สมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาครกับ กศน.


เป็นที่หนักใจสำหรับคนเขียนหนังสือก็คือโจทย์ในการเขียน  คราวนี้ได้รับการขอให้เขียนเรื่อง สมัชชาสุภาพจังหวัดสมุทรสาคร  ซึ่งต้องประเมินความรู้ตั้งแต่ปี พ.ศ.  2553  มาถึงปัจจุบัน ของเนื้องานที่ร่วมกันทำมาหลายปีออกมาเป็นหนังสือเพื่อนำเสนอสู่ภาพของจังหวัดสมุทรสาคร  ต้นร่าง 2 เรื่องนี้เป็นบทความส่วนหนึ่งของเนื้อหา  อยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ใน gotoknow ได้อ่าน  อาจได้สาระถะบ้าง  ไม่ได้บ้างก็ขออภัยด้วยค่ะ   ก็เป็นความรู้ในการทำงานกับเครือข่าย กศน.


รติรัตน์   รถทอง    เขียนเนื้อหา

บทนำ

จังหวัดสมุทรสาคร  เป็นจังหวัดที่ใกล้กับชายทะเล อยู่ในเขตพื้นที่ตอนล่างของภาคกลางและเป็นจังหวัดที่เป็นปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร  ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเจริญเติบโต  และการขยายตัวของชุมชนเมือง  ซึ่งมีการขยายตัวติดอันดับต้นๆ ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคมและรวมถึงปัญหาต่างๆ มากมาย  ทั้งการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม  ซึ่งมีสถานประกอบการกว่า  5,000  แห่ง  สภาพเศรษฐกิจจึงขยายเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยมีแหล่งเงินทุน  แหล่งแรงงานทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยประกอบอาชีพมากหลายประเทศ  ทั้งมอญ พม่า เขมร ลาวและประเทศอื่นๆ ที่เข้ามาหลากหลายชาติพันธุ์  และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้น  ในการอยู่ การกิน การใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างกัน  การใช้แหล่งทรัพยากรร่วมกัน

 

  จังหวัดสมุทรสาครมีแหล่งทรัพยากรตามธรรมชาติทางทะเลที่ยังสามารถจะนำมาใช้ได้อีกหลายสิบปี  โดยการหาจากแหล่งธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงในรูปแบบต่างๆ  มีสัตว์น้ำนานาชนิด  เป็นแหล่งกำเนิดอาชีพจำนวนมาก  มีแรงงานเคลื่อนย้ายเข้ามาประกอบอาชีพ  มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง  และส่งผลกระทบมากมาย ทั้งปัญหาแรงงานต่างด้าว  ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชน  การศึกษา  คมนาคม  ขาดมาตรฐานในการให้การบริการ  ตลาดสกปรก ของแพง  ขาดแคลนพลังงาน ของแพง  ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกับคนจังหวัดสมุทรสาครมาช้านาน

  ส่งผลให้เกิดกระบวนการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเครือข่าย  สมาชิกสมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาครขึ้น  เป็นการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ  ที่เปิดพื้นที่สาธารณะให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างกว้างขวาง  ดังนั้น  จำเป็นต้องมีการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายเพื่อให้หน่วยงาน  องค์กร  ภาคีต่างๆ ภายในจังหวัดสมุทรสาครได้มีตัวแทนเข้าร่วมกระบวนการสมัชชาสุขภาพ  เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมัชชาสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน  จัดตั้งขึ้นมากให้ดำเนินการสร้างเครือข่ายจังหวัด  โดยใช้กลุ่มคน หน่วยงาน  องค์กร  เครือข่ายที่ได้รับผลกระทบ  โดยมีเป้าหมายให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันทำงาน  โดยใช้ความสนใจที่เหมือนกัน  ในประเด็นที่คล้ายกันนำมารวมกลุ่มกันเพื่อการติดต่อสื่อสารในประเด็นปัญหาในพื้นที่ที่มีภูมิศาสตร์เดียวกัน

  บทบาทหน้าที่ของกลุ่มเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ  ได้มีการดำเนินการจัดเวทีสาธารณะในประเด็นต่างๆ  และนำกลุ่มคนเข้ามากำหนดบทบาทการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา  ในการลดปัญหาในการปรับแก้ไขเหล่านี้  ล้วนนำมาจากประชาชนเกือบทั้งสิ้น  โดยใช้วิธีการการประสานงานระหว่างองค์กรต่างๆ ในกลุ่มเครือข่ายของตน หรือระหว่างกลุ่มเครือข่ายของตนกับสมัชชาสุขภาพจังหวัด  เพื่อนำปัญหาเหล่านี้ของจังหวัดสมุทรสาครไปสู่ชุมชน  หรือเจ้าหน้าของรัฐที่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลดน้อยลง  เป็นการเปิดประเด็นปัญหาให้ร่วมกันแก้ไขปัญหา  เพราะถ้าหน่วยงานเดียวเพียงหน่วยงานก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของภาพรวมทั้งจังหวัดสมุทรสาครได้

  สมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร  ได้มีการจัดทำกิจกรรมที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสาคร  โดยการคัดเลือกจากคณะกรรมการสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร  โดยการหาข้อมูลจากความต้องการของสมาชิกกลุ่มต่างๆ ภายในจังหวัดสมุทรสาคร  จัดทำเป็นแผนของจังหวัดสมุทรสาครผลักดันปัญหาต่างๆ  ให้หน่วยงานหลักของจังหวัดสมุทรสาครได้แก้ไข  เช่น หน่วยงานสิ่งแวดล้อม  หน่วยงานจังหวัดสมุทรสาคร และหน่วยงานอื่นๆ ได้เข้ามาร่วมในการแก้ไขปัญหา 

  สมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร  จัดตั้ง โดย กลุ่มองค์กรเครือข่ายไตรภาคี  ในการจัดทำนโยบายสาธารณะ  ในเรื่องต่างๆ  มากมาย  โดยการนำมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ  นำมาจัดเวทีต่างๆ  มากมายโดยเริ่มเป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้นตามวันเวลา  ภายในจังหวัดสมุทรสาคร  โดยเริ่มจากเวทีน้อยๆ ไปจนถึงเวทีหลายร้อยคน  และนำความคิดนำกลับไปเสมอกับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนภายในจังหวัดสมุทรสาครอย่างแท้จริง

  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551  เป็นต้นมาได้มีการเสนอประเด็นต่างๆ  มิติต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาน  การเข้าถึงยาถ้วนหน้าของประชากรไทย  นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพในที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำหนดนโยบายการเจรจาการค้าเสรี  เกษตรและอาหารในยุควิกฤต  ยุทธศาสตร์ในการจัดการปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการสุขภาพและทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  ความเสมอภาพในการเข้าถึงและได้รับบริการสาธารณสุขที่จำเป็น  ผลกระทบจากสื่อต่อเด็กและเยาวชนและครอบครัว  สุขภาวะทางเพศ : ความรุนแรงทางเพศ  การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและเรื่องเพศกับเอดส์ / โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ระบบกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในสังคมไทย  นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะของแรงงานนอกระบบ  การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและญาติกับบุคลากรทางการแพทย์  วิกฤตเศรษฐกิจและการปกป้องสุขภาวะคนไทย  รวมแล้ว  14  มิติ  ในการปกป้องประชาชนให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นโดยใช้กลไกขององค์กรเอกชนนี้ก็ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในจังหวัดสมุทรสาครที่มีสภาพใกล้เคียงกันและนำความคิดเห็นในภาคประชาชนให้สามารถเป็นที่ยอมรับในภาพของจังหวัดสมุทรสาคร

  ต่อมาในปี พ.ศ.  2552  สมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร ได้นำสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่  2  นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมขององค์กร  โดยมีมติ  เช่น  การจัดการขยะอันตรายจากชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  แผนการพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเองด้าน เศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  กรณีภาคใต้  การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพของประชาชน  ยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม : เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ  และสุขภาพของผู้ป่วย  ยุทธศาสตร์  ด้านกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการส่งเสริมการขายยา  ยุทธศาสตร์ประสานความร่วมมือเครือข่ายสถาบันการศึกษาและสถานพยาบาล  เพื่อยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม  ยุทธศาสตร์ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพและองค์กรวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม  ยุทธศาสตร์ภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการส่งเสริมการขายยาที่ขาดคุณธรรม  ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ  โรคติดต่ออุบัติใหม่  การพัฒนาการแพทย์แผนไทย  การแพทย์พื้นบ้าน  และการแพทย์ทางเลือกให้เป็นระบบบริการสุขภาพหลักของประเทศคู่ขนานกับการเพทย์แผนปัจจุบัน  การจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน  การแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน  การพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมเพื่อสุขภาวะของเด็ก  เยาวชน  และครอบครัว  การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง  มติเหล่านี้จะถูกดึงมาจัดกิจกรรมถ้าเป็นเรื่องที่ใกล้กับบริบทของจังหวัดสมุทรสาคร  โดยมีอัตลักษณ์ของของจัดทำเวที  ระดมความคิดโดยใช้รูปแบบของสมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร

  พ.ศ.  2553  ได้มีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่  3  มาเป็นแนวทางในการดำเนินการ เช่น มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน  ความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนพิการ  การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก  นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ  นยาบสนับสนุนพื้นที่จัดการตนเองเพื่อสังคมสุขภาวะ  มาตรการในการควบคุมปัจจัยเสียงต่อสุขภาพด้านยาสูบ  ร่วมฝ่าวิกฤตความไม่เป็นธรรม นำสังคมสู่สุขภาวะ  การแก้ปัญหาวัยรุ่นไทยกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม  การป้องกันผลกระทบต่อสุขภาวะและสังคมจากการค้าเสรีระหว่างประเทศ  มติเหล่านี้ได้ถูกนำมาเสนอในที่ประชุมและนำมาถกเถียงกันเพื่อให้เข้ากับบริบทของปัญหาภายในจังหวัดสมุทรสาคร  และนำมาจัดทำเป็นโครงการและเปิดเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร

  พ.ศ.  2554  มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่  4  เช่น  ความปลอดภัยทางอาหาร : การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ  การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย (สุขใจ...ไม่คิดสั้น)  การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง  การบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน  โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคทุกภาคส่วน  การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร  และผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุกระจายเสียง  สื่อโทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต 

จนกระทั่งมาถึง  พ.ศ.  2555  ได้มีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ  ครั้งที่ 5  มติสมัชชาสุขภาพ

แห่งชาติ  เช่น  การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน  การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก  24  ชั่วโมง  :  กรณีเด็กไทยกับไอที  พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ  การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย  การปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ  การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล  การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ  ความปลอดภัยทางอาหาร :  การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศตรูพืช  การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและอาหาร  ทั้งหมดที่ผ่านมานั้นเป็นการกำหนดบทบาทการทำงานของทีมงานสมัชชาสุขภาพที่มากจากหลากหลายอาชีพ  ได้มาจัดดำเนินการสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยจังหวัดสมุทรสาครขึ้น  เมื่อวันที่  20  กรกฎาคม  2555  โดยการวิเคราะห์จากสถานการณ์ของจังหวัดสมุทรสาคร จึงนำกระบวนการสมัชชามาเชื่อมโยงทั้งภาคประชาชน  หน่วยงานราชการ  องค์กรต่างๆ  เข้ามาบูรณาการ  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  ( ส.ส.ส.)  และหน่วยงานต่างๆ  มากำหนดบทบาทการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่  โดยการรวบรวมข้อมูล กลุ่ม องค์กร  ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสุขภาวะในจังหวัดสมุทรสาคร  จัดประชุมปฏิบัติการ  3  ครั้ง  สร้างความเข้าใจนำกระบวนการสมัชชาสุขภาพ  นำไปแก้ไขปัญหาของประชุมชนชาวจังหวัดสมุทรสาคร  นำประเด็นหลัก  3  ประเด็น  มาหยิบยกนำไปใช้  ได้แก่  ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ปัญหาแรงงานข้ามชาติ  ปัญหาคุณภาพชีวิต  จัดทำโครงการขับเคลื่อน  ตามยุทธศาสตร์ขบวนการองค์กรจังหวัดสมุทรสาคร  นำแนวทาง  “สมุทรสาครอยู่ดีมีสุข”  ไปใช้ในการกำหนดบทบาทการทำงาน 

  สมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร  ได้จัดเวทีสัญจรขับเคลื่อนเพื่อจัดเป็นนโยบายสาธารณะให้แก่ทุกภาคส่วนนำไปพัฒนาในภาคประชาชนที่ยังด้อยและมีปัญหา  เน้นการแก้ไขปัญหาของคนจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้ทั้งสามภาคส่วนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขโดยใช้คำขวัญประจำจังหวัด  เมืองประมง  ดงโรงงาน ลานเกษตร  เขตประวัติศาสตร์เข้ามาใช้ในการกำหนดปัญหาในภาครวมขอจังสมุทรสาคร


บทที่  2

การจัดการความรู้กระบวนการขับเคลื่อน

สมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร

  สมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร ได้มีการประชุมเครือข่ายสมัชชาร่วมกันจัดกระบวนการ สมัชชาสุขภาพในระดับจังหวัดขึ้น  โดยใช้กิจกรรมแบบสมัชชาขึ้น  โดยการแบ่งการจัดกิจกรรม  การจัดเวทีสัญจรเพื่อขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมให้เป็นนโยบายสาธารณะ ให้แก่ทุกภาคส่วนในการนำไปพัฒนาภาคประชาชน ร่วมกับภาครัฐ  และภาคเอกชน  ร่วมกันนำปัญหาและแนวทางที่ได้นำไปแก้ไขปัญหาของคนจังหวัดสมุทรสาคร ให้เป็นรูปธรรม

กิจกรรมที่  1   การประชุมคณะกรรมการ

  จุดเริ่มต้นของกิจกรรมสมัชชาสุขภาพ ด้วยการการประชุมคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร  แกนนำ และแต่งตั้งเป็นวิทยากรกระบวนการในการขับเคลื่อนกิจกรรม นำเสนอวิธีการดำเนินการจัดกิจกรรมประชุมแกนนำกระบวนการ วิธีการที่ใช้ คือ การจัดประชุมกลุ่มย่อยแกนนำในการกิจกรรม  รวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อมูล  โดยการเชิญแกนนำ  28 คน  ได้แก่ นักประสานงาน จำนวน  7  คน  นักสื่อสารสาธารณะ จำนวน  1  คน  นักวิชาการ  จำนวน  12  คน นักยุทธศาสตร์  จำนวน  4  คน  นักบริการและจัดการ   จำนวน  6  คน  กระบวนการที่ได้มา ดังนี้

  1. เพื่อชี้แจงคุณสมบัติของคณะทำงานกระบวนการ

  2.ให้คณะทำงานชักชวน ทาบทามผู้ที่เหมาะสมหรือพิจารณาสังเกตจากผู้ร่วมเวทีและสังเกตจากผู้ร่วมเวที  และสืบประวัติ

  3.ให้ความรู้เกี่ยวข้องในเรื่องการจัดสมัชชา ให้กับเป้าหมายในการดำเนินงานกระบวนการในการทำงานร่วมกัน

  4.การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานให้ได้รับรู้ความพร้อมในการดำเนินงานกิจกรรมของสมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาครในการขับเคลื่อนกิจกรรม

การเรียนรู้จากกระบวนการ

จุดเด่น

  1.กิจกรรมการคัดเลือกแกนนำจากผู้นำกลุ่มต่างๆ เลือกและกลั่นกรองจากคนมีมีจิตอาสาอย่างแท้จริงมีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายการทำงาน  ทำให้มีศักยภาพในการดำเนินกระบวนการสมัชชา 

  2.มีจำนวนแกนนำมีไม่มาก  จะทำให้คล่องตัวในการทำงาน

  3.มีแกนนำมาจากหน่วยงานราชการต่างๆ นำงานวิชาการเข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

  4.มีแกนนำมาจากหลายภาคส่วน จากภาคประชาสังคม  หน่วยงานราชการและภาควิชาการ ทำให้สามารถประสาน  เชื่อมร้อยคนในภาคประชาชน  องค์กรมาร่วมกิจกรรมได้

จุดด้อย

  1.แกนนำส่วนมากมีอาชีพหลัก  ทำให้ไม่มีเวลาที่จะร่วมงานได้  ทุกครั้งโดยเฉพาะภาคราชการ ซึ่งมีหน้าที่ประจำ  ต้องใช้เวลาในวันหยุดหรือนอกเวลาทำให้การขับเคลื่อนได้ไม่เต็มที่

  2.การถอยหายไปของแกนนำบางคน  เนื่องจากบางครั้งบางเจตนาก็จะไม่มาร่วม  รวมทั้ง

การปรับรูปแบบขั้นตอนคล้ายระบบราชการ  ซึ่งมีกฏเกณฑ์มากหลายคนไม่เห็นด้วย  การพัฒนาศักยภาพแกนนำ  ทำให้ผู้ที่มีความรู้น้อยถอยหนีไม่กล้าแสดงออก

กิจกรรมกลไกพหุภาคี

  กลไกพหุภาคี  คือ  กรรมการเครือข่าย  องค์กรภาคประชาชน  และผู้ว่าราชการจังหวัด  ได้แต่งตั้ง  "คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ สมุทรสาครอยู่ดีมีสุข ประกอบด้วยหน่วยงานราชการจำนวน  14 หน่วยงาน  ภาควิชาการจำนวน  3  คน  และภาคประชาชน  จำนวน  19  คน  รวมทั้งสิ้น จำนวน  39  คนโดยมีประธานเครือเครือข่าย  ประธานสมัชชาสุขภาพ  ประชาชนชมรมวิทยุชุมชน  ประธานคณะทำงาน พอช.  ประธานหอการค้าและรองประธานหอการค้าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในครั้งนี้

  การออกคำสั่งแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดทำให้หน่วยงานในภาคราชการสามารถร่วมขัเคลื่อนได้อย่างเต็มที่  มีข้อสังเกต  หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือส่วนมากเป็นพวกต้องการอิสระจากการทำงาน  โดยไม่หวังผลตอบแทน  เป็นผู้มีจิตอาสา  และบางหน่วยงานก็ยังไม่ให้ความร่วมมือ  เพราะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับตอบแทน  บางทีก็ว่าเสียเวลา  บางหน่อยงานไม่พอใจผู้ประสานงาน  และบางคนก็ตอบรับแบบเกรงใจ  ทำให้งานออกมาไม่สมบูรณ์

  ในการประชุมเพื่อรับทราบเป้าหมายที่จะร่วมกระบวนการและบทบาทหน้าที่โดยมี  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน  มีการประชุมและเข้าร่วมประเด็นในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย  โดยเฉลี่ยเดือนละ  1  ครั้ง  เพื่อคุยกันถึงนโยบายที่จะเตรียมทำ  “สมัชชาสุขภาพ”  ซึ่งบางคนก็ไม่เข้าใจนึกว่าการทำสมัชชาเป็นการตั้งม๊อบหรืออย่างไร  “ซึ่งไม่ใช่”  มาดูรายละเอียดว่าสมัชชาสุขภาพคืออะไร

  “สมัชชาสุขภาพ”  นั้นเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม  ที่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.  2550  โดยให้ความหมายไว้ว่าเป็น “กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์  เพ่อนำไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพหรือ  ความมีสุขภาพของประชาชน  โดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและอย่างมีส่วนร่วม”

  วัตถุประสงค์ที่สำคัญของสมัชชาสุขภาพ  คือ การเปิดพื้นที่สาธารณะทางสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย  เพื่อให้ฝ่ายต่างๆ ในสังคม  ได้มีพื้นที่ในการพบปะ  พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรุ้ร่วมกัน  เพื่อค้นหาทางออกหรือการมีข้อเสนอในการปฏิบัติต่อฝ่ายต่างๆ  ซึ่งเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่มุ่งหวังให้เกิดการผลักดันไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาวะรวมทั้งการนำไปสู่การพัฒนาสิ่งใหม่ๆ  ที่ดีงาม

  อีกนัยหนึ่ง  สมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร  รวมกลุ่มกันเพื่อเป็นกระบวนการที่เชื่อมร้อยหลายภาคส่วนในสังคมเข้ามาร่วมกันทำงานด้วยกัน  เพ่อขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสุขภาพ  โดยนำยุทธศาสตร์  “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”   มาเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการและกลไกในการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์  เพื่อทำงานที่ยากให้สำเร็จด้วยการให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วนในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา  ทำด้วยกัน คิดด้วยกัน  ทำอยู่แล้วก็มาช่วยกันพัฒนาให้เกิดแนวความคิดที่จะพัฒนาองค์กรของตนเองให้มีความสุข

  สมัชชาสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร  ได้มีการกำหนดจัดทำหนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ   “สมุทรสาครอยู่ดีมีสุข”   เพื่อประสานงาน  บูรณาการเชื่อมโยงเครือข่าย 

ภาคีการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ  ของภาคประชาสังคมและภาคประชาชน  โดยมีเป้าหมายสำคัญจะนำพาหมู่บ้าน  ชุมชน  และสังคม  โดยการประสานกับหน่วยงานภาครัฐที่อยู่เหนือไปเช่นออกคำสั่งจากจังหวัดสมุทรสาคร  ในการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะอย่างจริงจัง

  ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  ( ฉบับที่  5 )  พ.ศ. 2545  มาตราที่ 3  การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภาคกิจของรัฐ  ความมีประสิทธิภาพ  ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ  การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน  การลดภารกิจและยุบ/เลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น  การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น  การกระจายการตัดสินใจ  การอำนวยความสะดวก  และการตอบสนองความต้องการของประชาชน  ทั้งนี้โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี : หลักธรรมาภิบาล
  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ( ฉบับที่ 7 ) พ.ศ. 2550  มาตรา  53  ในจังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด  ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  ในระดับชาติและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น  ในจังหวัด  เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัดแล้ว  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการดำเนินกิจการของส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐทั้งปวง  ที่กระทำในเขตพื้นที่จังหวัด  ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด

  คณะกรรมการเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนจังหวัดสมุทรสาคร  ได้แต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนเสริมสุขภาพจังหวัดสมุทรสาคร  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ  การจัดเวทีเพื่อค้นหาปัญหาต่างๆ ของคนสมุทรสาคร  การบูรณาการเป็นกลไกทำงานร่วมกันของภาคีเครือจ่ายและขอรับการสนับสนุนจากการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.)  สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  (สช.)  และสำนักงานหลักประกันสุขภาพ  (สปสช.)  ในอันที่นำสุขภาวะของคนสมุทรสาคร  ให้เกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่าและสำนึกถึงความจำเป็นที่จะร่วมกันคิดร่วมกันทำ และแก้ไขปัญหาของจังหวัดสมุทรสาครต่อไป

  หลักการสำคัญที่เป็นพื้นฐานของสมัชชาสุขภาพเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมแล้ว  หลักการสำคัญ  3 ประการ  คือ

  1.สมัชชาสุขภาพเป็นกระบวนการในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม  ที่เน้นการมีส่วนร่วมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในสังคม  ในการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร  ความรู้ต่างๆ  ร่วมกันถกแถลง ปรึกษาหารือ  เพื่อกำหนดทิศทางแนวนโยบาย  ร่วมดำเนินการ  ร่วมติดตาม  ร่วมปรับปรุงแก้ไข  และร่วมพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนทุกฝ่ายในสังคมรู้สึกว่าเป็นเจ้าของนโยบายสาธารณะนั้นร่วมกัน

  นโยบายสาธารณะ  หมายถึง  ทิศทางหรือแนวทางที่สังคมโดยรวมเห็นว่าหรือเชื่อว่าควรดำเนินการไปในทิศทางนั้น

  นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ  หมายถึง  นโยบายสาธารณะที่แสดงความห่วงใยอย่างชัดเจนในเรื่องสุขภาพ  พร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบานนั้น  ขณะเดียวกันก็เป็นนโยบายที่มุ่งสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและกายภาพที่เอื้อต่อการมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และมุ่งให้ประชาชนมีทางเลือก  และสามารถเข้าถึงทางเลือกที่ก่อให้เกิดสุขภาพดีได้

  2.  สมัชชาสุขภาพเป็นกระบวนการของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

  ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม  หมายถึง  การมีส่วนร่วมในทางการเมือง การปกครอง  ตลอดจนการกำหนดวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย  ที่มีเงื่อนไขสำคัญ  4 ประการ คือ

1)  ทุกคนสามารถยกประเด็นปัญหาหนึ่งขึ้นมา  เพื่อกำหนดเป็นวาระของการประชุม  สามารถเสนอทางเลือกและมีส่วนร่วมในการเลือกหรือตัดสินใจสุดท้ายได้

2)  เป็นการประชุมที่ทุกคนสามารถพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง

3)  มีการปรึกษาหารือหรืออภิปรายประเด็นปัญหาที่หยิบยกมาพิจารณากันอย่างกว้างขวาง  ทุกคนต้องการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่

4)  มีแนวโน้มที่พยายามจะให้เกิดความเห็นพ้องร่วมกันในประเด็นปัญหาที่พิจารณา

3. สมัชชาสุขภาพเป็นกระบวนการทำงานด้วยยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา  ซึ่งใช้

ในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อน  โดยพึ่งพาพลัง  3  ส่วน  ที่เชื่อมโยงกัน  คือ พลังทางปัญญา  พลังทางสังคม  และพลังแห่งอำนาจรัฐหรืออำนาจทางการเมือง

  คณะกรรมการเครือข่าองค์กรภาคประชาชนจังหวัดสมุทรสาคร  ได้แต่งตั้งคระทำงานสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพจังหวัดสมุทรสาครขึ้น  วัตถุประสงค์คือเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ การจัดเวทีค้นหาสุขภาวะของคนสมุทรสาคร  การบูรณาการเป็นกลไกการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายและขอรับการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการประสานงาน  การบูรณาการ  การเชื่อมโยงเครือข่ายภาคีการพัฒนา  และการขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรมสู่สังคม  และประชาชนอย่างแท้จริง  จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ  “สมุทรสาครอยู่ดีมีสุข”  ตามภาระกิจของจังหวัดสมุทรสาคร

กิจกรรมที่  3  ข้อมูลภาค เครือข่ายและการวิเคราะห์

  มีการจัดทำข้อมูลเครือข่ายเพื่อเป็นข้อมูลในการประสานงาน  ในการขับเคลื่อนและการพัฒนา นโยบายสาธารณะ  ซึ่งอยู่ในระหว่างการจัดทำ  โดยคณะทำงานประสานกับหน่วยงานราชการ  เช่น สำนักงานทรัพยกรและสิ่งแวดล้อม  สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  อสม.  และองค์กรภาคเอกชน  นำไปสู่การใช้จริงในทุกภาคส่วน

หลักการดำเนินการจัดสมัชชาสุขภาพ

  การจัดสมัชชาสุขภาพ  ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.  2550  ตามมาตรา  40  มีหลักการดำเนินการต่อไปนี้

(1)   หลักการมีส่วนร่วม  ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใน

สังคม  ในระดับที่เหมาะสม  ( ในมิติของเนื้อหา  กระบวนการ  และการจัดการ )  อย่างมีศักดิ์ศร  ตามยุทธศาสตร์  สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา  ได้แก่  ฝ่ายการเคลื่อนไหวสังคม  (Social movement )  ภาคประสังคม ภาคประชาชน  ชุมชน  และสังคม  ฝ่ายสร้างองค์ความรู้  ภาควิชาการ และวิชาชีพ  ฝ่ายการเมือง และราชการ  ภาคการเมือง  ภาคราชการทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น

(2)   หลักยืดหยุ่น  เปิดกว้างและหลายหลาย  ให้ความสำคัญกับกระบวนการ  ขั้นตอน 

วิธีการต่างๆ  ที่ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม  และเปิดกว้างให้กับทุกพื้นภาคส่วนเข้าถึงสมัชชาสุขภาพ  ตลอดจนรูปแบบสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น  ที่หลากหลายตามสภาพบริบทของแต่ละพื้นที่แต่ละประเด็น หรือตามพลวัตของสังคม

(3)  หลักเรียนรู้แลกเปลี่ยนอย่างบูรณาการ  ให้ความสำคัญกับการใช้สมัชชาสุขภาพ

เป็นเครื่องมือในการสร้าง  “กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน”  ของคนในสังคมโดยการร่วมกันคิดร่วมกันปฏิบัติ และเรียนรู้จากการปฏิบัติร่วมกัน  ( Interactive  Learning  through action )  จนทุกฝ่ายร่วมกันเป็นเจ้าของหรือเป็นเจ้าภาพแบบพหุพาคี

(4)  หลักดำเนินงานอย่างเป็นระบบ  ให้ความสำคัญกับการทำงานบนฐานข้อมูล  องค์

ความรู้  และภูมิปัญญา  ผ่านกระบวนการนโยบายสาธารณะที่มีความชัดชัดเจนเป็นไปได้  สอดคล้องกับสถานการณ์หรือสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเด็น  อย่างเป็นพลวัต 

สมัชชาสุขภาพที่พึงประสงค์

  มีคุณลักษณะที่สำคัญ  6  ประการ  คือ

(1)   กลไกการจัดเป็นกลไกพหุภาคี  สมัชชาสุขภาพ  เป็นเครื่องมือในการพัฒนา

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม  จึงจำเป็นต้องมีกลไกที่ทำหน้าที่ออกแบบ  วางแผนและการดำเนินงานที่มีความรู้และเข้าใจในกระบวนการนโยบายสาธารณะ  ฉะนั้นองค์ประกอบของกลไกที่ทำหน้าที่ดังกล่าว  จึงมีความสำคัญอย่างมาก  ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมากลไกการจัดสมัชชาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจะมีองค์ประกอบครบ  3 ภาคส่วน ทั้งภาควิชาชีพและวิชาการ  ภาคการเมืองและราชการ  และภาคประชาสังคมและประชาชน  มาทำงานร่วมกันแบบภาคีหุ้นส่วน  ซึ่งอาจจะออกแบบมาในรูปของคณะทำงาน คณะกรรมการหรือมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายคนทำงานแบบไม่เป็นทางการก็ได้

(2)  มีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบ  การจัดสมัชชาสุขภาพเพื่อนำไปสู่การ

พัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพคงไม่ใช่เพียงการจัดเวทีวิชาการหรือเวทีสาธารณะทั่วๆ ไป  แต่เป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายเพื่อหาฉันทามติร่วมกันของผู้เข้ามาร่วมเวทีในการกำหนดประเด็นเชิงนโยบาย  กำหนดทางเลือกการตัดสินใจทางนโยบาย  การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ  รวมถึงการติดตามประเมิน  ฉะนั้น  จึงจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ  ตั้งแต่ การได้มาซึ่งประเด็นเชิงนโยบาย  การทำงานภาควิชาการ  การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมเวที  ตลอดจนวิธีการประชุม

(3)  ใช้ฐานความรู้ผสมผสานเข้ากับฐานด้านจิตใจ  สมัชชาสุขภาพเป็นกระบวนการที่

ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแปลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์  ซึ่งหมายถึงการใช้ข้อมูล  วิชาการและความรู้อาจเรียกว่า “ปัญญา”  เป็นฐานในการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  ไม่ได้ใช้อารมณ์ค

หมายเลขบันทึก: 538272เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณค่ะ


น่ารัก และน้ำใจ เขียนได้สนุดดีครับผม ติดตามแล้วครับ สุขภาพจิตเป็นภัยใกล้ตัวที่น่ากลัวครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท