รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

สองโรงเรียนเล็ก ๆ เรียนร่วม...ภายใต้ผู้บริหารคนเดียวกัน



          โรงเรียนบ้านพุตะแบกเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  เด็กนักเรียนลดลงเรื่อย ๆ  ปีการศึกษาที่ผ่านมา มีนักเรียน 100 คนพอดี  มาปีนี้ เด็กเหลือเพียง 86 คน  แต่โรงเรียนวัดนาล้อมเล็กยิ่งกว่า คือมีนักเรียนเพียง 46 คน ไม่มีผู้บริหาร จะยุบอยู่หลายปีแล้ว ก็ไม่ได้ยุบ เนื่องจากชุมชนไม่ยอม


           หน่วยเหนือจึงมีนโยบายให้โรงเรียนพี่อย่าง พุตะแบก โอบอุ้ม น้อง คือนาล้อม  โดยเฉพาะเรื่องของ ผลโอเน็ตในปีการศึกษา 2554 ที่นาล้อมอยู่อันดับท้าย ๆ ของเขตฯ  ดังนั้นช่วงเดือน มกราคม ก่อนสอบโอเน็ต นาล้อมจึงต้องนำนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5-6 มาเรียน มาติวร่วมกันกับพุตะแบก  ผลโอเน็ตออกมาเป็นที่น่าพอใจ พุตะแบกอยู่อันดับที่ 8 ของเขตฯ  ส่วนนาล้อมก็เลื่อนอันดับขึ้นมาอยู่ในอันดับต้น ๆ  20 กว่า ๆ   ดังนั้น ปีการศึกษานี้  สองโรงเรียนเล็ก ๆ จึงผนึกกำลัง นำนักเรียนมาเรียนร่วมกัน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6 มีครูจากนาล้อมมาร่วมด้วย 1 คน  



         วันนี้เด็ก ๆ จึงรู้สึกคึกคักเป็นพิเศษที่จะได้เจอเพื่อนใหม่ต่างโรงเรียน ก่อนเข้าห้องเรียน ผู้บริหารโรงเรียนได้ให้โอวาทแก่นักเรียน เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบ ให้ยึดกฏระเบียบของโรงเรียนบ้านพุตะแบกเป็นสำคัญ ไม่คิดแบ่งแยก ถือว่า ทุกคนอยู่โรงเรียนเดียวกัน และแนะนำให้เด็ก ๆ รู้จักกับคุณครูที่สอนประจำวิชาต่าง ๆ ของทั้งสองโรงเรียนให้เด็กได้รู้จัก



         เมื่อถึงชั่วโมงเรียนวิชาภาษาไทย ครูอิงจึงจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้รู้จักกัน  พูดคุยกัน แรก ๆ เด็ก ๆ ก็เหนียมอาย ไม่กล้าพูดคุย  จนครูอิงค์ต้องกำหนดหัวข้อให้นักเรียนไปสัมภาษณ์เื่พื่อน ๆ โดยกำหนดว่า 

  • ให้นักเรียนเขียนชื่อเพื่อนต่างโรงเรียน เพศชาย 1 คน  เพศหญิง 1 คน
  • ให้นักเรียนเขียนชื่อเพื่อนที่นักเรียนต้องการเข้ากลุ่มและร่วมทำงาน อีก 3 คนโดยอิสระ
  • ให็นักเรียนสัมภาษณ์เพื่อนทั้ง 5 คน ในห้วข้อต่อไปนี้
  • สีที่เพื่อนชอบ    ตอนเช้ารับประทานอะไรเป็นอาหารเช้า   สัตว์เลี้่ยงที่เพื่อนชอบพื่อ
  • มีแฟนแล้วยัง  เพื่อนสวมรองเท้าเบอร์อะไร  และสุดท้าย  วันนี้เพื่อนใส่กางเกงในสีอะไร
          (อาจเป็นคำถามที่ดูไร้สาระ  แต่ทำให้เด็ก ๆ ได้สนุกสนาน และ รู้จักกันมากขึ้น ครูเองก็จะได้รู้จักนิสัยใจคอของเด็กแต่ละคน)


            เด็ก ๆ รู้สึกสนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น มีเสียงฮา และ เสียงหัวเราะเป็นช่วง ๆ ครูก็คอยกระเซ้าเเย้าแหย่  หัวข้อที่เด็ก ๆ สนุกมากคือ "เพื่อนใส่กางเกงในสีอะไร"  คนที่ไม่ยอมตอบแสดงว่าไม่ได้ใส่กางเกงใน (......ฮา)  ส่วนหัวข้อ "เพื่อนมีแฟนแล้วยัง"  บ้างก็ตอบว่า  แฟนมีแล้ว....แต่ยังไม่มีกิ๊ก อีกคนก็ตอบว่า    ยังไม่มีอ่ะ....ว่าจะมาหาแถว ๆ นี้  คุณครูก็ไม่ละโอกาสที่จะได้ขัดเกลาในเรื่องของการประพฤติ ปฏบัติตนเกี่ยวกับเพศตรงข้าม ให้กับเด็ก ๆ พร้อมทั้งตัวอย่างรุ่นพี่ ทั้งที่เป็น กุศลาธรรมมา และ อกุศลาธรรมมา

            ในที่สุด เด็ก ๆ ทั้งสองโรงเรียนก็รวมเป็นหนึ่งเดียว  สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน  พักกลางวันก็ทานอาหารร่วมกัน ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไขเสมอ สำหรับครูอิงคิดอยู่เสมอว่า
           

                                "เธอเป็นใคร จากไหนฉันไม่หวั่น
                                    เป็นศิษย์ฉัน ฉันหวังให้ได้ศึกษา
                                    เสมอภาค เท่าเทียม เปี่ยมจรรยา
                                 มีเวลา...ขัดเกลา เท่าเท่ากัน"      

หมายเลขบันทึก: 536563เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอชื่นชม แนวทาง จิตสำนึก
หลอมรวมตรึง ตรองทาง การศึกษา
รวมพลัง สรรค์สร้าง พร้อมนำพา
หวังใจว่า ศึกษาไทย นั่นก้าวไกล

  ขอชื่นชม  คุณครูไทย ใจเมตตา
  สื่อนำพา  สิ่งดีดี สู่เป้าหมาย
  รับผิดชอบ ร่วมสรรค์สร้าง มีเมตตา
  หวังใจว่า  การศึกษาไทย  นั่นก้าวไกล
  

    

ชุมชนเข้มแข็ง โรงเรียนก็อยู่ได้นะคะ

มาให้กำลังใจการขับเคลื่อนทางการศึกษาดีๆเช่นนี้ค่ะ...


การทำงานกับเด็กเราต้องคิดเหมือนเขาเราถึงจะสามารถเข้าใจเขาใด้ถ้าเราคิดต่างกันมันสนุกแต่ชม.แรกต่อมาก็เบื่อ
อยากให้กำลังใจนะครับทำงานกับเด็กนี้เนื่อยสุดๆแน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท