QS University Ranking Asia 2013


ผลการจัดอันดับในปี ๒๕๕๖ นี้ มหาวิทยาลัยไทยตกทั้งแผง ในขณะที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียขึ้นทั้งแผง ความแตกต่างอยู่ที่นโยบายและการสนับสนุนของรัฐบาลของมาเลเซีย ต่อระบบอุดมศึกษามีความชัดเจน จริงจัง และต่อเนื่อง แต่ของไทยไม่มี

QS University Ranking Asia 2013

  ผมได้รับ อีเมล์ ดังต่อไปนี้

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอเชีย QS University Rankings: Asia 2013 โดยบริษัท QS Quacquarelli Symonds Ltd. เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2556 ในระดับ Top 10 ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยตามลำดับคือ 1) The Hong Kong University of Science and Technology 2) National University of Singapore (NUS) = University of Hong Kong 4) Seoul National University 5) Peking University 6) Korea Advanced Institute of Science & Technology 7) Pohang University of Science and Technology (POSTECH) = The Chinese University of Hong Kong 9) The University of Tokyo 10) Kyoto University = Nanyang Technological University (NTU)

สำหรับประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอเชียโดย QS ในครั้งนี้ ดังนี้

42) Mahidol University 48) Chulalongkorn University 98) Chiang Mai University 107) Thammasat University 146) Prince of Songkla University 161-170) Khon Kaen University 161-170) King Mongkut’s University of Technology Thonburi 171-180) Kasetsart University 191-200) Burapha University 251-300) King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang 251-300) Srinakharinwirot University

เป็นที่น่าสังเกตว่า อันดับมหาวิทยาลัยของไทยในปีนี้ ตกต่ำกว่าปี ค.ศ. 2012 แม้กระทั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งอยู่อันดับ 38, 43 และ 91 ในปี ค.ศ. 2012 กลับถูกขยับลงมาอยู่อันดับ 42, 48 และ 98 ตามลำดับ ในปีนี้ ในขณะที่ประเทศมาเลเซียมีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่ม Top 100 ถึง 5 มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยชั้นนำทั้ง 5 ของมาเลเซีย ขยับอันดับสูงขึ้นจากปี ค.ศ. 2012 โดย Universiti Malaya ขยับจากอันดับ 35 ขึ้นมาเป็นอันดับ 33 ของเอเชียในปีนี้

ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอเชียโดย QS ในครั้งนี้ มีตัวชี้วัดและน้ำหนัก (%) ประกอบด้วย 1) Academic Reputation (30%) 2) Employer Reputation (10%) 3) Papers per Faculty (15%) 4) Citations per Paper (15%) 5) Faculty Student Ratio (20%) 6) Proportion of International Students (2.5%) 7) Proportion of International Faculty (2.5%) 8) Proportion of Inbound Exchange Students (2.5%) 9) Proportion of Outbound Exchange Students (2.5%)

ทั้งนี้ รายละเอียดทั้งหมด สามารถดูได้ที่เว็บลิงค์ต่อไปนี้

http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2013

ผมจึงขอส่งอีเมล์ฉบับนี้มายังอาจารย์ เพื่อกรุณาพิจารณาเผยแพร่ เพื่อการ ลปรร. ผ่านบล็อกสภามหาวิทยาลัยของอาจารย์ ตามแต่จะเห็นสมควรด้วย

ด้วยความเคารพและนับถือ

มงคล รายะนาคร


ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า ผลการจัดอันดับในปี ๒๕๕๖ นี้   มหาวิทยาลัยไทยตกทั้งแผง   ในขณะที่มหาวิทยาลัยมาเลเซียขึ้นทั้งแผง   ความแตกต่างอยู่ที่นโยบายและการสนับสนุนของรัฐบาลของมาเลเซีย ต่อระบบอุดมศึกษามีความชัดเจน จริงจัง และต่อเนื่อง   แต่ของไทยไม่มี

วิจารณ์ พานิช

๑๕ มิ.ย. ๕๖


หมายเลขบันทึก: 539434เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียดของคะแนนอันดับที่ 1-250 ของมหาวิทยาลัยเอเชียโดย QS ในปี ค.ศ. 2013 ในไฟล์ที่แนบมานี้2013QS_University_Rankings_Asia.pdf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท