บัตรประชาชน


                                                                  บัตรประชาชน

                                               นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

บัตรประชาชน คือ เอกสารที่ใช้พิสูจน์เอกลักษณ์ของบุคคลรูปแบบของบัตรประชาชน ได้ใช้ฟิล์มและเทคโนโลยีการพิมพ์เพื่อรักษาความปลอดภัยภายในบัตรมีชิป เพื่อมาตรการรักษาข้อมูล ภายในบัตรมีรูปถ่าย และข้อมูลเฉพาะบุคคลสามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เฉพาะอ่านข้อมูล

ตัวเลขหลักที่1  1 2345 67890 12 3  แสดงตัวเลขหลักที่ 1 หมายถึงประเภทบุคคลซึ่งมีอยู่ 9 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยและได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลาหมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไปอันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องมีเลขประจำตัว 13 หลักเมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมาตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1

ประเภทที่ 2 คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลาหมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไปแล้วผู้ปกครองลืมหรือติดธุระไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15วันตามกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลังเด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2มีตัวเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2

ประเภทที่ 3 คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในสมัยเริ่มแรก(คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) หมายความว่าบุคคลใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าวที่ไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3

ประเภทที่ 4 คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้าโดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก หมายความว่าคนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้วแต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัวก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่นก่อนช่วง 31 พฤษภาคมพ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที

ประเภทที่ 5 คือคนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่นๆเช่น คนที่ถือ 2 สัญชาติ

ประเภทที่ 6 คือผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือคนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยเพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมายเช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ชั่วคราว เช่นนักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยแม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตนแต่อาจจะมีสามีหรือภรรยาคนไทยจึงไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภรรยาคนทั้งสองแบบที่ว่านี้ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6

ประเภทที่ 7 คือบุตรของบุคคลประเภทที่ 6ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7

ประเภทที่ 8 คือคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายคือผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยและคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทยตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527เป็นต้นไปจนปัจจุบัน

คนทั้งแปดประเภทนี้จะมีเพียงประเภทที่3, 4 และ 5เท่านั้นที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ7 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้

ประเภทที่ 9 คือพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงตัวเลขแรกจะขึ้นต้นด้วยเลข 9

ตัวเลขหลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 1 234567890 12 3 แสดงตัวเลขหลักที่ 2-5 หมายถึงรหัสของสำนักทะเบียนหรืออำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลขกล่าวคือ เลขหลักที่ 2 เป็นเขตการปกครองของไทยโดยอ้างตามเขตรับผิดชอบของกรมการปกครองและตำรวจที่มีตั้งแต่ภาค 1-9 และ เลข 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ในภาคนั้นๆ ส่วนหลักที่ 4และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆโดยที่เลขอำเภอจะเริ่มจากเลข01ไล่ลงไปเช่นเลข 01 คืออำเภอเมือง และถ้าเป็นเขตเทศบาลจะเริ่มจากเลข 99 ย้อนลงมา

ตัวเลขหลักที่6ถึงหลักที่ 10 1 234567890 12 3
แสดงตัวเลขหลักที่ 6-10 หมายถึงกลุ่มของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรกซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่งก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับหรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบันเลขดังกล่าวก็จะหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร(ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้)ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้และจะปรากฏในบัตรประชาชนเมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเองแต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น

ตัวเลขหลักที่ 11 ถึงหลักที่ 12  1 2345 67890 12 3
แสดงตัวเลขหลักที่ 11-12 หมายถึงลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภทเป็นการจัดลำดับว่าเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลนั้นๆ

ตัวเลขหลักที่ 13 ตัวเลขหลักที่ 13เป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง12 หลักแรก

ตัวเลขหลักที่ 6 ถึงหลักที่ 13  1 2345 67890 12 3
แสดงตัวเลขหลักที่ 6-13 เป็นการจัดหมวดหมู่และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ระบบตัวเลขแต่ละหลักนี้ทำให้สามารถรองรับจำนวนประชากรได้อีกมากในระดับ 18 ปี

สังคมปัจจุบันการทำบัตรประชาชนเริ่มต้นตั้งแต่อายุ7 ปีทำให้รัฐบาลสูญเสียค่าใช้จ่ายในการทำบัตรประชาชน จำนวนมหาศาลทั้งๆเด็กยังไม่มีความจำเป็นต้องทำบัตรประชาชน ราคาค่าบัตร ประมาณมากกว่า 100 บาทต่อบัตร เด็กกลุ่มที่มีอายุ 7 – 14 ปีมีจำนวนหลายล้านคน ทำให้ขาดแคลนในการทำบัตรประชาชน ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงได้บัตรเหลืองไปใช้แทนบัตรประชาชนไปก่อน บางท่านครบ 90วันแล้วยังไม่ได้บัตรประชาชนบางท่านไปขอต่ออายุบัตร (บัตรเหลืองคนสองถึงสามรอบแล้ว)การทำบัตรให้เด็กอายุ 7 ปีสร้างภาระและค่าใช่จ่ายให้ผู้ปกครองต้องพาเด็กไปทำบัตรประชาชน และนำมาเก็บรักษาเพราะเด็กยังไม่สามารถทำนิติกรรม (อำพราง) ได้


หมายเลขบันทึก: 534600เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2020 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท