หมออนามัย


                                                          หมออนามัย

                                    นายอานนท์ ภาคมาลี  (หมอแดง)

 

    

                                     

                                                                                  

นักเรียนผดุงครรภ์และอนามัยออกเยี่ยมบ้านรูปถ่ายที่หน้าบ้านหมอหลาด ซึ่งอยู่บ้านเลขที่ 146 - 147ต.ใหญ่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ โดยบ้านหลังนี้ติดกับถนนสายดอยสะเก็ด สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบันตลาดคือถนนสายวัฒนธรรมดอยสะเก็ด สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

ซึ่งในอดีตถนนเส้นนี้เป็นถนนลูกรัง แดนกันดาร อย่างที่ท่านเห็น

                                     


                                                     ภาพสถานีอนามัยแม่ก๊ะ

                                    

                                            เจ้าหน้าที่อนามัย อำเภอดอยสะเก็ด พ.ศ. 2501

  

แนะนำส้วม ที่หมู่บ้านป่างิ้ว ใน พ.ศ. 2510 ซึ่งในอดีตนั้น คนในชุมชนมักจะถ่ายอุจจาระ โดยไม่มีส้วม จะทำให้สกปรก และขาดสุขอนามัย จึงต้องมีการแนะนำให้ใช้ส้วม

                             

                                          ราคาฝาส้วมในอดีต ซึ่งสมัยนั้นเงินบาทยังเป็นธนบัตร

ความเป็นมา

พ.ศ. 2439  สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี  (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ)  ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชปรารภว่า ประเทศไทยยังไม่มีแพทย์ผดุงครรภ์ที่มีความรู้อันแท้จริงเลย การคลอดบุตรมีอันตรายมาก จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ตั้งการฝึกหัดวิชาผดุงครรภ์ขึ้นเพื่ออนุเคราะห์แก่ประชาชน

ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการก่อสร้างโรงพยาลบาล มีการจัดตั้ง โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงการพยาบาลไข้ ขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช สังกัดกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ  เปิดสอนเมื่อ12 มกราคม พ.ศ. 2439 โดยมีท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ภรรยาเสนาบดี กระทรวงธรรมการ เป็นผู้อำนวยการ นายแพทย์เอช อดัมสัน เป็นครูสอน รับหญิงที่เรียนจบประถมปีที่ 3 หลักสูตร 3 ปี (ภาคทฤษฎี 2 ปี ภาคปฏิบัติ 1 ปี) มีนักเรียนรุ่นแรก 14 คน  ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2449 มีการฝึกหัดพยาบาลชายหลักสูตร 1 ปี  ผลิตเพียง 1 รุ่น จึงล้มเลิกไป   ต่อมาในปี พ.ศ. 2457  มีการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมพยาบาลชาย  โดยมีระยะเวลาในการเรียน 2 ปี หลักสูตรนี้เลิกไปในปี พ.ศ. 2467 เนื่องจากไม่เป็นที่นิยม

พ.ศ. 2460 สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี  พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า  ในรัชกาลที่ 8  และ 9)  ได้พระราชทานทุนแก่  นางสาวสังวาลย์ ตาละภัฏ และนางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาไปศึกษาต่อวิชาพยาบาล ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ในขณะนั้นแผนกโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลฯ เปลี่ยนชื่อเมื่อ  พ.ศ. 2453) ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้เข้าสังกัด

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนจากโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ฯ  ไปเรียนวิชาการพยาบาลที่สภากาชาดไทย  6 เดือนและโรงเรียนสภากาชาดไทยส่งนักเรียนมาเรียนวิชาการผดุงครรภ์ที่โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ฯ 1 ปี จนกระทั่งพ.ศ. 2465  จึงยกเลิกไป  เนื่องจากต่างเปิดสอนวิชาการพยาบาลและผดุงครรภ์ขึ้นเอง

พ.ศ. 2465 ได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ รับนักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระยะเวลาเรียน 3  ปี 6 เดือน โดยเรียนวิชาพยาบาลทั่วไป 3  ปี  และผดุงครรภ์ 6 เดือน

พ.ศ. 2468-2478  รูปแบบการพยาบาลสมัยใหม่ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง โดยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ภายใต้ความช่วยเหลือของมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์  มีนางมิลเดรด ปอร์เตอร์  เป็นเจ้าแผนกวิชาการพยาบาล นางสาวเวอร์ตา ฮิกกอมาล์ เป็นผู้สอนวิชาผดุงครรภ์  นางสาวฟรานซิส มิสยาร์ด   เป็นผู้สอนวิชาพยาบาล และพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จัดส่งพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2469   มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนนางพยาบาลและผดุงครรภ์  ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475  แล้วไม่นิยมใช้คำว่า นาง นำหน้าชื่อเพื่อหมายถึงสตรีเพศโดยทั่วไป  ชื่อโรงเรียนจึงพัฒนาเป็น โรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์

พ.ศ.  2470  มีการพระราชทานเข็ม  สผ.  จากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถแก่ผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงว่าจบการศึกษาจากสถาบันใดและเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณแห่งองค์อุปถัมภ์

เมื่อสิ้นสุดสัญญาความร่วมมือของมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา)  ทรงรับเป็นภาระในการให้เงินเดือน แก่หัวหน้าแผนกวิชาพยาบาลต่อไปอีก 1 ปี เพื่อพัฒนาการศึกษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง  ต่อมาปี พ.ศ.2478  คุณหญิงพิณพากย์พิทยาเภท (จำนง เมืองแมน)  เป็นพยาบาลไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาการพยาบาลต่อจากนางสาวมิลเดรด ปอร์เตอร์

พ.ศ. 2475  พยาบาลได้เข้าร่วมปฏิบัติการภารกิจช่วยเหลือกองทัพยามสงครามของประเทศมาโดยตลอด  การปฏิบัติการพยาบาลได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่ง เมื่อบ้านเมืองสงบสุข  ได้มีการพัฒนาการศึกษาพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง มีการส่งพยาบาลไปศึกษาต่างประเทศทั้งในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

พ.ศ. 2485 คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แยกออกมาเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้นโดยตรงต่อกระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์จึงย้ายมาสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น  โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย   ในปี พ.ศ. 2495  และในปี พ.ศ.2499 การศึกษาพยาบาลมีการพัฒนาให้มีมาตรฐานสากล โดยเปิดสอนระดับปริญญาตรีเป็นครั้งแรก การศึกษาพยาบาลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ในขณะที่แผนกพยาบาลก็เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนฯ

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2515 ผลจากการขยายการศึกษาพยาบาลทำให้จำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น จึงมีการเสนอขอยกระดับการศึกษาพยาบาล และแยกการศึกษาออกจากการบริการ  โดยอาจารย์สงวนสุข  ฉันทวงศ์  นางสาวสอางโสม  อาศนสถิตย์ และนางสาวปราณี ผลพันธิน  ดังนั้นในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2515  โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย  ยกระดับขึ้นเป็นคณะพยาบาลศาสตร์  แผนกพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช  จึงเริ่มก่อตั้งในวาระนี้เช่นเดียวกัน  มีการแต่งตั้งให้นางสาวอุทิศ ศุขะทัต ครูพยาบาลเอกและผู้ตรวจการแผนกรังสีวิทยา เป็นหัวหน้าแผนกการพยาบาลคนแรกในวันที่1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รับผิดชอบงานบริการพยาบาล ซึ่งในขณะนั้นมีบุคลากรภายใต้การดูแล 2,630 คน โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การให้บริการพยาบาลที่ประทับใจผู้รับบริการ

ข้าพเจ้านายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ (หมออนามัย)ต้องขออนุญาตเจ้าของภาพ ที่นำภาพมาประกอบในการเขียน ในชีวิตของผดุงครรภ์อนามัย และชีวิตหมออนามัยในอดีต เมื่อประมาณ 50 ปีขึ้นไปเพื่อให้ลูกหลานได้รู้จักหมออนามัย ในปัจจุบัน และการมีใบประกอบวิชาชีพหมออนามัย ในการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยผ่านมติคณะรัฐมนตรีในโอกาสนี้


หมายเลขบันทึก: 537806เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2013 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2013 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นภาพที่หาชมยากนะครับ

เป็นผดุงครรภ์อนามัย100%ค่ะ

ขอบคุณเรื่องเล่าในบันทึกนี้

ปัจจุบันเป็นหมออนามัยค่ะ

เป็นบุญตาที่ได้เห็นภาพหายากเช่นนี้ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

เป็นภ่พที่ต้องเก็บไว้ให้ลูกหลานดูเลยล่ะครับ โดยเฉพาะส้วม แบบนี้ในอนาคตคงจะหายไป

เป็นเรื่องราวที่มีคุณค่าสำหรับคนรุ่นหลัง ๆ มากมายจ้ะ  ขอบคุณจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท