ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการทำ CSR


                              ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการทำ CSR

             การทำ CSR สู่เป้าหมายที่ยั่งยืนประกอบด้วย ค่านิยมหลัก คือ การมุ่งสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมจากภายในสู่ภายนอก  การนำองค์กรด้วยวิสัยทัศน์ของความรับผิดชอบต่อสังคม  การสร้างการมีส่วนร่วม  การให้ความสำคัญแก่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย  มุมมองเชิงระบบ  การสร้างนวัตกรรมใหม่  การสร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจ มุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรและสังคม และการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม

             CSR ต้องอยู่ในทุกส่วนขององค์กร  (อนันตชัย ยูรประถม ,2550,1-3) ในฐานะนักวิจัยโครงการวิจัยกรอบตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ กล่าวว่า ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในการทำ CSR เพื่อความยั่งยืน จะบรรจุเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมไว้ในพันธกิจ วิสัยทัศน์มีกลยุทธ์ในการปฏิบัติ  มีกรอบทิศทางที่ชัดเจนมีการตั้งคณะกรรมการ CSR ตั้งแต่ผู้บริหารและพนักงานให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ซึ่งกรอบตัวชี้วัด CSRขององค์กร  แบ่งเป็น 10 ประเด็น ประกอบด้วย

           1. การนำองค์กรของผู้นำระดับสูง  การกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยมและพันธะสัญญา การถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ บรรยากาศส่งเสริมการปฏิบัติอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไปจนถึงธรรมาภิบาลในองค์กร

           2. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน การจัดทำกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการความเสี่ยงและการถ่ายทอดกลยุทธ์ลงสู่การปฏิบัติ

          3. ลูกค้าและตลาด สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า การดูแลและคุ้มครองผู้บริโภค การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการกับผู้บริโภคอย่างถูกต้องและเหมาะสม การสนับสนุนคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

          4. สิ่งแวดล้อม ที่องค์กรควรจะจัดการ ได้แก่ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรและสังคม

          5. การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ โดยมุ่งที่จะเลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการและปรับปรุงองค์ความรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมไปถึงการถ่ายทอดความรู้ต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

         6. ทรัพยากรบุคคล ควรมีการปฏิบัติต่อบุคลากรขององค์กร โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน การจ้างงานสิทธิและการมีส่วนร่วมของพนักงาน การพัฒนาและส่งเสริมพนักงาน

         7. การสื่อสาร โดยมองไปที่การสื่อสารทั้งในมิติของภายในองค์กรและภายนอกองค์กร

         8. การจัดกระบวนการ สร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการอย่างมีความรับผิดชอบ การป้องกันและการจัดการผลกระทบจากธุรกิจ การจัดการของเสีย (waste management) การจัดการทรัพยากร การพัฒนาและออกแบบกระบวนการเพื่อลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

        9. ภาครัฐและสังคม การดำเนินการตามระเบียบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยปฏิบัติตามกฎหมาย การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคม รวมไปถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร

       10. ผลลัพท์การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมด้านต่างๆขององค์กร  ด้านลูกค้า ตลาด สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรบุคคล การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ด้านกระบวนการดำเนินธุรกิจ 

เอกสารอ้างอิง

สยามอีเลินนิ่ง. (2556). หลักการและแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับCSR. [On - line]. Available

       :http://elearning.siam.edu/login/index.php?loginguest=true

อนันตชัย ยูรประถม. 2550. “กรอบตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ.”ใน รายงานการ

       สัมนาเรื่อง ครบเครื่องรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการประเมินผล CSR, หน้า 1-3.

       กรุงเทพมหานคร: สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม.

อนันตชัย  ยูรประถม. (2550).  เปิดตำนาน CSR…พิสูจน์คุณค่าจากภายใน.[Online]. Available: 

        http://202.183.190.2/FTPiWebAdmin/knw_pworld/image_content/70/pw70_5lds4.pdf.

อนันตชัย  ยูรประถม. (2552). CSR :พลังบริหารธุรกิจยุคใหม่. กรุงเทพฯ : มติชน.


หมายเลขบันทึก: 535674เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลายที่ใช้กลยุทธนี้เพื่อการสรา้งระบบงานและ rebranding แต่ต่อมากลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรครับ ..ชื่นชมครับและขอบคุณมากที่นำมาแบ่งปันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท