ลุยแปลงมะละกอด้วยกัน 1


     หลังจากที่ได้สัมผัส กับวงการมะนาว มาระยะหนึ่ง ได้เีรียนรู้จากท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี และท่านอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน และทางสถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน มหาวิทยา่ลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ฝึกอบรมเทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู และการปลูกมะกรูดระยะชิด ไปหลายรุ่น ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวงการเกษตรในระดับหนึ่ง เช่น ได้เห็นกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกร   การใช้ชีวิตร่วมกับการทำการเกษตร หรือการพัฒนาแกนนำการเกษตรและการเป็นต้นแบบทางการเกษตร อย่างไม่รู้ตัว ถือว่าเป็นการผลิกโฉม วงการเกษตรในระดับหนึ่งเลยทีเดียว สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น มาจากการแสวงหาความรู้ของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ที่ขาดไม่ได้คือท่านอาจารย์แต่ละท่านได้เสียสละเวลาให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างเต็มที่ ทั้งในและนอกเวลาของการฝึกอบรม


      นอกจากเรื่องมะนาวแล้ว ยังไ้ด้มีโอกาสนั่งฟังการบรรยายเรื่องการผลิตมะละกอคุณภาพหลายครั้งรวมถึง การเข้าไปสัมผัสกับการทำสวนมะละกอ ในเนี้อที่ไม่มากนัก แต่ก็เรียกได้ว่าเดินเข้าแปลงมะละกอ เช้า เที่ยง เย็น (หิวไปแอบกินมะละกอ^^) ได้เห็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่มีความสำคัญกับการปลูกมะละกอหลายอย่างด้วยกัน อีกทั้งยังนำปัญหาต่างๆสอบถามท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี และ อ.มณฑา วงศ์มณีโรจน์ อย่างต่อเนื่อง

     เรื่องแรกที่ท่านอาจารย์ได้สอนไ้ว้ คือ การนำใบที่หมดความสามารถในการสังเคราะห์แสง และใบที่เป็นโรคหรือ มีลักษณะอาการที่ผิดปรกติ ออกจากลำต้น กล่าวคือ เมื่อใบที่อยู่บนลำต้นเป็นโรค ให้เด็ดออกและนำออกจากแปลงปลูกมะละกอ หรือ ใบที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งหมดความสามารถในการสังเคราะห์แสงแล้วก็ให้เด็ดออก เพราะใบมะละกอที่เป็นโรคหรือแห้งนั้น จะเป็นแหล่งสะสมโรคที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของมะละกอ อีกทั้งเมื่อหล่นบริเวณโคนต้นก็จะเป็นแหล่งสะสมโรคอีกเช่นกัน ฉะนั้นต้องพยายามนำออกจากโคนต้น นำไปเผาและทำลายเสีย

   ในช่วงเวลาเกือบสองปี แปลงมะละกอ ไม่เคยใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชแต่อย่างใด ใช้แต่เชื้อราไตรโคเออร์ม่าพ่นที่ใบและโคนต้นและให้ธาตุอาหารอย่างเหมาะสม ซึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไป ถ้าได้มีการเด็ดใบออกและเก็บออกจากโคนต้น ประกอบกับมีการใช้ไตรโคเดอร์ม่าเข้าร่วมด้วยอย่างต่อเนื่อง ต้นมะละกอเจริญเติบโตดีมีปัญหาเรื่องโรคลดลงอย่างเห็นได้ชัด



     ฉะนั้นการทำการเกษตร หรือการปลูกมะละกอ เพื่อการค้าและให้ได้ผลผลิต ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในปริมาณมากเพียงแต่เข้าใจ ถึงการเจริญเติบโต และการจัดการต่างๆเบื้องต้น ก็จะทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิด ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี วันนี้ คงต้องขอตัวไปกินมะละกอก่อนละครับ ^^  มะละกออร่อยมากครับ กินแล้วสบายใจ  มีเทคนิคอีกมากมายที่ท่านอาจารย์ได้สอนไว้ ตั้งแต่ระยะปลูก ประเภทดอกฯลฯ โดยจะพยายามศึกษาและนำเรียนให้ทราบ เพื่อที่จะสามารถลดต้นทุนการผลิต ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพอีกทั้ง ปลอดภัยแก่ตัวเราเองรวมถึงผู้บริโภคครับ  (หิวมะละกอจังไปละ^^X)

ฝึกอบรมครับ

หมายเลขบันทึก: 536852เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"มะละกอ" เป็นพืชที่ผจก.ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ไม่เคยประสบความสำเร็จในการปลูก (ไว้กินเอง) สวนจำหน่ายพันธุ์ไม้ในเมืองบอกว่า เห็นแกซื้อต้นพันธุ์มะละกอไปปลูกบ่อยมาก แกปลูกครั้งละ 2 ต้น ปลูกไปสักพักก็ตาย ต้องไปซื้อมาปลูกใหม่ค่ะ

ส่วน "ไอดิน-กลิ่นไม้" เคยปลูกและได้กินลูกทุกต้น แต่ก็หมดอายุไปแล้ว ตอนนี้กำลังลุ้นต้นที่เกิดเองในกระถางไม้ประดับและแยกไปปลูกค่ะ ทำท่าว่าจะโตอยู่นะคะ

ขอบคุณ "คุณสามารถ" มากนะคะ สำหรับความรู้เรื่องการปลูกดูแลมะละกอที่แบ่งปัน 

มีประสบการณ์ว่า  มะละกอฮอลแลนด์ (ใบจะมีกระโดง) ภูมิต้านทานโรคต่ำ ไม่ชอบแดดร้อนจัดๆ ไม่ชอบน้ำมาก (ปลูกยาก ฮิ ฮิ)  ตอนนี้กำลังปลูกมะละกอที่ไม่ใช่พันธุ์ฮอลแลนด์ พบว่าโตเร็วกว่า ดูแข็งแรงกว่า แต่ยังไม่รู้ว่าจะได้กินไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท