Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

บทคัดย่อ :ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความรู้และทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แพรภัทร ยอดแก้ว. (2556). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความรู้และทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม”. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ SMARTS ครั้งที่ 3 , (หน้า 97-99) . วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 

1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


  กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ  นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมระดับปริญญาตรี จำนวน 345 คน 
การเก็บข้อมูลทำโดยใช้แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและแบบสอบถามทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน วิเคราะห์ผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้  ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า
t - test ค่า  F - test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 

  ผลการวิจัยพบว่า

 

  1) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับสูง มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน อยู่ในระดับมาก และมีทัศนคติต่ออาเซียน อยู่ในระดับดี

 

  2) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่มีโปรแกรมวิชาต่างกัน มีทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และ .05  ทั้งโดยรวมและรายด้าน


  3) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน  มีทัศนคติต่ออาเซียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

  4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติต่ออาเซียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

คำสำคัญ : ประชาคมอาเซียน, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ทัศนคติ, ความรู้, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.


Abstract



The purposes of this research were to study the Relationship between Transformational Leadership, Knowledge and Attitude toward ASEAN Community of  Students  of  Nakhon Pathom Rajabhat University.

 

The sample group are 345  students of Nakhon Pathom Rajabhat University.


Data were collected by using 3 sets of questionnaires: demographic data, Transformational Leadership, Knowledge and Attitude toward ASEAN Community of students.


Data were analyzed by percentage, frequency, mean, standard deviation, t-test, F-test and Pearson
coefficient. Level of statistical significance used in the analysis is 0.5.


Major findings were as follows :

 

1. Nakhon Pathom Rajabhat University studentswas Transformational Leadership were at high level and  students have good levels of  attitude toward ASEAN community and knowledge.

 

2. There is statistically significant difference of attitude toward ASEAN community of students different when consider different major to mouth at the 0.01 and 0.05 level.  


3. Nakhon Pathom Rajabhat University studentswas transformational leadership different attitude toward  ASEAN community of students different with the statistic significantly at the 0.05 level.  

 

4.The perceived  transformational leadership of students was positively related to attitude toward ASEAN community of students with the statistic significantly at the 0.01 level.  

 

Keywords : ASEAN Community, Transformational Leadership, Attitude, Knowledge, Nakhon Pathom Rajabhat University.


 

หมายเลขบันทึก: 537662เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท