อินเดียนแดงในประเทศแคนาดา


พื้นที่ติดพรมแดนด้านตะวันตกบริเวณนี้เรียกว่าTsuu T’ina Indian Reserve เป็นเขตที่ดินสงวนของอินเดียน ซึ่งก็คือคนอินเดียนแดงหรือ Red Indian นั้นเอง

 

อินเดียนแดงในประเทศแคนาดา

   
      

                                รั้วลวดเขตที่ดินสงวนของอินเดียน (Tsuu T’ina Indian Reserve)

 

                         อ่างเก็บน้ำGlenmore Reservoir (ช่วงระบายน้ำออก) ในสวนสาธารณะNorth Glenmore Park

                   และเขตที่ดินสงวนของอินเดียนที่ติดกับเทือกเขา Rockies

 

    

ที่มา : http://youtu.be/TkV-of_eN2w : hinomiko16

       : Colors of the Wind from Pocahontas

        ศิลปิน : Judy Kuhn

                              ระหว่างทางไปสวนสาธารณะ North Glenmore Park มีรั้วลวดขึงยาวขนานระหว่างถนน Glenmore Trail กับถนน Crowchild Trail หลังรั้วลวดเป็นพื้นที่กว้างสุดขอบฟ้ามองเห็นเทือกเขาร็อกกี้ที่เขียวชอุ่มด้วยป่าไม้และป่าสนได้อย่างชัดเจน พื้นที่ติดพรมแดนด้านตะวันตกบริเวณนี้เรียกว่าTsuu T’ina Indian Reserve เป็นเขตที่ดินสงวนของอินเดียน ซึ่งก็คือคนอินเดียนแดงหรือ Red Indian นั้นเอง แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นคำที่ไม่ให้เกียรติ เพราะคนอินเดียนแดงเหล่านี้คือเจ้าของประเทศดั่งเดิมของแคนาดา ทางการแคนาดาจึงเปลี่ยนมาใช้คำว่าคนพื้นเมืองแคนาดา (Native Canadian) แทน เช่นเดียวกับชาวอินเดียนแดงในสหรัฐอเมริกาที่เปลี่ยนมาเรียกว่า Native American การครอบครองที่ดินสงวนต่างๆคนพื้นเมืองแคนาดา(Native Canadian) เป็นเพียงส่วนหนึ่งในห้าของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศแคนาดาเท่านั้น อย่างไรก็ตามบริเวณพื้นที่สงวนแห่งนี้มีแม่น้ำ Elbow ไหลผ่าน และมีจุดบรรจบกับแม่น้ำ Bow ใกล้ๆกันมีถิ่นอาศัยของชุมชน Lakeview และสวนสาธารณะ Lincoin Park ที่ติดกับสวนสาธารณะ North Glenmore Park และอ่างเก็บน้ำGlenmore Reservoir จึงนับเป็นผลประโยชน์อย่างมหาศาลที่ชาวพื้นเมืองได้ครอบครองดินแดนอันมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ และความเจริญจากทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนั้นชาวพื้นเมืองแคนาดา (Native Canadian) ที่นี่ยังมีรายได้จำนวนมากจากบ่อนคาสิโน Grey Eagle Casino ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายการโอบอุ้มและให้ความช่วยเหลือคนพื้นเมืองอีกด้วย ; Ebbutt, Joanna., Algar, Michael., Cuningham, Keyes, Patrick., WINDOWS ON THE WORLD: Secound printing, United State.,1995. // Gadd, Ben.,Handbook of the Canadian Rockies : Second edition, Friesens,Altona,Manitoba,Canada., 2009.// Hempstead, Andrew., ALBERTA: sixth printing, Worzalla.United States, April 2007.

หมายเลขบันทึก: 538055เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2013 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2014 01:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

คิดถึงอินเดียนแดง คิดถึงเพลงนี้ครับอาจารย์


นับว่าชาวอินเดียนแดงยังโชคดีที่มีเขตพื้นที่สงวนที่ทางรัฐบาลได้กำหนดไว้ให้  ขอบคุณมาก ๆ จ้ะ

Thank you.

I learned that at one time "reserve" was like a confinement area where natives could not leave without permits. In America, the reserves were chosen from arid and infertile areas, later they found oil on reserves, so new reserves were allocated. Later again reserves were given land deeds/titles so the reserves could be divided into lot and bought/sold to "all Americans".

What is the situation for reserves in Canada?

By the way, in Australia, indigenous people are now called "First Australians".

สวัสดีค่ะอาจารย์อ.นุ เป็นเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต เลือดเนื้อ ธรรมชาติและจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ของชนพื้นเมืองอินเดียนแดงได้อย่างซาบซึ้งมากๆ...ฟังแล้วน้ำตาซึมค่ะ...

สวัสดีค่ะคุณมะเดื่อ...เป็นการสะท้อนให้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างในความเป็นมนุษย์นะคะ...


 

สวัสดีค่ะคุณ SR...ประเทศทั่วโลกมีชนพื้นเมือง และชนเผ่า ซึ่งมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ประเทศไทยเราก็มีเรียกว่า Indigenous People เป็นชนเผ่าต่างๆ เช่น กระเหรี่ยง ม้ง เย้า มูเซอ ฯลฯ ในแคนาดาก็มีชนพื้นเมืองอย่างอินเดียน อินูอิต และเมทิส พูดถึงชาวอินเดียนที่ถูกกำหนดให้อยู่ในพื้นที่เขตสงวน เป็นกลุ่มคนที่มีพลังทางจิตวิญญาณสูง นอกจากจะมีพิธีกรรมต่างๆ และงานเทศกาลตามประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาหลายพันปีแล้ว อินเดียนก็ยังมีรูปแบบพิเศษในการปกครองตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม ความลำบากยากจนของอินเดียนในเขตสงวน เป็นเรื่องหนึ่งที่กล่าวถึงในเวทีโลก สถานการณ์ของเขตที่ดินสงวนอินเดียนแตกต่างจากอเมริกา ตรงที่คนอเมริกันต้องการที่ดินของอินเดียนเพราะมีน้ำมัน แต่ที่แคนาดาอินเดียนหลายกลุ่มออกมาเรียกร้องสิทธิการอยู่อาศัยบนที่ดินที่มีราคาแพงให้เท่าเทียมกับคนแคนาดาทั่วไป นอกเหนือจากที่ดินในเขตสงวน ที่เป็นป่า เขา ลำเนาไพร...

ขอบคุณสมาชิกทุกท่านที่แวะมาอ่านเรื่องราวอินเดียนแดงในประเทศแคนาดา และได้มอบดอกไม้ไว้ให้นะคะ...

ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ ที่แบ่งปันค่ะ ท่าน ดร.พจนา แย้มนัยนา


สวัสดีค่ะคุณนิภารัตน์ ด้วยความยินดี...แลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท