KM Workshop (2-3 ต.ค.49) : AAR 2. สิ่งที่ท่านได้เกินความคาดหวัง


ผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกคนเล็งเห็นความสำคัญของงานนี้ โดยสังเกตผู้บริหารเกาะติดสถานการณ์และไม่มีใครหนีกลับ

         2. สิ่งที่ท่านได้เกินความคาดหวัง

- ได้รับความรู้จากวิทยากร

- มีการรวมเป็นกลุ่มดี

- เกิดแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพชัดเจนขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ของ สมศ.

- การประเมิน QA ที่มีปลีกย่อยมากมาย สามารถนำไปปรับใช้ได้

- ข้อเสนอแนะที่เยอะมาก

- ได้ฟังทัศนะจากท่านผู้รู้ในด้านความสำคัญของการวิจัย

- ได้รับทราบผลงานที่มหาวิทยาลัยได้ผลิตออกมา

- ได้เรียนรู้บรรยากาศการนำเสนองาน

- ได้ข้อมูล ประสบการณ์ ข้อเสนอแนะ

- ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้เกี่ยวข้องให้ความสำคัญให้ความใส่ใจกับการสัมมนานี้ และคิดว่าคงตระหนักถึงปัญหาและช่วยหาทางแก้ไขต่อไป

- การแลกเปลี่ยนความเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหาของต่างสาขาวิชา นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงการประเมินคณะ

- การจัดงานทำให้รับรู้ข้อมูลที่มากและลึกซึ้งไปจากในคู่มือหรือหนังสือ

- การจัดงานเป็นระเบียบเรียบร้อยดี ไม่ Load มาก เท่าที่คิดไว้หลังจากอ่าน Schedule

- การมาคิดร่วมกันทำให้สิ่งที่หมดหวังแล้วดูดีขึ้น ขอชมเชย อ.วิบูลย์ และทีมผู้จัด

- ได้ฟังข้อเสนอแนะที่พัฒนามาจากคณะกรรมการผู้คุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมประชุม

- ได้ข้อคิดว่า “รวมกันเราอยู่”

- ได้คะแนนเพิ่มเติม

- ได้เพื่อนมากขึ้น

- ได้รับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์จากผู้ปฏิบัติงาน / ผู้บริหาร / ผู้ทรงคุณวุฒิ ในหลาย ๆ ด้าน

- ชัดเจนในเกณฑ์ สมศ.

- ได้รู้จักและรู้สึกเป็นกันเองกับกลุ่มที่เข้าร่วมมากขึ้น

- ได้เห็นภาพความตั้งใจของหลาย ๆ คณะ

- ได้ฟัง Comment ดี ๆ จากผู้ทรงคุณวุฒิ

- ได้เปรียบเทียบตัวเองกับคณะอื่น ๆ

- เห็นภาพรวมด้านนโยบายในการพัฒนาด้านงานวิจัยและคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยได้ชัดเจนขึ้น การได้รับฟังการนำเสนอแผนงานด้านวิจัยและคุณภาพการศึกษาของผู้บริหารแต่ละคณะ ตลอดจนการสรุปเพื่อขมวดปมความรู้ ทำให้เกิดการกระตุ้นในการพัฒนางานในส่วนที่รับผิดชอบให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และได้ช่องทางใหม่ ๆ ในการพัฒนาประกันคุณภาพการศึกษา

- มุมมอง แนวคิด การตีความ (ด้านการประกันคุณภาพ) นำไปสู่แนวทางการทำงานเพื่อเตรียมรับการประเมินจาก สมศ.

- การสร้างความร่วมมือในกลุ่มสาขาวิชา เพื่อพัฒนาผลการประเมินเพื่อให้มหาวิทยาลัยผ่านการประเมิน

- แรงกระตุ้นในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานด้านวิจัยและประกันของคณะให้ทันคณะอื่น ๆ ที่มีการปฏิบัติการที่ดี (Best Practice)

- ได้พบผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์จำนวนมาก จึงทราบข้อคิด / แนวคิดที่ดี ๆ จากท่านเหล่านั้น (สงสัยจะต้องเหนื่อยกันอีกพักใหญ่ ๆ แน่นอน)

- ผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกคนเล็งเห็นความสำคัญของงานนี้ โดยสังเกตผู้บริหารเกาะติดสถานการณ์และไม่มีใครหนีกลับ

- ได้เกินความเข้าใจในการตีความหมายของตัวบ่งชี้ในมาตรฐานที่ 2 เพิ่มมากขึ้น

- ทุกอย่าง ทั้งได้เรียนรู้ เข้าใจความสำคัญในการมองในภาพรวม ได้ข้อคิด ข้อเสนอที่จะได้นำไปใช้

- ได้ทราบถึงกระบวนการทำงานเกี่ยวกับการประกันและวิธีคิดงานวิจัย ตามมาตรฐานและดัชนี ทำให้เข้าใจเนื้องานวิจัยเพิ่มมากขึ้น คณาจารย์และผู้ประสานงานวิจัย ระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในแต่ละมาตรฐาน เพื่อให้คะแนนเพิ่มมากขึ้น และไขข้อข้องใจในการตีความต่าง ๆ ให้เหมือนกัน

- เข้าใจดัชนีชี้วัดแต่ละตัวมากขึ้น วิธีการรวบรวมข้อมูล การตีความในแต่ละดัชนีชี้วัด

- ผู้เข้าร่วมการประชุมเป็นจำนวนมาก

- เห็นแนวปฏิบัติของคณะที่มีผลการดำเนินงานดี ว่าคณะนั้นเค้าดำเนินงานอย่างไร

- แนวทางในการดำเนินงานวิจัยให้ก้าวไปสู่การเป็นคณะแห่งการวิจัย

- ได้ทราบลักษณะธรรมชาติของแต่ละศาสตร์ ทำให้เข้าใจตนเองได้ดีขึ้นว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้

- ได้เห็นความตั้งใจจริงของทีมงานวิจัยและการประกันฯ ของมหาวิทยาลัยเข้มแข็ง ทีมทำงานดีมาก ทำงานได้ทันเวลา

- ความรู้ความเข้าใจในหัวข้อดังกล่าวในระดับปฏิบัติการจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

- ได้รับทราบในเรื่องของยุทธศาสตร์งานวิจัย

- ได้มาเห็นความร่วมมือร่วมใจของชาว มน. ทั้งในฐานะผู้บริหารระดับสูงและผู้ปฏิบัติงานทุกคน แสดงความตั้งใจและเจตนารมณ์ที่จะมีส่วนช่วยใน มน. ได้เป็น Research- based ทั้งในด้านความคิด แผน และการปฏิบัติ ร่วมกันแสดงความคิดให้

         วิบูลย์  วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 53560เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท