โครงการบริการวิชาการสู่ชุมชนบ้านแสนสุข_3 : "ไปยาม" ข้าวออกรวง


เดือนมกราคม ปี 2555  ผมชวน ดร.อรอุมา และ ดร.มัณฑณา ไปดูข้าว ซึ่งได้ข่าวจากลุงเด่นว่า อยู่ในช่วงที่ใกล้จะออกรวง.... จนถึงวันนี้ การทำนาตามหลักวิชาการสไตล์ลุงเด่น ระวิโรจน์ หากเปรียบเทียบว่าแตกต่างจากการทำนาของชาวนาทั่วไปอย่างไรในขณะนี้  ผมสังเกตเห็นดังนี้ครับ

  • สนใจในรายละเอียด ได้แก่
    • เลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการ เช่น จะปลูกข้าวไว้กิน หรือจะปลูกข้าวไว้ขาย ที่ปลูกไว้ขายจะเน้นขายข้าวคุณภาพ หรือเน้นการขายข้าวในปริมาณมากๆ 
    • เลือกพันธุ์ข้าวอย่างมีหลักวิชาการ เลืกพันธุ์ข้าวอายุสั้นหรือยาว เลือกแบบเหมาะน้ำน้อยหรือแบบเหมาะน้ำมาก เป็นต้น
    • การเตรียมดิน ไถดะแล้วสูบน้ำขึ้นไปหมัก พร้อมทั้งใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย ทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ ก่อนไถแปรแล้วหว่านข้าว
    • การจัดการกับเมล็ดพันธ์ทำอย่างประณีต น้ำข้าวมาแช่ในน้ำเพื่อเลือกเอาเฉพาะเมล็ดจมน้ำ แล้วหมักด้วยจุลินทร์ย์ก่อนหว่านให้ห่างประมาณ 4 เซนติเมตร
    • การเก็บมุมแปลงนาทำอย่างพิถีพิถัน ทำให้การจัดการกับหญ้าวัชพืชเป็นไปอย่างละเอียดทั่วไป ..... ผมมองเป็นเหมือนการสอนให้ชาวนาฝึกสนใจในรายละเอียด เพราะปกติการไถที่มุมแปลงจะทำได้ยากยิ่ง
  • เน้นการใช้ธรรมชาติ
    • ใช้ปุ๋ยพืชสดตามธรรมชาติ หมายถึง ใช้ตอฟางข้าวเดิมเป็นปุ๋ย โดยไถกลบแล้วใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลาย
    • ไม่ได้เน้นปุ๋ยที่สุด แต่สิ่งที่เน้นที่สุดคือ ปรับโครงสร้างดิน


ดร.อรอุมา ดร.มัณฑนา และลุงเด่น คุยกันว่า ข้าวไม่งามเท่าใดนักเมื่อเทียบกับ แปลงนาข้างๆ ที่ใช้ปุ๋ยเคมี แต่ก็พอใจในระดับหนึ่ง เพราะเมื่อเทียบต้นทุนแล้วจะต่ำกว่า

ในภายหลังสิ่งนี้ก็ไม่ได้ประทับใจชาวบ้านแสนสุขมากนัก เพราะเมื่อเสนอให้ทำต่อในปีถัดมา ปรากฎว่าชาวบ้านตัดสินใจถอนตัวไป

หมายเลขบันทึก: 536510เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท