ยุทธวิธี “แฟลชม็อบ” เชิญชวนแบบสร้างสรรค์ ตามสไตล์เยาวชนสำนัก 6


เรื่องที่จะนำมาเล่าในวันนี้ต้องบอกว่าเป็นความประทับใจที่แปลกเอามากๆ เพราะเราไม่เคยเห็นเรื่องราวเหล่านี้มาก่อน โดยสิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นบรรยากาศระหว่างชมนิทรรศการภายในงาน “สานงานเสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่” ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดขึ้นในโอกาสครบรอบ12ปี ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ


28 พ.ค. 56 เวลา 12.40 น.

ระหว่างที่ทุกคนกำลังวางแผนจะเข้าฟังกิจกรรมในห้องย่อย ทันใดนั้นเราได้ยินเสียงนกหวีดดังขึ้น ทุกอย่างเลยต้องหยุดชะงัก ให้ทุกคนที่อยู่บริเวณนั้นจ้องมองไปที่ยังที่มาของเสียง หลังจากนั้นไม่นานก็มีกลุ่มวัยรุ่นประมาณ 8 คน ทำท่าทางต่างๆ โดยเปลี่ยนท่าไปเรื่อยๆ ตามจังหวะของเสียงนกหวีด จนคนรอบข้างเริ่มหันพูดคุยกันด้วยความสงสัยว่าเยาวชนกลุ่มดังกล่าวกำลังจะทำอะไรกันหนอ จากนั้นพวกเขามีกลวิธีสร้างความน่าสนใจ ด้วยการจับกลุ่มเป็นวงกลม และปากระดาษที่ถูกขยำจนเป็นก้อนกลมๆ ไปที่คนที่อยู่กลางวง เมื่อถูกปากระดาษใส่ตัว คนที่อยู่ตรงกลางก็พูดขึ้นว่า “โอ๊ย สุข แต่ยังไม่พอ”พออีกคนปาใส่ก็มีคำมากมายที่เกี่ยวกับความสุขพูดออกมา จนกระทั่งถึงคนสุดท้าย คนที่อยู่กึ่งกลาง (ดูเจ็บตัวที่สุด) ก็พูดว่า “สุขพอแล้ว” จากนั้นก็กรูกันเข้าไปเพื่อแย่งกระดาษไปคลี่ออก และค่อยๆ วิ่งกระจายไปหน้าผู้ชมที่ต่างพากันมุงดูอยู่ และอ่านข้อความในกระดาษที่เตรียมไว้


12.45 น.

ทุกคนบนชั้นจัดกิจกรรมความมึนงงกับสิ่งตรงหน้า และพลางนึกสงสัยว่าพวกนี้มาทำอะไรกันแน่ ทว่าพวกเขาก้ยังไม่พอต่างเรียกร้องความสนใจในวิธีต่างๆ จนเราเริ่มถึงบ้างอ้อว่า หรือนี้จะเป็นกิจกรรม “แฟลชม็อบ” (flash mob) ซึ่งเป็นวิธีการดึงดูดความสนใจในสถานที่สาธารณะ อย่างฉับพลัน โดยวิธีนี้เหมาะมากที่จะนำมาเชิญชวนผู้ชมเข้าร่วมห้องเสวนา และสุดท้ายการสันนิษฐานของเราคงถูก เพราะป้ายที่พวกเขาติดเสื้อ แสดงสัญลักษณ์บ่งบอกถึงทิศทางไปห้อง 217 ซึ่งเป็นห้องที่จัดเสวนาในหัวข้อ “นวัตกรรมสร้างสุขด้วยปัญญา” ที่สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก6) เป็นเจ้าภาพ แหม..ถึงว่า ถ้อนคำที่พวกเขาใช้ดึงดูด จึงเป็นเรื่องของความสุขทางปัญญา กระทั่งทัศนคติ ค่านิยมต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำนักสร้างสรรค์ผลักดันมาตลอด


12.55 น. 

เหมือนว่า “แฟลชม็อบ” จะได้ผล เพราะเมื่อเทียบกับห้องเสวนาอื่นที่ประชาสัมพันธ์ด้วยป้ายบอกทางอย่างเดียว ห้องของสำนัก6 ดูได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษกระทั่งเมื่อมาถึงห้องก็ได้ยินเสียงเพลงฟังง่ายๆ สบายๆ อีกด้วย สอบถามจึงพบว่าเป็น เยาวชนจาก “กลุ่มผ้าขาวม้า” หนึ่งในกลุ่มเยาวชนที่ร่วมงานกับสำนัก6 และไม่น่าเชื่อว่าดนตรีแบบง่ายๆและแฟลชม็อบจากฝีมือเยาวชนจากโครงการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง จะทำให้ห้องขนาดกำลังสบายแน่นจนไม่มีที่นั่ง ว่าแล้วขอตัวไปเก็บเกี่ยวความรู้บนเวทีก่อนนะ แล้วจะนำเรื่องราวดีดีมาแบ่งปันกัน เมื่อมีโอกาสอีก


หลังเลิกงานเรามีโอกาสได้คุยกับเยาวชนที่ร่วมออกไอเดียและเป็นหน่วยกล้าตาย (จริงๆน่าจะเป็น “อาย”มากกว่า) ซึ่งเขาก็ได้เล่าให้ฟังว่า ตอนที่เตรียมงานก็เริ่มจากการหาไอเดียก่อน ดูว่าตอนนี้มีกระแสอะไรที่คนกำลังสนใจ เช่น หนัง เพลง หรือคำโดนๆ มีนกหวีดเพื่อเรียกจุดสนใจ ใช้เสียง ใช้คำพูดพร้อมๆ เพราะคนส่วนใหญ่จะสนใจเมื่อมีคนทำอะไรพร้อมๆ กันในขณะนั้น สำหรับแฟลชม๊อบ เหมาะกับคนทั่วไปที่ต้องการสะท้อนให้คนเห็นถึงสิ่งที่จะสื่อ เพราะเริ่มต้นได้ง่าย ไม่ซับซ้อนเหมือนละคร แต่การเลือกใช้คำศัพท์ที่กำลังฮิตอยู่ในขณะนั้นต้องอย่าให้คนเข้าใจผิดว่าเราต้องการจะสื่ออะไร


“แฟลชม๊อบ” นั้นสามารถสร้างความจดจำให้คนได้ดี เพราะเป็นการเข้าถึงคนดูแบบฉับพลัน ช่วยสร้างความใกล้ชิดกับผู้ชมได้ เพียงแค่กล้าเปิดกล้าคิดกล้าแสดงออก เพียงกลุ่มเล็กๆ ก็สามารถสื่อสิ่งที่เราต้องการสะท้อนไปยังคนทั่วไปได้


 ปล. วันนี้เลยนำการทำแฟลชม็อบที่งานมาให้ชมกันด้วย พร้อมกับแฟลชม็อบน่ารักๆ จากต่างประเทศมาให้ชมเป็นแนวทางในการสร้างแรงบันดาลใจกันต่อไปด้วยนะคะ



Flash mob ของน้องๆ จากสำนัก 6 (ทีมชุดละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง)  http://youtu.be/9CoPL6n0SsQ

clip Flash mob ต่างประเทศ  http://www.youtube.com/watch?v=Ao4DkbGbxl0

Clip Flash mob ต่างประเทศ http://www.youtube.com/watch?v=1HpgPtFqwLA


หมายเลขบันทึก: 537660เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ฮา ฮา ตกกะใจหมดเลยค่ะ งงไปเลย แต่สนุกดีค่ะ ส่วน Chicken dance ก็ไม่เลวนะคะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท