บุคลิกภาพ


ความหมายของบุคลิกภาพ

บุคลิกภาพ  คือ  ลักษณะส่วนรวมของแต่ละบุคคล ซึ่งมีความเป็นเอกภาพ  ทำให้บุคคลแตกต่างกันในด้านต่างๆ  ได้แก่  ร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  ทัศนคติ  ความสามารถ  เป็นต้น

ความสำคัญของบุคลิกภาพ

กันยา  สุวรรณแสง กล่าวว่า  บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆดังต่อไปนี้

1.  ความมั่นใจ ผู้ที่มีบุคลิกภาพดี  ย่อมมีความภาคภูมิใจ และมีความมั่นใจในการแสดงออกสร้างความเชื่อถือ และไว้วางใจ ให้แก่ผู้อื่นได้

2.  การคาดหมายพฤติกรรม  เมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจในบุคลิกภาพของบุคคลแล้ว  ทำให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ 

3.  การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล  ทำให้เกิดความเข้าใจในลักษณะบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล  ทำให้เกิดการปรับตัว เรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันในสังคม

4.  การตระหนักในเอกลักษณ์ของบุคคล บุคลิกภาพของบุคคลเป็นลักษณะเฉพาะตนทำให้คนเรามีความแตกต่างกัน  เอกลักษณ์ในบางลักษณะเป็นสิ่งที่ดีงาม  เป็นแบบอย่างหรือแนวทางแก่บุคคลอื่นๆ

5.  การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น  เมื่อรับรู้บุคลิกภาพของบุคคลอื่น  มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม  หรือบุคคล เพื่อบรรลุถึงความต้องการต่างๆ  ของตนเอง

6.  ความสำเร็จ การเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี  ย่อมทำให้มีโอกาสที่ดี  ทำให้ชีวิตมีความก้าวหน้าประสบความสำเร็จในการทำงาน  เพราะจะทำให้ผู้ที่ร่วมงานเกิดความเชื่อถือศรัทธา

7.  การยอมรับของกลุ่ม  ผู้ที่มีบุคลิกภาพดีย่อมเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป  สามารถสร้างความรักใคร่ชอบพอและความไว้วางใจของกลุ่มได้

องค์ประกอบของบุคลิกภาพ  จะประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ  4  ประการ  ดังนี้

1.  ลักษณะทางกาย  หมายถึงรูปร่างหน้าตา สัดส่วน  ผิวพรรณ  การสนทนา

2.  ลักษณะทางใจ หมายถึง  ความคิด  ทัศนคติ ความรู้สึก

3.  ลักษณะทางสังคม  หมายถึง  ความสามรถในการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม การให้ความช่วยเหลือร่วมมือกับผู้อื่น 

4.  ลักษณะทางอารมณ์  หมายถึง  ความสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ของแต่ละบุคคล

ประเภทของบุคลิกภาพ  โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น  2  ประเภท

1.  บุคลิกภาพภายนอก ได้แก่  รูปร่างหน้าตา  การแต่งกาย  การวางตัว การพูด

2.  บุคลิกภาพภายใน  เป็นความรู้สึกภายในตัวของบุคคลที่สังเกตได้ยาก

ทฤษฎีบุคลิกภาพ

1.  ซิกมันด์  ฟรอย  นักจิตวิทยาผู้สร้างทฤษฏีจิตวิเคราะห์  เชื่อว่าบุคลิกภาพเป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่าง

  1.1  ระบบพลังงานทางจิต  ซึ่งเป็นแรงขับตามธรรมที่มีอยู่ในตัวมนุษย์แรงขับเป็นพลังผลักดันให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ  ออกมาเพื่อสนองความต้องการเป็นการลดความเครียดที่มีอยู่หรือเป็นการผ่อนคลาย  แรงขับของมนุษย์มี  3  ประเภท  คือ  แรงขับที่ดำรงชีวิตอยู่  แรงขับที่จะทำลาย  และแรงขับทางเพศ

  1.2  ความสามารถทางสมอง  แบ่งออกเป็นจิตสำนึก คือ  ความสามรถทางสมองที่แสดงพฤติกรรมขณะที่บุคคลรู้สึกตัวอยู่  จิตใต้สำนึก  คือ ความสามารถทางสมองที่แสดงเป็นความดี ความคิด ความรู้สึก  จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกมีความเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพของบุคคล

โครงสร้างของบุคลิกภาพ

โครงสร้างทางบุคลิกภาพประกอบด้วยการทำงานในส่วนต่างๆ ขององค์ประกอบ  3  ประเภท ดังนี้

1.  อิด  (Id) คือ ส่วนที่เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์   เป็นแรงกระตุ้นทางชีวภาพหรือแรงขับ  ทำให้เกิดความต้องการ  เช่น  ความหิว  ความกระหาย  ความต้องการอื่นๆ อิดได้รับการถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม  อยู่ในระดับจิตใต้สำนึก

2.  อีโก ( Ego)  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แสดงออกทางบุคลิกภาพ โดยการชี้นำและควบคุมบุคลิกภาพ ตามความเป็นจริงและตามหลักเหตุผล

3.  ซูเปอร์อีโก (Super Ego)  เป็นส่วนของ ศีลธรรม  จริยธรรม เกิดจากประสบการณ์การอบรมสั่งสอนจากครอบครัว


หมายเลขบันทึก: 535681เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท