สูตรการราดสารลำไย : เรื่องที่เกษตรกรต้องตระหนัก ใส่ใจ และเลือกใช้อย่างมีความรับผิดชอบ


ถ้าหากคิดว่าเราไม่ใช่คนกินลำไย แต่เป็นเพียงพ่อค้า หรือนักวิชาการค้ากำไร หรือเป็นเพียงเกษตรกรชาวสวนลำไย ที่อยากให้สวนของตนเองมีผลผลิต (อันตราย) เยอะๆ ก็ใช้กันเข้าไปเลย...ค่ะ...

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

.

               วันนี้....ตั้งใจเปิดเว็ปเข้าไปอ่านความคิดเห็นของ  เกษตรกรผู้ทำสวนลำไยท่านอื่นๆ  ในเว็บบล็อกของคุณหนุ่มดอยเต๋า  ใน GTK  ซึ่งก็ได้พบ ได้อ่าน และได้รับฟังความคิดเห็น อันเป็นความรู้ ที่เกิดจากประสบการณ์ของเกษตรกรแต่ละท่าน ที่ได้กรุึณาเล่าเรื่องราวการวิธีการทำลำไยภายในสวนของท่านเหล่านั้น....เป็นอันมาก   

                พอได้ดีพบคำถามที่ คุณหนุ่มสอยดาว  ถามลอยๆ ไว้  

                นี่ก็ผ่านมาตั้ง 22 วันแล้ว.....ไม่เห็นมีใครตอบคำถามดังกล่าวเลย

                ด้วยความที่ เป็นคนที่มีความคิดเห็นเป็นส่วนตัว   พอจะมีความรู้กับเขาบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในระดับหนึ่ง  ซึ่งได้จากการศึกษาในคณะเทคโนโลยีทางการเกษตร  และจากการที่ได้ปฏิบัติ ทดลอง สังเกตุ จดบันทึก และนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาข้อสรุป   รวมถึงเป็นคนที่ชอบศึกษาในด้านคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมี

                เมื่อเวลาได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็น หรือได้รับคำแนะนำจากเกษตรกรแต่ละรายในเรื่องของเทคนิคการทำลำไยของแต่ละท่านซึ่งประสบความสำเร็จในแต่ละระดับหนึ่ง ว่าจำเป็นต้องใช้ปุ๋ย  ใช้ยา  หรือใช้สารเคมีชนิดนั้น...ชนิดนี้   ต้องใช้วิธีการอย่างนั้น...อย่างนี้    ยุ้ยก็มักจะนิ่งๆ เฉยๆ ก่อน  แม้ในใจยังสับสน หรืออาจจะไม่เห็นด้วย   แต่ก็ไม่เถี่ยงกับใคร   อาจจะทำหน้าตา หรือท่าทีสนใจ  พยักหน้ารับคำแนะนำไปก่อน   เพื่อไม่ให้ท่านเกษตรกรเหล่านั้น...เสียกำลังใจ  ที่เขามีความภูมิใจ  มีความตั้งใจ และอุตส่าห์ถ่ายทอด ให้คำแนะนำกับเรามา...ค่ะ

                 แต่พอกลับมาถึงบ้าน มันก็อดคิดไม่ได้ว่า   เป็นความจริงหรือ ที่ต้องทำอย่างนั้น...อย่านี้  เลือกใช้ปุ๋ย ยา สารเคมี อย่างที่เขาบอก ถึงจะทำให้ลำไยประสบความสำเร็จ   

                 แต่ในที่สุดก็ต้องหาคำตอบด้วยตัวเอง....ล่ะค่ะ  ก็คงต้องเที่ยวไปหาข้อมูลที่หลากหลายในเรื่องนั้นๆ เสียก่อน  แล้วนำมารวบรวมความรู้ วิเคราะห์ถึงผลดี ผลเสีย  ก่อนที่จะสรุป และตัดสินใจเลือกแนววิธีการดำเนินการ เลือกปุ๋ย  เลือกยา  หรือเลือกใช้สารเคมี  ที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับการทำสวนลำไยของตนเอง....ค่ะ   แล้วค่อยคอยดูแลที่จะเกิดขึ้น....ต่อไป

                 ประสบความสำเร็จดี ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ....ก็นำมาเล่า    

      ไม่สำเร็จ ไม่ได้ผล เกิดความเสียหายมากบ้าง น้อยบ้าง หรือรุนแรงสุดๆ ก็ไม่อาย ที่จะนำมาเล่า....สู่กันฟัง

นี่คือ คำถามที่คุณ หนุ่มสอยดาว ถามไว้

Ico48 หนุ่มสอยดาว

22 วันที่แล้ว

ท่านใดรู้ช่วยอธิบายด้วยครับ 1โปแตสเซียมช่วยให้ลำไยออกดอกใช่มั้ยครับ 2ไทโอฯช่วยสร้างตาดอกใช่มั้ยครับถ้ ใช้ร่วมกับโปแตสเซี่ยม 3เอทีฟอนช่วยปลิดใบอ่อนที่ยอดบริเว ณเดือยไก่ใช่มั้ยครับ

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

 

              อ่านแล้ว มันคาใจ เลยต้องไปศึกษาเพิ่มเติม  จากนั้นก็สรุปเป็นความเห็นส่วนตัว  ไม่ควรนำไปอ้างอิง...นะคะ  เพราะยุ้ยยังเด็กอยู่  คงไม่มีใครเชื่อถือหรอก...ค่ะ  

              ไว้รอเวลาให้เรีัยนจบ....ได้ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต  มหาบัญฑิต  หรือดุษฎีบัณฑิตก่อน (ถ้ามีปัญหาหาเงินเรียนต่อได้) แล้วค่อยนำไปอ้างอิง...ค่ะ

เห็นว่า นานแล้ว   ยังไม่มีใครตอบ  เลยขอตอบล่ะกัน...ค่ะ  

และขอแถมด้วยความเห็นส่วนตัวด้วย

               ทั้งหมดที่คุณหนุ่มสอยดาวถามมา ดูเหมือนว่าจะเป็นสูตรผสม ที่ใช้สำหรับการราดสารลำไยสูตรหนึ่ง ที่กำลังเป็นนิยมใช้กันอย่างมากในการชักนำการออกดอก  อยู่ในขณะนี้

 

1. โปแตสเซียมช่วยให้ลำไยออกดอกใช่มั้ยครับ่ 

ตอบ :  โปแตสเซียมคลอเรตไม่ใช่สารที่สร้างตาดอก  แต่โปแตสเซียมคลอเรต จะช่วยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการบางประการ (คุยกันยาวมาก) แต่ที่แน่ๆ คือ ถ้าใช้ในปริมาณมากมันจะทำลายรากฝอย ทำให้ไม่สามารถดูซึมแร่ธาตุที่ละลายอยู่กับน้ำในดินได้   

             ต่อมาเมื่อต้นลำไยได้พัฒนารากฝอยขึ้นมาใหม่ การราดสารโปแตสเซียมซ้ำอีกครั้งในปริมาณที่ลดลง จะเป็นเพียงการปิดกั้นบริเวณปลายรากฝอย แต่ไม่ถึงขั้นทำลาย เพียงแต่ทำให้การดูดซึมของรากฝอยชุดใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น ให้ทำงานลดลงค่ะ  

              ถือได้ว่า โปแตสเซียมคลอเรต เป็นองค์ประกอบเบื้องต้น ที่จะทำให้กระบวนการต่อเนื่องภายในต้นลำไย จนในที่สุดลำไยก็จะพัฒนาให้เกิดตาดอกได้...ค่ะ

 

2. ไทโอฯช่วยสร้างตาดอกใช่มั้ยครับถ้ ใช้ร่วมกับโปแตสเซี่ยม

ตอบ : ไทโอยูเรีย  เป็นสารอินทรีย์ที่มีกำมะถัน หรือออร์กาโนซัลเฟอร์ชนิดหนึ่ง  โครงสร้างคล้ายกับยูเรีย ยกเว้นออกซิเจนอะตอมหนึ่งของยูเรียถูกแทนที่ด้วยกำมะถัน การออกฤทธิ์ของสารทั้งสองต่างกันมาก โดยไทโอยูเรียจะใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมี    

          ในทางการเกษตร ไทโอยูเรียเป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเมล็ด และเร่งการออกดอก รวมไปถึงการแตกตาอ่อน ตัวอย่างเช่นถ้าเราแช่เมล็ดพืชลงในในไทโอยูเรีย จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการงอกของเมล็ด การฉีดพ่นสารละลายไทโอยูเรียทางใบ  จะช่วยให้ส้มโอสามารถออกดอกได้มากขึ้นและถ้าใช้กับเงาะโรงเรียนจะช่วยกระตุ้นการแตกตาดอกได้  

           เกษตรกรชาวสวนลำไยจึงได้ทดลองนำมาใช้ผสมร่วมกับสารโปแตสเซียม  แต่โดยทั่วไปแล้วหากเกษตรกรชาวสวนลำไยเดิมๆ ที่หลังจากราดสารไปแล้วประมาณ  5 วัน  ก็มักจะใช้  0-52-34 + กำมะถัน  ก็จะได้ผลไม่แตกต่างกันกับการใช้ไทโอยูเีรียผสมไปกับสารโปแตสเซี่ยม...ค่ะ เพราะส่วนที่จำเป็น และสำคัญส่วนหนึ่งคือการใช้ กำมะถัน...ค่ะ   

            แต่การจะใช้ส่วนผสมนี้ ต้องพิจารณาด้วยว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวมีสภาพอากาศ และปริมาณน้ำฝนมากน้อยเพียงใดเป็นส่วนประกอบในการเลือกจำนวนครั้ง หรือปริมาณที่จะใช้ด้วย....ค่ะ

 

3. เอทีฟอนช่วยปลิดใบอ่อนที่ยอดบริเวณเดือยไก่ใช่มั้ยครับ

ตอบ : Ethephon (อีทีฟอน)  เป็นสารที่ช่วยเร่งการออกดอก  ถ้าใช้ในปริมาณมากใบจะไหม้ และหลุดร่วง ไม่ควรใช้ในสภาวะทีอากาศร้อนจัด  ถ้าใช้สารเหล่านี้ในช่วงลำไยติดลูก จะทำให้ผลแตก และร่วงได้...ค่ะ

 

สรุปก็คือ.... ผู้ที่คิดนำสูตรนี้มาผสมใช้  ได้มองเฉพาะจุดเด่นในเรื่องคุณสมบัติในการทำหน้าที่ของสารแต่ละชนิด แล้วนำมารวมกันค่ะ

อนึ่ง :

              ปัจจุบันนี้ในการทำลำไยนอกฤดู มีการนำ Potassium Nitrate  (โพแทสเซียมไนเตรต)  หรือ 13-0-46  หรือที่เราเรียกกันว่า "ดินประสิว" มาใช้ผสมร่วมกับการราดสารโปแตสเซียมคลอเรต หรือมีการผสมลงในซองบรรจุเสร็จสำหรับพ่นทางใบ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ได้ดอกลำไยอย่างชัดเจน และได้ปริมาณผลผลิตสูงมาก จนเริ่มจะเป็นที่นิยมของเกษตรกรชาวสวนลำไยเป็นอย่างมาก  

              แต่จะมีใครคิดบ้างว่าในระยะยาวจะเกิดอะไรขึ้นกับต้นลำไยของเกษตรกรในอนาคต หรือจะเกิดอะไรขึ้นกับผู้บริโภค  หรือตลาดการส่งออกลำไยของไทย  ซึ่งหากต่างประเทศมีการตรวจพบสารดังกล่าวในผลผลิตลำไย ซึ่งมีปริมาณมากเกินกว่ากำหนดที่เป็นมาตรฐาน  อาจทำให้ประเทศไทยของเราต้องสูญเสียตลาดส่งออกลำไยไปให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้....ในระยะยาว

               "ดินประสิว" เป็นดินที่เป็นกรดเกิดจากมูลของค้างคาว  โดยนำเอามูลค้างคาวมาต้มเคี่ยว แล้วทิ้งไว้ให้เย็น จะมีเกล็ดสีขาวเกาะอยู่ เรียกว่า “ดินประสิวขาว”  

                ส่วนดินประสิวตามร้านสมุนไพรทั่ว ๆ ไป จะมีจุดสีเหลือง ๆ สีดำ ๆ  ซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิต และกลั่นกรองที่ไม่มีคุณภาพ   มีบริษัทผู้ผลิตนำมาใช้ผสมเข้าไปโดยใช้ร่วมกับสารโปแตสเซียมคลอเรต และสารอื่นๆ เพื่อใช้สำหรับพ่นทางใบ ทำให้สารโพแทสเซียมไนเตรต มักจะมีอยู่เหลือตกค้างอยู่มากตามใบ หรือกิ่งก้านของลำไย  

                 ต่อมาเมื่อลำไยพัฒนาจนถึงระยะเป็นลูกลำไยจากเล็กๆ ไปจนมีขนาดใหญ่  สารตกค้างเหล่านี้ก็จะมีโอกาสหลุดไปเกาะอยู่ตามผิวลำไย  เมื่อได้รับความชื้นบริเวณผิวจะเกิดการดูดซึมเข้าไปได้ส่วนหนึ่งภายในเนื้อลำไย  เมื่อคนได้บริโภคลำไยที่มีการปนเปื้อนของสารเหล่านี้อยู่สะสมในระดับหนึ่ง ก็จะมีโอกาสจะเป็นมะเร็งได้...ค่ะ

              ดินประสิวเป็นสารก่อมะเร็งด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว  แ่ละสามารถทำปฏิกิริยากับสารเอมีน (amine) ซึ่งมีอยู่ในปลา  หรือมีอยู่ในร่างกายของคนเราอยู่ก่อนแล้ว  น้ำย่อยภายในกระเพาะอาหารของเราก็เป็นตัวเร่งปฏิกริยา ทำให้เกิดแปรสภาพกลายเป็นสารประกอบหลายชนิดที่มีโครงสร้างที่เรียกว่า "ไนโตรซามีน" สารประกอบในกลุ่มนี้บางชนิดไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  แต่บางชนิดเป็นอันตรายร้ายแรงมาก และสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้...นะคะ  

              ผู้ที่ได้รับไนเตรตเข้าไปสู่ร่างกายมากๆ  จะมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ตัวเขียว หายใจไม่ออก เด็กจะมีปฏิกริยาที่ไวต่อสารเหล่านี้ได้มากกว่าผู้ใหญ่...ค่ะ

 

              เคยสังเกต ตัวของเกษตรกรเอง หรือแรงงานที่ทำการราดสารลำไย หรือพ่นสาร เหล่านี้หรือไม่  มีอาการที่บ่งบอกถึงการได้รับสารพิษตัวนี้เข้าไป  ในระหว่างการราดสารฯ หรือพ่นสารฯ สำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของ 13-0-46 หรือ โพแทสเซียมไนเตรตล้วนๆ  หรือบางยี่ห้อได้นำมาผสมเอาไว้เสร็จสรรพเป็นซองๆ  แต่ไม่ยอมบอกส่วนผสม  เมื่อนำไปใช้อย่างผิดวิธีอาจทำให้เกษตรกร หรือแรงงานเกิดอาการแพ้ยา หรือเจ็บป่วยกระทันหันขึ้นมา  เมื่อแพทย์ถามว่าไปทำอะไรมา ก็นำเอาซองไปให้แพทย์ดู  แพทย์ก็ได้แต่้เป็นงง  เพราะซองไม่บอกส่วนผสม  ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยอาการแพ้  เลือกใช้ยาแก้...ไม่ถูก 

               ท้ายสุดแพทย์ต้องตัดสินใจเลือกตัวยาบางชนิด ที่คาดว่าน่าจะจะบรรเทาอาการที่เกิดให้ดีขึ้นได้  ซึ่งกว่าจะหาย เกษตรกรต้องกลายเป็นหนูลองยาได้...ค่ะ

 

สรุปอีกครั้ง : 

               ก่อนที่เกษตรกร หรือผู้ผลิตสารเคมีสำเร็จรูปเพื่อจำหน่าย ถ้าหากจะเลือกใช้สารตัวนี้ผสมลงไป ขอให้ได้โปรดพิจารณาถึงผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้นของเรื่องเหล่านี้....ด้วย  

               ถ้าหากคิดว่าเราไม่ใช่คนกินลำไย  แต่เป็นเพียงพ่อค้า หรือนักวิชาการค้ากำไร  หรือเป็นเพียงเกษตรกรชาวสวนลำไย ที่อยากให้สวนของตนเองมีผลผลิต (อันตราย) เยอะๆ   ก็ใช้กันเข้าไปเลย...ค่ะ... 

               ชื่อเสียงผลไม้ไทย และชื่อเสียงของประเทศไทยเอาไว้ว่ากันทีหลัง  ตอนนี้ฉันขอรวยก่อน....เป็นพอ  ก็คงสุดแล้วแต่บุญกรรมของประเทศไทย...ล่ะค่ะ

               จากที่กล่าวมาทั้งหมด  ถ้าเกษตรเข้าใจในเรื่องสรีรวิทยาของลำไย  และคุณสมบัติ  และระยะเวลาที่เหมาะสมในเรื่องของการใช้ปุ๋ย  ยา หรือสารเคมีแต่ละประเภทในการทำลำไย   และได้ดูแลเอาใจใส่   เลือกชนิด  และเวลาที่จะใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสวนของเกษตรกร   รวมไปถึงการมีจิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้บริโภค  ก็จะช่วยให้เกษตรกรประหยัด และทำให้ลำไยให้มีคุณภาพตามอัตภาพได้อย่างปลอดภัย อย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ชื่อเสียง และสังคมประเทศได้ดีกว่า ...ค่ะ

เมื่อถึงเวลาที่ต้องราดสารฯ ลำไย

ขอให้เกษตรกรชาวสวนลำไย ได้โปรดวินิจฉัย และไตร่ตรองถึงผลดี....ผลเสีย

ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจ.... เลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อเป็นสูตรผสม 

สำหรับการราดสารฯ ลำไย ภายในสวนของท่านเอง 

อย่าง...มีสติ

 

วันนี้ เราช่าง....จริงจัง   และวิชาการ....เสีย.....เหลือเกิ๊น...........!

หมายเลขบันทึก: 538219เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2013 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท