การพูดจาหาทางออกประเทศไทย


   



       การพูดจาหาทางออกประเทศไทย                 

                               ถวิล  อรัญเวศ

  เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ผมเองได้มีโอกาสเข้าประชุมซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนโครงการ

จัดเวทีประชาคมเสวนาหาทาออกประเทศไทย หรือพูดจาหาทางออก

สำหรับประเทศไทย ณ ห้องประชุมมูลนิธิท้าวสุรนารี ชั้น 1 ศาลากลาง

จังหวัดนครราชสีมา ทำให้ทราบว่า ประเทศไทยจะมีการจัดเวทีพูดจาหาทาง

ออกประเทศไทยสำหรับภูมิภาค จำนวน 100 เวที กลุ่มเป้าหมายจำนวน

69,100 คน สำหรับกรุงเทพฯ จำนวน 8 เวที กลุ้มเป้าหมาย 6,600 คน

  สำหรับจังหวัดนครราชสีมา จะจัดเวทีพูดจาหาทางออกประเทศไทย

ในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 และวันที่ 19-20 มิถุนายน 2556 ณ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ตามที่คณะกรรมการกำหนดในวันนั้น)

  ประเด็นการพูดจาหาทางออกประเทศไทย มี 9 ประเด็นซึ่งกำลัง

ฮิต ๆ อยู่ในขณะนี้ คือ

1.  ความเข้าใจประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน

  เราจะมีทางใดที่จะเติมเต็มให้ประชาธิปไตยของไทยเราสมบูรณ์แบบและพี่น้องคนไทยเราส่วนใหญ่ยอมรับในกติกานี้

  2. ความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรม (ข้อที่ 1 ของหลักธรรมาภิบาล)

  เช่น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 309 ที่บัญญัติไว้ว่า บรรดาการใด ๆ

ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้  ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ (รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550) ซึ่งสังคมกำลังเคลือบแคลงว่าจะเข้าหลักนิติธรรมหรือไม่ ถ้าไม่เข้าหลักนิติธรรมก็แสดงว่า กฎหมายแม่บทในการบริหารประเทศชาติ น่าจะได้มีการแก้ไข หรือไม่อย่างไร จะต้องพูดจาหาทางออกที่ดี

3.ตุลาการภิวัฒน์ การแทรกแซงองค์กรอิสระ

  มีการกล่าวว่า ฝ่ายบริหารของรัฐแทรกแซงองค์กรอิสระ หรือสังคมบางส่วนมีความเคลือบแคลงในคำพิพากษาขององค์กรอิสระบางองค์กร  อย่างนี้ ข้อเท็จจริงมีเพียงใด จะพูดจาหาทางออกโดยสันติวิธีได้อย่างไร จึงจะทำให้คนในสังคมไทยเข้าใจกันดีและมีความสมานฉันท์ ไม่มีการเคลือบแคลงกัน

  4.การรัฐประหาร และบทบาทของทหารในการจัดการความขัดแย้ง

  การที่ประเทศไทยแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการรัฐประหารของกองกำลัง

ทางทหารนั้น เป็นการขัดขวางการพัฒนาระระบอบประชาธิปไตยหรือไม่อย่างไร

ควรมีการพูดจาหาทางออกที่ดี เพื่อให้สังคมไทยไม่ต้องเคลือบแคลงในประเด็นนี้

  5. ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม

  ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการขาดแคลนทรัพยากรหรือสวัสดิการพื้นฐาน

เป็นบริบทของไทยที่มีความยืดเยื้อมายาวนาน  และเป็นฉากของปัญหาความ

ขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งถูกนำมาใช้อธิบายความชอบธรรมที่จะเข้าไปมีอำนาจ

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวของแต่ละฝ่าย หรือการกล่าวคำว่า “ไพร่ และอำมาตย์”

ได้ถูกนำมาเป็นวาทกรรมเพื่อสร้างแนวร่วมทางการเมือง  ประเด็นเหล่านี้จะ

มีการพูดจาหาทางออกประเทศไทยอย่างไร คนไทยจึงจะรู้สึกว่าจะหาแนวทาง

แก้ไขปัญหานั้นได้ตรงประเด็น จะพูดจาหาทางออกอย่างไรจึงทำให้คนไทยเรา

เข้าใจกันได้ ไม่บาดหมางเหมือนสมัยโบราณ

  6. การขยายตัวของสื่อการเมืองและสื่อบุคคล

  มีการพูดกันว่า ปัจจุบัน มีสื่อหลายแขนง เสนอข่าวเพียงด้านเดียว ดูเหมือน

จะไม่เป็นธรรม หรือมีสื่อหลายสื่อเสนอข่าวไม่สร้างสรรค์ กล่าวคือมีการเผยแพร่

ในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อมากกว่า  หรือการเผยแพร่ด้วยถ้อยคำที่จะมีผลทำให้

คนไทยด้วยกันเกิดความเกลียดชังกัน อย่างนี้เป็นต้น จะมีการพูดจาหาทางออก

อย่างไร จึงจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี และสมานฉันท์ของคนไทยด้วยกัน

  7. การกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง

  มีการพูดกันว่า  ฝ่ายการเมืองบางพรรค พยายามรักษาสถานภาพของตน

โดยการกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์หรือดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็น

ประเด็นทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมจากมวลชนในการเคลื่อนไหวทาง

การเมือง จนทำให้ปัญหาทางการเมืองลุกลามบานปลายเกิดความแตกแยกของ

ประชาชน รวมทั้งมีการกระทำในลักษณะจาบจ้วง ซึ่งสร้างความขัดแย้งหรือ

ความรุนแรงได้ง่าย เพราะเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว  ฯลฯ จะมีการพูดจา

หาทางออกอย่างไร สำหรับคนไทยด้วยกันจึงจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและ

หาทางออกทางออกประเทศไทยอย่างสง่างาม

8. สังคมขาดองค์ความรู้ในการจัดการความขัดแย้งและสันติวิธี

มีการพูดกันว่า กลุ่มผู้ต่อต้านฝ่ายที่มีอำนาจรัฐ มุ่งที่จะยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง เพราะเชื่อว่าเมื่อเกิดความรุนแรงแล้ว รัฐจะใช้กำลังใน

การปราบปรามเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามแพ้ โดยทั้งสองฝ่าย ฝ่ายใดที่ใช้กำลังก่อน จะเป็นผู้แพ้ หรือการที่ฝ่ายรัฐที่มีอำนาจ เลือกวิธีการแก้ปัญหาการเดินขบวนยั่วยุของม็อบด้วยการสลายการชุมนุมข้อเรียกร้อง ฯ ลฯ ประเด็นเหล่านี้ จะhttp://www.korat4.net/download/1370453637_exit%20of%20thailand.pdfมีการพูดจาหาทางออกของประเทศไทยอย่างไร จึงจะทำให้คนไทยด้วยกัน

เข้าอกเข้าใจกันไม่

ต้องมีสิ่งเหล่านั้นเกิดปรากฏการณ์ที่ซ้ำแล้http://www.korat4.net/download/1370453637_exit%20of%20thailand.pdfวซ้ำอีก

  9. ความขัดแย้งแบบเดิมพันสูง

  มีการพูดกันว่า แพ้ไม่ได้ (คำโบราณของไทยแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร)

เพราะมีต้นทุนที่จะสูญเสียเป็นจำนวนมาก และจะต้องถูกแก้แค้นเอาคืนอย่าง

ถึงรากถึงโคน ประเด็นดังกล่าว บางครั้งนำมาสู่การระดมสรรพกำลังและมวลชน

แบบทุ่มสุด ๆ หรือทุ่มสุดตัว ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้ จะมีการพูดจาหาทางออก

ประเทศไทยอย่างไร จึงจะเป็นทางหนทางออกที่สวยงาม

  นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว ผู้เข้าร่วมประชุมพูดจาหาทางออกสำหรับ

ประเทศไทย อาจจะมีข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ได้ดีกว่าที่กล่าวมาก็ได้นะครับ

คิดว่า หลายคน คงจะสนใจที่จะร่วมพูดจาหาทางออกนะครับ  สำหรับการพูดจา

หาทางออกประเทศไทย ควรจะเป็นการพูดเชิงวิชาการมากกว่าที่จะเป็นการพูด

เสียดสีให้ร้ายกันนะครับ  จึงจะสามารถที่จะเป็นการพูดจาหาทางออกสำหรับ

ประเทศไทยได้อย่างแท้จริง ท่านสามารถเข้าประชุมจุดที่จัดในจังหวัดของท่านได้

นะครับ สำหรับ จังหวัดนครราชสีมา จะจัดวันที่ 10 มิถุนายน 2556 และวันที่

19-20 มิถุนายน 2556 รวม 3 จุด จุดละประมาณ 1,000 คน ณ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏนครราชสีมา ท่านสามารถสอบถามได้นะครับ

----------------------

http://www.korat4.net/download/1370453637_exit%20of%20thailand.pdf

http://www.korat4.net/download/1370453637_exit%20of%20thailand.pdf

http://www.korat4.net/download/1370453637_exit%20of%20thailand.pdf


อ้างอิงข้อมูล : คู่มือพูดจาหาทางออกประเทศไทย (ฉบับประชาชน)

หมายเลขบันทึก: 538224เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 01:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2013 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท