กรอบเนื้อหาและประเด็นถอดบทเรียน KM แก้จน ที่อำเภอเมืองนครศรีฯ


ว่าที่จริงแล้วเอกสารเล่มนี้ไม่น่าจะใช่สรุปบทเรียนทั้งหมดเพราะการดำเนินงานยังไม่จบสิ้น แต่น่าจะเป็นสรุปสถานการณ์ ปรากฏการณ์การทำงานและผลที่เกิดขึ้น ณ วันนี้มากกว่า จากสรุปนี้จึงจะนำไปสู่การถอดบทเรียนทั้งโครงการ ซึ่งอำเภอเมืองของเรากำหนดจะทำการสรุปบทเรียนกันราวปลายเดือนตุลาคม

วันนี้ผมและครูอาสาฯ กศน.เมืองนครศรีฯ ร่วมกันพิจารณาองค์ประกอบของของเอกสารสรุปบทเรียน KM แก้จน ของอำเภอเมือง ว่าเอกสารเล่มนี้น่าจะประกอบไปด้วยรายละเอียดใดบ้าง ในที่สุดสรุปได้ว่าประกอบด้วยรายละเอียดสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นรูปแบบเอกสาร และส่วนที่เป็นรายละอียดเนื้อหา ว่าที่จริงแล้วเอกสารเล่มนี้ไม่น่าจะใช่สรุปบทเรียนทั้งหมดเพราะการดำเนินงานยังไม่จบสิ้น แต่น่าจะเป็นสรุปสถานการณ์ ปรากฏการณ์การทำงานและผลที่เกิดขึ้น ณ วันนี้มากกว่า จากสรุปนี้จึงจะนำไปสู่การถอดบทเรียนทั้งโครงการ ซึ่งอำเภอเมืองของเรากำหนดจะทำการสรุปบทเรียนกันราวปลายเดือนตุลาคม สำหรับในส่วนที่ป็นรายละเอียดเนื้อหา กรอบเนื้อหาและประเด็นสำหรับสรุปบทเรียน ผมได้นำเสนอที่ประชุมวันนี้ เป็นดังนี้ครับ

1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

1.1 ครัวเรือนที่ปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครัวเรือนใดบ้าง

1.2 กลุ่มครัวเรือนเก่า - ใหม่ ที่รวมตัวกันเรียนรู้ ได้แก่กลุ่มใดบ้าง

1.3 การเชื่อมต่อการพัฒนาระหว่างกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านกับท้องถิ่นและ ส่วนราชการเป็นอย่างไร

1.4 ความต่อเนื่อง และความยั่งยืน ของกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง เป็นอย่างไร

1.5 วัฒนธรรมการให้ แบ่งปัน เอื้ออาทร พึ่งตนเองของชาวบ้่านเป็นอย่างไร

2 ศักยภาพการทำหน้าที่ของคุณอำนวยตำบล

2.1 การทำงานเป็นทีม การแบ่งมอบหมายหน้าที่ การเตรียมความพร้อม การสรุปงาน ฯลฯ

2.2 การพัฒนาสมรรถนะในการทำงานและความเปลี่ยนแปลงของตนเอง

2.3 การประสานงานกับกลุ่มคุณกิจครัวเรือน คุณกิจแกนนำหมู่บ้าน และหน่วยงานต่างๆทั้งหน่วยงานท้องถิ่น และส่วนราชการ เอกชน ภาคประชาสังคม ฯลฯ

2.4 การสร้างพื้นที่เรียนรู้ในชุมชนเสมือนจริง weblog

2.5 ตัวอย่างยอดคุณอำนวย ด้าน กระบวนการ ลิขิต และด้านการประสาน ฯลฯ

3 บทบาทคุณเอื้ออำเภอ และคุณเอื้อตำบล

3.1 เวทีเตรียมความพร้อมก่อนทำโครงการวันที่ 22 มิ.ย.49

3.2 เวทีหนุนเสริมของคุณเอื้อตำบล วันที่ 23 สิงหาคม 2549

3.3 การดำเนินการหนุนเสริมในระหว่างการเรียนรู้แก้จน

4 ศักยภาพการทำหน้าที่ของคุณอำนวยหมู่บ้าน

4.1 ประสิทธิภาพของการสรรหาแกนนำหมู่บ้าน

4.2 ความสามารถในการส่งเสริมการเรียนรู้ในกลุ่มย่อยของ แกนนำ หมู่บ้าน1 คน ต่อ ครัวเรือนสมาชิก 8 ครัวเรือน

4.3 การทำงานเป็นทีมของแกนนนำหมู่บ้าน 8 คน

4.4 หลักสูตรอบรมแกนนำหมู่บ้านและประสิทธิภาพการอบรม

4.5 แนวโน้มที่แกนนำหมู่บ้านจะพัฒนาความสามารถเป็นคุณอำนวยหมู่บ้าน

4.6 ตัวอย่าง คุณกิจแกนนำหมู่บ้่านในด้านต่างๆ เช่น ยอดคุณบันทึก ยอดคุณประสาน ยอดคุณกระบวนการ ฯลฯ

5 ศักยภาพการเรียนรู้ของคุณกิจครัวเรือน

5.1 รู้และเข้าใจจุดประสงค์ของโครงการว่าอย่างไร ?

5.2 จำนวนและความสนใจเข้าร่วมเวทีเป็นอย่างไร

5.3 ความสนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที-นอกเวทีเป็นอย่างไร

5.4 ความสนใจและความสม่ำเสมอในการบันทึกความรู้เป็นอย่างไร

 5.5 บุคลิก คุณลักษณะการเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้เป็นอย่างไร

5.6 คุณกิจตัวอย่าง หรือคุณกิจดีเด่น ในแต่ละเนื้อหาเรียนรู้ เป็นใคร อยู่ที่ไหน

วันนี้ gotoknow ไม่มีแถบเครื่องมือให้ใช้ครับ ไม่ทราบเครื่องคอมพ์ผมเป็นอย่างไร ดูบันทึกนี้แล้วแห้งแล้งไปเลย

ครูนงเมืองคอน

3 ต.ค. 49

หมายเหตุ เครื่องมือมาให้จัดหน้าเอกสารได้เกือบสองทุ่มแล้วครับ

หมายเลขบันทึก: 53279เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท