หวานๆ__ทำเราเจ็บ(เพิ่มเสี่ยงนิ่วไต)




.
สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Sugary drinks tied to kidney stone risk'
= "หวานๆ (เครื่องดื่มเติมน้ำตาลมีความสัมพันธ์กับ) เพิ่มเสี่ยงนิ่วไต", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
คำแนะนำทั่วไปในการป้องกันนิ่ว คือ ดื่มน้ำให้พอ โดยเฉพาะช่วงเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่คนเรามีแนวโน้มจะขาดน้ำ ทำให้ปัสสาวะ (ฉี่) มีความเข้มข้นสูงขึ้น, เกลือแร่ในปัสสาวะตกตะกอนเป็นนิ่วได้ง่ายขึ้น
.
วิธีป้องกันนิ่วที่น่าจะดี คือ หลังตื่นนอน... ให้ล้างมือ บ้วนปาก แล้วดื่มน้ำ 2 แก้ว
.
การดื่มน้ำตอนเช้ามีข้อดีอีกอย่าง คือ ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้การถ่ายหนักง่ายขึ้น ลดเสี่ยงท้องผูก ริดสีดวงทวาร
.


.
อ.ดร.แกรี เคอร์แฮน นักวิจัยอาวุโสและคณะ จาก ม.ฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ทำการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกือบ 200,000 คน
.
การศึกษานี้แบ่งกลุ่มเครื่องดื่ม (beverage) เป็นหลายกลุ่ม เช่น
  • cola = น้ำอัดลมโคลา(น้ำดำ)
  • non-cola = น้ำอัดลมที่ไม่ใช่โคลา = ไม่ดำ (non- = ไม่)
  • soda = น้ำอัดลม
  • clear soda = น้ำอัดลมน้ำใส ไม่ใส่สี

.
ผลการศึกษาพบว่า คนที่ดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มเติมน้ำตาล 1 กระป๋อง/วัน = เพิ่มเสี่ยงนิ่วไต (kidney stones) = 33% เมื่อเทีียบกับคนที่ดื่มน้อยกว่า 1 กระป๋อง/สัปดาห์
.
คนที่ดื่ม "พั้นช์ (punch = น้ำผลไม้+น้ำตาล+เหล้า)" บ่อยเพิ่มเสี่ยงนิ่วไต = 18%
.
การศึกษานี้พบว่า น้ำอัดลมเพิ่มเสี่ยงนิ่วไตมากกว่าเครื่องดื่มเติมน้ำตาลชนิดอื่น เช่น พั้นช์ ฯลฯ
.
กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ
  • น้ำอัดลมผสมกรดกลุ่มฟอสเฟต
  • ร่างกายขับ "กรด" กลุ่มนี้ออกทางไต
  • เสียแคลเซียมออกไปทางปัสสาวะ (ฉี่) เพิ่มขึ้น
  • เพิ่มโอกาสเกิดนิ่ว

.
เครื่องดื่มอื่นๆ เช่น กาแฟ ชา ไวน์ เบียร์ น้ำส้ม ฯลฯ "ลด" เสี่ยงนิ่วไต
.
กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ เครื่องดื่มไม่ว่าจะเป็นอะไร ทำให้คนเราได้รับน้ำมากขึ้น
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การกินน้ำตาลฟรัคโทส (fructose) หรือน้ำตาลผลไม้, แคลเซียมเสริม (ไม่ใช่แคลเซียมในอาหาร-นม), วิตามิน C อาจเพิ่มเสี่ยงนิ่วไต
.
ศ.ดร.อีเลน วอร์เชสเตอร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าวว่า กลไกหนึ่งที่พอจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องดื่มเติมน้ำตาล (sugary drinks) กับนิ่วในไต คือ
  • น้ำตาล > เพิ่มเสี่ยงน้ำหนักเกิน-อ้วน (obesity)
  • โรคอ้วน > เพิ่มเสี่ยงนิ่วไต

.
อ.นพ.เกบ เมียคิน อธิบายไว้ดี คือ น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้เพิ่มเสี่ยงน้ำหนักขึ้นมากกว่าผลไม้ทั้งผล
.
เส้นใยหรือไฟเบอร์ในผลไม้ ทำให้ผลไม้มีสถานะเป็น "ของแข็ง"
.
กระเพาะอาหารใช้เวลาคลุกเคล้าอาหารแข็งนานกว่า เก็บอาหารแข็งไว้ในกระเพาะฯ นานกว่า
.
วิธีที่กระเพาะฯ ทำ คือ การปิดหูรูดทางออก (pyloric sphinctor) ทำให้อาหารแข็งผ่านจากกระเพาะฯ ไปลำไส้ช้าลง กว่าจะผ่านไปได้หมด ใช้เวลา 1/2-5 ชั่วโมง
.
.
อาหารแข็ง เช่น ผลไม้ ฯลฯ ทำให้การย่อยอาหารช้าลง การดูดซึมอาหารช้าลง เมื่อเทียบกับอาหารเหลว เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่มเติมน้ำตาล ฯลฯ
.
ระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นช้ากว่า ลดลงช้ากว่า ทำให้อิ่มนานกว่า หิวใหม่ช้ากว่า เสี่ยงอ้วนน้อยกว่า (เมื่อเทียบกับของเหลวเติมน้ำตาล)
.
มีคำกล่าวด้านสุขภาพว่า ถ้าอยากสุขภาพดีไปนานๆ... ให้กินอาหารที่มีเส้นใยหรือไฟเบอร์ให้มากทุกมื้อ เพื่อให้อาหารส่วนใหญ่ "เป็นของแข็ง"
.
ของเหลวที่ดีกับสุขภาพระยะยาวจริงๆ คือ น้ำเปล่า + ชาเจือจาง-ไม่เติมน้ำตาล
.
.
ปี 2555 ผู้เชี่ยวชาญประมาณการณ์ว่า คนไทยเป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรัง (chronic kidney disease / CKD) มากถึง 17.7% = อะไร
  • คนไทย 100 คน > มีโรคไต 18 คน
  • คนไทย 7 คน > มีโรคไต 1 คน
ไตเสื่อมส่วนใหญ่เป็นระยะแรก (ระยะ 1-3), ไม่มีอาการ แต่จะมีอาการชัดตอนไตเสื่อมไปมากแล้ว (ระยะ 4-5)
.
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไตเสื่อมได้แก่
  • อายุที่เพิ่มขึ้น
  • ความดันเลือดสูง
  • เบาหวาน-ภาวะก่อนเบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์เป็นเบาหวาน)
  • นิ่วไต
  • ภาวะขาดน้ำ
  • ไตอักเสบเรื้อรัง เช่น เป็นโรคไตติดเชื้อ แล้วรักษาไม่ครบ 10-14 วัน
.
สาเหตุไตเสื่อมที่พบบ่อยมากในไทยได้แก่
  • ความดันเลือดสูง
  • เบาหวาน
  • นิ่วไต
ข่าวดี คือ 3 สาเหตุใหญ่นี้ป้องกันได้, ถ้าตรวจพบและรักษาต่อเนื่อง จะลดเสี่ยงไตเสื่อมระยะท้ายๆ ได้ดีมาก
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Reuters Source > Clinical Journal of the American Society of Nephrology, online May 15, 2013.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 23 พฤษภาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 536843เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 07:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013 07:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จะนำวิธีที่คุณหมอแนะนำมาไปปฏิบัติตาม

ขอบคุณคุณหมอมากๆ เลยครับ

ขอบคุณบันทึกเพื่อสุขภาพค่ะคุณหมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท