ชีวิตที่พอเพียง : 1918. ยังมีตะวันที่มาบตาพุด



          หนังสือ “ยังมีตะวันที่มาบตาพุด: ถอดบทเรียนขบวนการภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนสังคมและนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาผลกระทบจากนโยบายสาธารณะอย่างยั่งยืน”  บอกเราอย่างชัดเจนว่า  ขบวนการพัฒนาประเทศของเราต้องรอบคอบมากกว่าที่ผ่านมา 

          อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วผมนึกถึงบันทึกของอัยการชาวเกาะ บันทึกนี้  และ ชุดนี้ ทั้งหมด   ที่แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมแบบไม่รอบคอบ ก่อผลเสียหายต่อสภาพแวดล้อมและชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นอย่างมากมาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลต่อสุขภาพของคนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ 

          นำมาซึ่งการเขียนรัฐธรรมนูญ ที่ให้สิทธิแก่ชุมชน  ตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ซึ่งอ่านได้ ที่นี่  แต่ถึงแม้รัฐธรรมนูญจะเขียนไว้  การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ก็เป็นเรื่องซับซ้อนยิ่ง  ชุมชนจะได้สิทธินี้ ก็ต้องต่อสู้   และต้องมีนักวิชาการทำงานวิชาการหาข้อมูลหลักฐานสนับสนุน  เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม

          นั่นคือที่มาของหนังสือเล่มนี้  และเรื่องราวการต่อสู้ ซึ่งติดตามได้ ที่นี่


วิจารณ์ พานิช

๒๙ มี.ค. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 537480เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การพัฒนาเศรษฐกิจ หรืออุตสาหกรรมจะเริ่มต้นและยั่งยืนแค่ไหน-อย่างไร.. อันดับแรกต้องพัฒนาจิตใจคนซะก่อน (จิตสำนึก) แล้วปัญหาอาจไม่เกิด.. แต่คงเป็นไปได้ยากนะคะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท