียนรู้พฤกษศาสตร์ตามแนวพระราชดำริ  โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม (พื้นบ้าน)  ศูนย์การเรียนรู้หลักสูตรสถานศึกษา/ท้องถิ่น  โรงเรียนมะค่าพิทยาคม  ศูนย์การเรียนรู้การวัดและประเมินผล โรงเรียนหนองบัวปิยนิมิตร  ศูนย์การเรียนรู้การวิจัยในชั้นเรียน  ศูนย์เครือข่ายการจัดการเรียนรู้ผ่านโครงงาน  โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์  ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษ  โรงเรียนดอนเงินพิทยาคาร  ศูนย์การเรียนรู้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  โรงเรียนศรีสุขพิทยาคม ศูนย์การเรียนรู้การใช้ ICT พัฒนาการเรียนรู้  โรงเรีียนเลิงแฝกประชาบำรุง  ศูนย์การเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์  โดยมีความมุ่งหวังให้เป็น PLC  ชั้นนอก เครือข่ายครูระหว่างโรงเรียน โดยมีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL)  ผู้ปกครอง  ชุมชน และองค์กรเอกชนหรือผู้มีจิตอาสาเป็น PLC วงนอกสุดดังรูป


                     


ซึ่งขณะนี้ได้มีการเป็ดศุูนย์การเรียนรู้ไปแล้ว 3 ูศูนย์คือศูนย์หลักสูตรสภานศึกษาและท้องถิ่น ศูนย์ภาษาและอาเซียน และในวันที่  6  มิถุนายน  2556 เป็นวันเปิดศูนย์เครือข่ายการจัดการเีรียนรู้ผ่านโครงงาน ที่โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์   ดยนายสุรภี  ค่ายหนองสรวง ผู้อำนวยกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเป็นประธานเปิดศูนย์ในครั้งนี้และมีผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดอบจ.มหาสารคาม 20 โรง รวมทั้งครูโรงเรียนสสังกัดอบจ.มหาสารคาม  จำนวน  50  คน  เข้าร่วมงานและหลังจากพิธีเปิดศูนย์ ฯ เสร็จ เป็นอบรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโครงงานซึ่งวิทยากรหลักคือ ดร.ฤทิธิไกร ไชยงาม  โดยมีกิจกรรมการบรรยายเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปหลักสูตร/การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยดร.นงเยาว์ เคนสุข และการบรรยายเรื่องการเรียนรู้ผ่านพอจะสรุปได้ดังนี้

แนวทางการปฏิรูปหลักสูตร

  เดิม  เรียนมากรู้น้อย

  ใหม่ ให้สอนให้น้อยแต่เรียนรู้ให้มาก (Teach less learn more)

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้

  - เน้นให้นักเรียนเกิดทักษะแห่งอนาคต (21st Century Skill )

  - ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากครูผู้สอนเป็นครูอำนวย หรือ เปลี่ยนห้องสอนให้เป็นห้องเรียน

ต่อด้วยการบรรยายเรื่อง การจัดการเรียนรู้ผ่านโครงงานที่ดี โดย ดร. ฤทธิไกร ไชยงาม


  การเรียนรู้ผ่านโครงงานที่ดีคือการให้เด็กได้ทำเองและหัวเรื่องจะต้องเกี่ยวข้องกับปัญหาในชีวิต

ปัจจุบันครูผู้สอนโครงงานมักจะหลงติดกับเนื้อหา  คือไม่ได้เน้นทักษะกระบวนการคือทำ นักเรียนนำเสนอ

และครูบางคนก็หลงติดกับกระบวนการจนลืมไปว่าต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้หรือเกิดทักษะใด

หลังจากนั้นเป็นกิจกรรม work shop การเรียนรู้ผ่านโครงงาน PBL วิทยากรคือ ดร. ฤทธิไกร ไชยงาม

  กิจกรรมนี้เริ่มด้วยการให้ครูแนะนำตัวกับเพื่อน  จับกลุ่มตามที่สนิท  ตอบคำถามง่าย ๆ เช่น ท่านชอบสีใด  ท่านชอบรับประทานอาหารชนิดไหน  ซึ่งกิจกรรมนี้สื่อให้เห็นว่าเราสามารถปลูกฝังหรือกระตุ้นแรงบันดาลใจให้นักเรียนได้โดยการทำให้เขามั่นใจในตนเอง นักเรียนที่จะมั่นใจในตนเอง เขาจะต้องรู้สึกว่า ฉันทำได้ ฉันสร้างสรรค์ได้ และฉันมีความสำคัญโดยให้นักเรียนทำอะไรที่ง่ายๆ และเขาทำสำเร็จ  การให้ตอบคำถามหรือทำอะไรที่ยากนั้นจะทำให้นักเรียนถอยห่างจากเราไปเรื่อยๆและหายไปจากห้องเรียนในที่สุด

การสอนแบบบูรณาการด้วย PBL

  เราควรเริ่มการสอน PBL ด้วยการฝึกให้นักเรียนคิดง่าย ๆ ด้วยการเรียนรู้จากแบบฟอร์ม ( PatternBased Learning  หรือ 1st  PBL ในหลักสูตร 3PBL)  เช่น กิจกรรมที่คุณครูแต่ละกลุ่มได้ทำกระดาษ  3  พับ  โดยพับในแนวกว้าง 3 พับ แนวยาว 3 พับ  คอลัมน์ที่ 1 แถวที่ 1 เขียนข้อกำจัดที่มีในโรงเรียน ข้อจำกัดในที่นี้คือปัญหาที่เราไม่สามารถแก้ไขได้ อยู่นอกเหนือความสามารถของเรา  คอลัมน์ที่ 2  แถวที่  2  เขียนปัญหา ปัญหาในที่นี้คือปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน  แถวที่ 3  คอลัมน์ที่  3  อุปสรรค คือ ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการแก้ปัญหา

  นอกจากนี้การนำกิจกรรมที่ทำในโรงเรียนมาให้นักเรียนฝึกคิดฝึกทำ  โดยการทำ BAR BAR และ AAR หรือที่เรียกว่าถอดบทเรียนนั้น โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งได้เรียนรู้ในห้อง กิจกรรมที่ทำ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กิจกรรมวันสุนทรภู่  กิจกรรมวันเข้าพรรษา  กิจกรรมหน้าเสาธง  เป็นต้น  ขั้นนี้ว่า การเรียนรู้ผ่านโครงการ หรือ Project-based Learning  (แปลโปรเจ็คว่า โครงการ) เป็น 2nd PBL ในหลักสูตร 3PBL

  ขั้นสุดท้ายคือการฝึกให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการเรียนรู้ผ่านปัญหาหรือโครงงานหรือ Problem-based Lerning หรือ 3rd PBL ในหลักสูตร 3PBL นักเรียนจะได้ใช้ทักษะการคิดและทักษะการทำงานมาใช้ในการเรียนรู้ของตนเอง หลักสำคัญคือ นักเรียนได้ต้องเป็นผู้ทำทั้งหมดด้วยตนเอง ตั้งแต่ตั้งปัญหา หาปัญหา วิเคราะห์ ออกแบบแก้ปัญหา ลงมือแก้ ปรับปรุง จนถึงนำเสนอด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเหมือนครูฝึก คอยเอื้อให้นักเรียนได้ฝึกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง โดยไม่เน้นเนื้อหาแต่เน้นกระบวนการเรียนรู้เป็นหลัก ซึ่งคุณครูผู้ร่วมอบรมได้ทำเค้าโครงโครงงาน PBL  ง่าย ๆ จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโรงเรียน  โดยแต่ละกลุ่มนำปัญหาที่ต้องการแก้มากำหนดเป้าหมาย หาวิธีการ/กระบวนการแก้ปัญหา และบอกปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น  ซึ่งคุณครูแต่ละกลุ่มก็จะได้เค้าโครงงาน PBL  ถือเป็นการเรียนรู้ PBL ที่แนบเนียนมาก และเป็นโครงงานจากสภาพปัญหาจริงภายในโรงเรียน


 กิจกรรมสุดท้ายของการอบรมคือกิจกรรมวางแผนการดำเนินงานร่วมกันซึ่งเราได้ตกลงกันว่าหลังจากกิจกรรมนี้แล้วเราจะมีกิจกรรมอื่น ๆ  อีกดังนี้  

                        กิจกรรม                                                               กำหนดการ

        1.  ค่ายการเรียนรู้ผ่านโครงงาน PBL                                    จันทร์ฺที่ 8 มิ.ย. 56 - อังคารที่ 9 มิ.ย. 56

        2.  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน socail Network                           10 มิ.ย.56 เป็นต้นไป

        3.  PLC  ครู                                                                       2  ก.ย. 56

        4.  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน socail Network                           3. ก.ย. 56 เป็นต้นไป

        5.  เวทีนักเรียนและPLC ครูเพื่อสรุปผลการดำเนินงานในรอบปี    31 ม.ค. 57

กิจกรรมนี้ถือเป็นกิจกรรมแรกของศูนย์การเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ผ่านโครงงาน  และเป็นจุดเริ่มต้น เรายังมีภาระต้องทำร่วมกันอีกมากเพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านโครงงาน PBL ลงสู่นักเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม  ขอเพียงร่วมแรงร่วมใจและทุ่มเท  ผลดีจะบังเกิดแก่ศิษย์ที่รักของพวกเราและประเทศชาติ 


หมายเลขบันทึก: 539438เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เยี่ยมมากค่ะ  ขอชื่นชมคุณครูผู้มุ่งมั่นทำเพื่อศิษย์   เป็นกำลังใจให้นะคะ

ชื่นชมครับ ปรับมาเป็นกระบวนการเรียนหรือแม้กระทั่งการทำงานได้เลยครับ.. 

เป็นกำลังใจให้ อ.เพ็ญศรี สู้ให้เต็มที่ครับ ผมก็จะเต็มที่เช่นกัน

ดีมากค่ะ ไชโยกับคุณครูที่ทำได้ตามนี้ และชื่นชม คุณครูเพ็ญศรี มากๆๆๆๆ

สวัสดีครับ

      ชอบครับ ประเด็นที่ว่า ทำ PBL โดยให้นักเรียนฝึกคิดง่ายๆ  และ  ปลูกฝังหรือกระตุ้นแรงบันดาลใจให้นักเรียนได้โดยการทำให้เขามั่นใจในตนเอง นักเรียนที่จะมั่นใจในตนเอง เขาจะต้องรู้สึกว่า ฉันทำได้ ฉันสร้างสรรค์ได้ และฉันมีความสำคัญโดยให้นักเรียนทำอะไรที่ง่ายๆ และเขาทำสำเร็จ

     เริ่มจากสิ่งง่ายๆ  ที่ไม่ต้องมีรูปแบบ  มีหลักการ  มีขั้นตอน ของ PBL มาเกี่ยวข้อง  โดยกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจให้เขาคิดเองทำเอง  จากนั้น  จึงค่อยๆ ใส่รูปแบบ  ใส่หลักการ ใส่ขั้นตอน   ให้เป็น PBL

     ผมชอบ อ.ราชภัฎท่านหนึ่งครับ ไปเป็นพี่เลี้ยงให้โรงเรียนทำ PBL ตอนแรกก็หอบหลักการและเหตุผลของ PBL  ไปอธิบายไปบรรยายให้คณะครูฟัง คณะครูบอกว่ายาก ตอนหลังเลยบอกกับคุณครูว่า คุณครูจะทำอะไร ทำอย่างไรก็ได้ ให้เด็กได้พัฒนาตัวเอง  มอบโจทย์ให้ไป  คุณครูก็นำโจทย์ไปทำกับเด็ก  ทำอะไร ทำอย่างไรก็ได้ ให้เด็กได้พัฒนาตัวเอง  เสร็จแล้ว  อาจารย์ราชภัฎก็ค่อยๆ ต่อยอด เสริมเติมเต็ม  จากเรื่องเล็กๆ ง่ายๆ เด็กคิดเอง ทำเอง  จนขยายผลเป็น PBL ที่สมบูรณ์แบบ  

       ผมเห็นว่า ที่เขียนมาทั้งหมด  โอเค เลยครับ   เริ่มจากเด็กเป็นผู้แสดง   ครูเป็นผู้อำนวยการ  ด้วย TLLM

เห็นด้วยคะ ครูก็เหมือนกันชอบอะไรง่าย ถ้ายากไปครูก็ถอยเหมือนกัน :)

        ผมยังเคยได้ยินคุณหมอวิจารณ์ พาณิช  พูดถึง โครงงาน ๑  คาบเรียน   เลยครับ   ฝึกให้เด็กเขาคิดเอง  ทำเอง เรียนรู้ เอง  ง่ายๆ  ไม่ต้องมีรูปแบบ ขั้นตอนอะไรมาก  ใช้เวลา ๑ คายเรียน เพื่อฝึกให้เด็กคิดเป็นระบบอย่างง่ายๆ   ผมว่านี่แหละครับ เป็นจุดเริ่มต้นของ PBL ที่มาจากเด็ก  ฝึกให้เด็กคิดไปจากเรื่องง่ายๆ  ง่ายสำหรับเด็ก และ  ก็ง่ายสำหรับครู   ค่อยๆ ทำไป  ค่อยๆ เสริมเติมเต็มไป

         เมื่อซักประมาณห้า หกปี ที่แล้ว  ผมเสนอความคิดเห็นต่อวิทยากรท่านหนึ่ง  ที่จะมาอบรมครูเรื่องโครงงาน ผมเห็นหลักสูตรอบรมครูแล้ว ผมบอกว่า "มันมากเกินไป"  เราเริ่มง่ายๆ  ที่ทำได้จริงก่อนได้ไหม  ที่ไม่ต้องมีรูปแบบขั้นตอนอะไรมากมาย  แล้วค่อยๆ เสริมเติมเต็มไป  วิทยากรบอก ไม่ได้   การทำง่ายๆ  มันไม่ใช่โครงงาน  มันเป็นกิจกรรม   โครงงาน ต้องตามหลักสูตรของเขา   แล้ววิทยากรก็อบรมครูไปเต็มหลักสูตรโครงงาน   อบรมเสร็จ  จากการติดตามต่อมา  ไม่มีโครงงานใดๆ เกิดขึ้นในโรงเรียนที่เข้ารับการอบรมเลยครับ

ขอบคุณคะที่ให้แง่คิดดีๆๆ จะลองไปประยุกต์ใช้นะคะ

นายนรินทร์ พันธุ์ครู

ดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท