รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

gotoknow คือบ้าน...คือสถานศึกษา..คือ..นานามหาวิทยาลัย :สามใจประสานกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ gotoknow


ต่อเนื่องจากบันทึกgotoknow คือบ้าน...คือสถานศึกษา..คือ..นานามหาวิทยาลัย :แรงจูงใจ


   (รับรางวั Thailand Blog Awards 2011 จากท่านรัฐมนตรี กับบล็อก "ลานดอกไม้แต้มยิ้ม ณ ริมฟ้า")

4. ท่านมีเทคนิคในการเขียนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแบ่งปันความรู้หรือ

ประสบการณ์อย่างไร

          ก่อนอื่นครูอิงค์คิดทบทวนก่อนว่า ใจเรา  เราเข้ามาที่นี่เพื่ออะไร มีวิธีหาความสุขจากที่นี่อย่างไรบ้าง ก็พบว่า สิงที่ทำให้มีความสุขคือ ความงามของธรรมชาติ  ความงามด้านศิลปะ วัฒนธรรม  ความสุขกับการสะสมภาพ เก็บคำคมต่าง ๆ  สะสมบทกลอนสร้างสรรค์ และท้ายสุดก็มีความสุขกับการแสวงหาความรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอื่น ๆ ชอบอ่านบันทึกที่อ่านง่าย เช่น ขนาดตัวอักษรที่เหมาะสมแก่สายตา มีการเน้นข้อความสำคัญบ้าง  มีภาพประกอบบ้างพอประมาณ ไม่ชอบอ่านบันทึกที่ยาวเกินไป เมื่อเป็นใจเราเป็นเช่นนี้ ก็คิดว่า ใจเขา ก็คงไม่ต่างจาก ใจเรามากนัก  เพราะที่นี่สมาชิกส่วนมากจะเป็นวัยผู้ใหญ่  

          การเขียนบันทึก ไม่ได้มีเทคนิคอะไรเลยค่ะ ถ้าเป็นนักออกแบบก็เห็นจะเป็น "สถาปนึก"  ไม่ใช่ "สถาปนิก" นึกอะไรก็เขียนสิ่งนั้น ถ่ายทอดจากใจ ไม่มีการร่าง หรือวางแผนใด ๆ บางครั้งไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกท่านอื่น ก็จะได้แรงบันดาลใจในการเขียน อีกประการอิงค์มีตัวช่วยคือ ภาพถ่าย เวลาจะเขียนบันทึกก็จะใส่ภาพก่อน แล้วจะสามารถเขียนได้ เหมือนเด็กนักเรียน หากให้เขียนเรียงความ นักเรียนก็จะเขียนไม่ได้  แต่หากเปลี่ยนเป็นให้เขียนบรรยายภาพเด็ก ๆ ก็จะเขียนได้มากกว่า (ครูอิงก็เหมือนเด็กนักเรียน) 

          ส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ใจความ  ไม่ว่าจะเป็น ข้อความต่าง ๆ ในการเขียนบันทึก และ การเขียนแสดงความคิดเห็น ใจความในการเขียนบันทึกต้องไม่เสียดสี ส่อเสียดใคร  หากเป็นเรื่องส่วนตัวก็ควรเป็นเรื่องของตัวเอง แต่ควรเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อคิดให้ผู้อ่าน หากต้องการเขียนเรื่องราวของผู้อื่น ก็ควรได้รับการอนุญาตเสียก่อน ส่วนเรื่องของการแสดงความคิดเห็นนั้น ต้องระวังเป็นพิเศษ ครูอิง จะรู้สึกอายมาก ถ้าเขียนแสดงความคิดเห็นที่อ่านแล้วไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องในบันทึกที่อ่านเลยแม้แต่น้อย  อีกประการบางครั้งก็ต้องเหลือบดูสักนิดว่า "คอมเม้นท์"ที่เราจะต่อท้ายเขานั้น เขาเขียนว่าอย่างไร ต้องระวังไม่ให้เขาคิดว่าเราส่อเสียดเขาได้(เคยมีกรณีนี้มาก่อนค่ะ)


5. ท่านคิดว่าท่านมีวิธีการเขียนหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อกระตุ้นให้สมาชิก

ต่อยอดความรู้ได้อย่างไร

         ข้อนี้ ครูอิงค์ไม่ค่อยมีอ่ะค่ะ จะมีบ้างก้เวลาเห็นสมาชิกท่านใดหายไปนาน ๆ ไม่ยอมเขียนบันทึกใหม่เสียที แต่เขาก็ยังเข้าไปแลกเปลี่ยนที่บันทึกของครูอิงอยู่  ก็จะเข้าไปที่บันทึกล่าสุด เขียนแสดงความคิดเห็นว่า  "มารออ่านบันทึกใหม่นะคะ" ถ้าเป็นบันทึกของตัวเอง ก็จะใช้ลักษณะ ขมวดไว้ท้ายบันทึก แบบตั้งคำถามที่ท้าทายให้ตอบ ให้คิด ที่สำคัญ ครูอิงค์ชอบเข้าไปแสดงความคิดเห็นเพื่อแสดงการต้อนรับสมาชิกใหม่ เพราะมีความรู้สึกว่า ตอนเราเป็นสมาชิกใหม่ ๆ  เราต้องการเช่นนั้น 


6. ท่านคิดว่ารางวัลสุดคะนึงมีผลต่อการเขียนของตนเองหรือสมาชิกหรือไม่ 

อย่างไร

         สามอย่างที่เป็นกำลังใจ เป็นแรงผลักดันในการเขียนของสมาชิก คือ  ดอกไม้กำลังใจจำนวนผู้อ่าน  และการแสดงความคิดเห็น สำหรับครูอิงแล้ว จำนวนผู้อ่าน สำคัญกว่าอย่างอื่นค่ะ ถ้าเขาแสดงความคิดเห็นด้วยยิ่งเป็นการดี อย่างน้อยก็ เอาหน่ะ....เขาคงอ่านบ้าง แม้จะแบบหยาบ ๆ  ก็เถอะ  

        สำหรับครูอิงค์แล้ว รางวัลสุดคะนึงไม่ใช่แรงบันดาลใจที่สำคัญที่สุด  เงื่อนไขสำคัญว่าเดือนไหนเขียนบันทึกมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับเวลา และ ภาระงาน รางวัลสุดคะนึงมีมานานแล้ว แต่ครูอิงค์เพิ่งได้รางวัลในเดือนเมษายน เป็นเพราะว่า เดือนเมษายนเป็นช่วงปิดเทอม  จึงสามารถเขีัยนบันทึกได้เยอะ เพราะเป็น  ช่วงที่ผ่อนคลาย หลุดพ้นจากกรอบแห่งเวลา หรือภาระงานที่เป็นบ่วงพันธนาการ

        วันก่อนได้อ่านบันทึกของท่านวอญ่า  ที่เป็นการบัานของน้องขจิตเหมือนกัน  ท่านพี่วอญ่า ตัดพ้อว่า ผู้ที่ได้รับรางวัลสุดคะนึง หลายคนห่างหาย ไม่ค่อยเข้ามาใช้บริการที่นี่ ครูอิงค์ก็เห็นด้วยกับท่านวอญ่านะคะ  แต่ในกรณีของครูอิงค์  หากต้องห่างหายไปบ้างในช่วงเปิดภาคเรียน ก็ขอให้สมาชิกได้รับรู้ว่า เป็นเพราะภาระงาน  แต่ก็จะพยายามเข้ามาเขียนบันทึกบ่อย ๆ ค่ะ


ขอบพระคุณ อาจารย์ขจิต ที่เป็นแรงบันดาลใจ 
ให้ได้เขียนบันทึกนี้ สำเร็จลงได้ ทั้ง ๆ 
ที่ตั้งใจจะเขียนมานานแล้ว

หมายเลขบันทึก: 536475เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดี น้องครูอิง สถาปนึก ....นึกได้ก็เขียนออก 

ภาระงาน สำคัญ บางครั้งมีเรื่องที่จะเขียนแต่ต้องทำภาระงานให้เสร็จก่อน  มักใช้เวลาเขียนหลังเที่ยงคืน  ยามนี้บรรยากาศดีมากๆ

ขอบคุณพื้นที่ กทน.ที่ทำให้พบกัลยาณมิตร

สวัสดีครับ

               ขอแสดงความยินดีมีปราโมทย์

               ได้รับโหวตรางวัลไร้ปัญหา

               ความตั้งใจเห็นผลดลนำพา

               ช่วยเพิ่มค่าความรู้สึกบันทึกดี

                

               

ขอบคุรพี่อิงจันทร์มากครับ ที่สรุปได้ครบทุกประเด็น เป็นประโยชน์มากๆครับ

ขอบพระคุณดอกไม้กำัลังใจจากทุก ๆ ท่านค่ะ

Gotoknow เ็ป็นบ้านแห่งการเรียนรู้และมิตรภาพที่อบอุ่น...ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่แบ่งปันเสมอมา...และขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ


"ไอดิน-กลิ่นไม้" ตั้งใจจะเขียนในแนว ถอดบทเรียนจากบันทึกของสมาชิก...ขออนุญาตนำข้อความในบันทึกของ "คุณครูอิงจันทร์" ไปอ้างอิง ดังข้อความข้างล่างนะคะ  ขอบคุณมากค่ะ

         "...ก่อนอื่นครูอิงค์คิดทบทวนก่อนว่า ใจเรา เราเข้ามาที่นี่เพื่ออะไร มีวิธีหาความสุขจากที่นี่อย่างไรบ้าง ก็พบว่า สิงที่ทำให้มีความสุขคือ ความงามของธรรมชาติ  ความงามด้านศิลปะ วัฒนธรรม  ความสุขกับการสะสมภาพ เก็บคำคมต่าง ๆ  สะสมบทกลอนสร้างสรรค์..."

ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ  พี่ดาทราบเมื่อกลับมาถึงเชียงใหม่ ขอบคุณมากนะคะ สิ่งดีๆที่มอบให้กันเสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท