กินอยู่อย่างไร___สบายต่อม(ลูกหมาก)



.
อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์บทความเรื่อง 'High blood sugar linked to enlarged prostate' =
"(ระดับ)น้ำตาลในเลือดสูง (มีความสัมพันธ์กับ) เพิ่มเสี่ยงต่อมลูกหมากโต", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่ ทำโดยการวิเคราะห์การวิจัยที่ผ่านมา 18 รายงาน
.
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มอาการเมทาโบลิค (metabolic syndrome) หรือกลุ่มอาการอ้วนลงพุง เพิ่มเสี่ยงต่อมลุกหมากโต (benign prostate hypertrophy / BPH)
.
.
ภาพที่ 1: ต่อมลูกหมากอยู่รอบๆ ท่อปัสสาวะ, ใต้ต่อกระเพาะปัสสาวะ
.
ภาพนี้เป็นต่อมลูกหมากปกติ (normal prostate)
.
.
ภาพที่ 1: ต่อมลูกหมากปกติ (normal prostate ทางซ้าย) อยู่รอบๆ ท่อปัสสาวะส่วนต้น
.
ต่อมลูกหมากโต (enlarged prostate ทางขวา) กดเบียดท่อปัสสาวะส่วนต้น ทำให้ตีบแคบลง, ปัสสาวะ (ฉี่) ยากขึ้น, ทำให้ลำปัสสาวะไม่พุ่งไปไกล ตกลงใกล้ๆ และอาจออกเป็นหยดๆ ช่วงท้ายๆ, ต้องเบ่งมากขึ้น
.
ภาวะท่อปัสสาวะตีบตัน ทำให้มีปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น อาจต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางคืนหลายครั้ง (อาการนี้พบในเบาหวานได้เช่นกัน)
.
.
ภาพที่ 3: ระบบทางเดินปัสสาวะ เริ่มจากไต 2 ข้าง (kidneys) > ท่อไต (ureter) > กระเพาะปัสสาวะ (bladder) > ท่อปัสสาวะ (urethra)
.
ต่อมลูกหมาก (prostate: แต้มสีดำ) อยู่รอบๆ ท่อปัสสาวะ ทางใต้ต่อกระเพาะปัสสาวะ
.
คนที่มีไตข้างเดียวมีประมาณ 1 ในพัน หรือ 1,000 คนมีคนไตเดียว 1 คน, ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
.
.
กลุ่มอาการเมทาโบลิค หรืออ้วนลงพุง, วินิจฉัยจากการเข้าเกณฑ์ 3 ใน 5 ข้อขึ้นไปได้แก่ [ doctor.or.th ]
.
(1). เส้นรอบเอว > มากกว่า 90 เซนติเมตร (ผู้ชาย), 80 เซนติเมตร (ผู้หญิง)
.
ภาวะนี้ คือ อ้วนลงพุง
.
(2). ไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides / TG) ในเลือด > มากกว่า 150 มก./ดล.
.
โคเลสเตอรอลในร่างกายมี 3 ฝ่ายสำคัญได้แก่
  • ฝ่ายดี (HDL) > ช่วยทำความสะอาดหลอดเลือด
  • ฝ่ายร้าย (LDL) > ขนขยะ (คราบไข / โคเลสเตอรอล) ไปทิ้ง สะสมที่ผนังหลอดเลือด
  • ผู้ช่วยฝ่ายร้าย (triglycerides / TG) > ทำให้ฝ่ายดี (HDL) มีขนาดเล็กลง อายุสั้นลง, ทำให้ฝ่ายร้ายมีขนาดเล็กลง รั่วจากกระแสเลือดไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น
ไตรกลีเซอไรด์ที่สูงเป็นพักๆ เช่น หลังกินอาหารไขมันสูง อาหารทอด อาหารแป้งสูงมื้อใหญ่ งานเลี้ยง-สังสันทน์ ฯลฯ จะไปจับที่ตับ เกิดเป็นโรคไขมันเกาะตับ
.
โรคไขมันเกาะตับเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน 50%
.
.
(3). โคเลสเตรอลชนิดดี (HDL) > ต่ำกว่า 40 มก./ดล. (ผู้ชาย), 50 มก./ดล.(ผู้หญิง)
.
(4). ความดันเลือดสูงกว่า 135/85 หรือกินยาลดความดันเลือดอยู่
.
ความดันเลือดสูงทำให้หลอดเลือดเสื่อมเร็ว เปรียบคล้ายท่อแรงดันสูงที่มีโอกาสร้าว ปริ แตกได้ง่ายกว่าท่อแรงดันต่ำ
.
ความดันเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
.
คนไทยมีโรคไตเสื่อมเรื้อรังประมาณ 17.7% ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
.
ไตคนเราเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้น... ยิ่งอายุมากยิ่งเสื่อม
.
ไตจะเสื่อมเร็วขึ้นมาก... ถ้ามีความดันเลือดสูง เบาหวาน โคเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูง นิ่วไต-ท่อไต หรือมีการอักเสบเรื้อรัง เช่น สูบบุหรี่ ไตติดเชื้อแล้วรักษาไม่ครบ (เช่น กินยาไม่ครบกำหนด ฯลฯ)
.
.
(5). ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS) 110 มก./ดล.ขึ้นไป
.
ภาวะนี้เรียกว่า โรคก่อนเบาหวาน, ใกล้หรือเกือบเป็นเบาหวาน, หรือ "ว่าที่เบาหวาน"... คนที่มีภาวะนี้จะกลายเป็นเบาหวานเต็มตัวประมาณ 40%
.
.
ผู้ชายที่มีองค์ประกอบของกลุ่มอาการเมทาโบลิค 3 ข้อขึ้นไป เพิ่มเสี่ยงต่อมลูกหมากโต (BPH) = 80%
.
กลุ่มอาการเมทาโบลิค หรืออ้วนลงพุง เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ มะเร็งหลายชนิด และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (ตายเร็ว)
.
ต่อมลูกหมากโต (BPH) เป็นโรค "50-80" คือ
  • อายุเกิน 50% > เป็นโรค 50%
  • อายุเกิน 80% > เป็นโรค 80%

.
ต่อมลูกหมาก เป็นต่อมที่ล้อมรอบท่อปัสสาวะ, เมื่อต่อมโตขึ้น... ส่วนหนึ่ง (ไม่ 100%) จะไปกดเบียด หรือบีบท่อปัสสาวะ ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะ (ฉี่) ยากขึ้น
.
อาการลูกหมากโตเกิดจากท่อปัสสาวะถูกกดเบียดจนตีบลงบางส่วนได้แก่
  • ฉี่ไม่คล่อง > ต้องเบ่งจึงจะออก
  • ฉี่ไม่พุ่งไปไกล > ไปแค่ใกล้ๆ
  • ฉี่กลางคืนเกิน 1 ครั้ง/คืน
.
วิธีป้องกันกลุ่มอาการเมทาโบลิคได้แก่
.
(1). ควบคุมน้ำหนัก > ระวังน้ำหนักเกิน
.
(2). ลดเครื่องดื่มเติมน้ำตาล
.
(3). เปลี่ยนน้ำผลไม้ > เป็นผลไม้ทั้งผล
.
(4). ฝึกนิสัยไม่เติมน้ำตาลในอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ และชิมก่อนปรุง
.
(5). หลีกเลี่ยงอาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารหมักดอง ฯลฯ
.
(6). หลีกเลี่ยงเนื้อสำเร็จรูป เช่น หมูหยอง หมูแผ่น ไส้กรอก เบคอน ฯลฯ
.
เนื้อเหล่านี้มีการบดปนไขมันสัตว์ที่มีไขมันอิ่มตัวสูง และเกลือปนเข้าไป
.
 
(7). กินผัก ผลไม้ทั้งผล ถั่วสดหรือถั่วฝัก เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว ฯลฯ ให้มากพอทุกวัน
.
(8). ลดเนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัว แพะ แกะ หมู ฯลฯ > ไขมัุนอิ่มตัวปิดกั้นตัวรับอินซูลิน ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้
.
(9). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ และไม่นั่งนานเกิน 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง
.
(10). เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ > ขึ้นลงบันได เดินขึ้นลงเนิน เล่นเวท ยกน้ำหนัก ดึงสปริง ห้อยโหนบาร์เดี่ยว ฯลฯ
.
การเดินหรือวิ่งแนวราบไม่ค่อยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ การเดินขึ้นลงเนินหรือขึ้นลงบันไดทำให้เกิดแรงต้านสูง เพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ดี
.
(11). ระวังขาดวิตามิน D > ใส่เสื้อแขนสั้น-กางเกงขาสั้น รับแสงแดดอ่อนตอนเช้า-เย็น 15 นาที/วัน
.
คนที่เสี่ยงขาดวิตามิน D คือ คนสูงอายุ ใส่เสื้อผ้าหรือทายากันแดดทั่วตัว อยู่หลังกระจกทั้งวัน (กระจกกั้น UVB ทำให้ผิวหนังสร้างวิตามินไม่ได้), และคนอ้วน
.
วิตามิน D ละลายในน้ำมัน... ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนทำให้เนื้อเยื่อไขมันมากขึ้น ดูดซับวิตามิน D จากกระแสเลือดไปสะสมมากขึ้น
.
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Dr.Gabe Mirkin Source > European Urology, Feb 5, 2013;61:560 > http://www.drmirkin.com/public/ezine021013.html
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 29 พฤษภาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 537477เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 07:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับคุณหมอ

ขอบคุณค่ะคุณหมอ พอดีคุณพ่อเป็นและรักษา

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท