ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๒๒. ทำสงครามกับกระบวนทัศน์ทางสังคม


.................................. ที่ร้ายที่สุดน่าจะได้แก่กระบวนทัศน์ทางการศึกษา หรือการเรียนรู้ ที่แทนที่จะมองว่า การศึกษาคือการฝึกฝนตนเองให้สามารถมีชีวิตที่ดี ตามคำสอนของพระพรหมคุณาภรณ์ เรื่อง ฝึกคนเริ่มต้นที่ไหน กลับมองว่าการศึกษาในมุมที่แคบ คือ เพื่อให้ได้ใบรับรองคุณวุฒิ เน้นศึกษาเพื่อสนองความต้องการ ตามความเร่งเร้าของกิเลส ไม่รู้


          กระบวนทัศน์ทางสังคมในประเทศไทย (และในทุกสังคม) มีส่วนที่ผิด ล้าหลังหรือตกยุคมากมาย  ที่ร้ายที่สุดน่าจะได้แก่กระบวนทัศน์ทางการศึกษา หรือการเรียนรู้  ที่แทนที่จะมองว่า การศึกษาคือการฝึกฝนตนเองให้สามารถมีชีวิตที่ดี ตามคำสอนของพระพรหมคุณาภรณ์ เรื่อง  ฝึกคนเริ่มต้นที่ไหน  กลับมองว่าการศึกษาในมุมที่แคบ คือ เพื่อให้ได้ใบรับรองคุณวุฒิ  เน้นศึกษาเพื่อสนองความต้องการ ตามความเร่งเร้าของกิเลส  ไม่รู้เท่าทันกิเลส

          คนไทยส่วนใหญ่จึงมุ่งให้ลูก “เรียนวิชา” เป็นสำคัญ  หรือเป็นหลักใหญ่  ไม่มองว่าการศึกษา ที่มีคุณค่าที่แท้จริง ไม่ใช่วิชาความรู้  แต่อยู่ที่การฝึกฝนให้มีทักษะสำคัญในการดำรงชีวิต  โดยที่ตัวสาระวิชา เป็นเพียงส่วนเดียว  

          การวัดผลของการศึกษาไทยในปัจจุบัน วัดด้านเดียวคือ ด้านวิชา  ในขณะที่ท่านเจ้าคุณฯ บอกว่าการวัดพัฒนาการของคนจากคติทางพุทธมี ๔ ด้าน คือ ภาวนา ๔ ได้แก่ กายภาวนา  ศีลภาวนา  สมาธิปัญญา  และ ปัญญาภาวนา  และคติทางการศึกษาที่แท้จริงวัดที่พัฒนาการ ๕ ด้าน คือ ด้านกาย  ด้านอารมณ์  ด้านสังคม  ด้านจิตวิญญาณ  และด้านปัญญา

          เราจะเห็นว่า การศึกษาไทยในปัจจุบันกำลังพาเด็กไทย (และสังคมไทย) ดิ่งลงเหว  คือไปสู่ชีวิตที่ไม่ดี ไม่มีความสุข ไม่มีความมั่นคงในชีวิต   เราเห็นวัยรุ่นไทยจำนวนมากเสียคน เสียอนาคต ไปต่อหน้าต่อตา  ยกเว้นกลุ่มคนที่มีฐานะดี (ผมเป็นคนหนึ่งในนั้น)  เราควรช่วยป้องกันวัยรุ่นลูกหลานของเราจากพิษภัยทางสังคม  และช่วยให้สังคมไทยดีกว่านี้ได้ หากระบบการศึกษาเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง  

          การศึกษาที่มุ่งแต่สอนวิชา  เป็นการศึกษาที่ล้าหลัง สำหรับศตวรรษที่ ๒๑  ที่โลกกำลังอบอวล ไปด้วยลัทธิทุนนิยมบริโภคนิยม กำไรเป็นใหญ่เหนือความสุขของผู้คน  คนที่จะมีความสุขในโลกเช่นนี้ได้ ต้องได้รับการศึกษาแบบฝึกฝนให้ทนสิ่งเร้า ด้วยความสุขระยะสั้น ตามมาด้วยความทุกข์ระยะยาว  หรือความทุกข์เพราะวางท่าที วางระบบชีวิตผิด  เนื่องจากไม่รู้เท่าทัน  


วิจารณ์ พานิช

๓ เม.ย. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 538050เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2013 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2013 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

"การศึกษาของเรา..เป็นหมาหางด้วน"
เอาคำที่ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุฝากไว้ และยังใช้ได้กับการศึกษาในปัจจุบัน มาฝาก
เพื่อเป็นกำลังใจให้อาจารย์หมอครับผม ขอบพระคุณครับอาจารย์


We can agree on "Thailand education systems are bad."

What we cannot agree on is "how to fix this" (and when, where first, where money comes from,..., down to the question of chicken-and-egg: teachers first or children first)?

Any idea? Anyone?


กำลังศึกษาเกี่ยวกับ health literacy ในวัยรุ่นตอนต้นอยู่ค่ะ 



ถ้าดูในสมุดประจำตัวนักเรียนที่เห็นก็มีครอบคลุมนะคะ ทั้งส่วนของวิชาการและทักษะการใช้ชีวิต แต่ปรากฎว่าเป็นส่วนที่ทั้งครู ผู้ปกครองให้ความสำคัญน้อยมาก สำหรับตัวเองจะชี้ให้ลูกเห็นว่า เราเห็นว่าตรงนั้นจำเป็นและสำคัญ ถ้าเราพยายามใช้ระบบและสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์จริงๆก็น่าจะช่วยทุเลาปัญหาทางการศึกษาได้บ้าง ตอนนี้เรามุ่งแต่จะไปแก้ระบบกันเสียหมด ของที่มีอยู่ที่เป็นส่วนดีๆแต่เราไม่ยอมเอามาใช้จริงๆก็เยอะนะคะ เด็กๆเองเขาคิดได้ดีกว่าคุณครูที่ติดกรอบหลายๆท่านเสียอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท