คิดยังไง...อยาก ...โน่น... นี่... นั่น


เป็นที่ยอมรับกันโดยปริยายว่าปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไป โลกไร้เพรมแดนอยู่แค่คลิ๊ก  

อยู่ที่ว่าจะได้นำพาตัวเองเรียนรู้ได้ทันโลกได้อย่างไร  มันจึงเป็นที่มาของทุกข์ ทุกข์ที่เที่ยววิ่งตาม 

เหนื่อยและล้าอ่อนแรง กว่าจะได้มา  เมื่อได้มาก็แค่ตอบโจทย์ให้สังคมตามความคิดที่เจ้าตัวอยากตอบ

 อยากได้ยิน ...ก็หนีไม่พ้นความอยากที่มีในจิต

อยากเป็นโน่น เป็นนี่  อยากเป็นนี่อยากเป็นนั่น

อยากให้คนยอมรับ มากกว่าตัวเองยอมรับคนอื่น

อยากได้นั่นได้นี่ ไม่อยากให้เลย...อันนี้

"อยาก" คำนี้คำเดียวที่ไม่กล้าพูดกัน  จึงมี แต่"อยากอยู่นั่นแหละ"

เลยไม่ได้ อย่างที่อยากกันสักที ก็เลยยังอยากอยู่เช่นนี้นี่แหละ

คำว่าอยาก ฟังดูเป็นคำพูดที่ออกจากความรู้สึกที่แท้จริงของผู้พูด เช่น

อยากได้ตุ๊กตา, แม่อยากให้หนูไปโรงเรียน,คุณครูอยากให้หนูอ่านหนังสือทุกวัน 

และเป็นที่นิยมของผู้นำประชาชน จำนวนไม่น้อยใช้เป็นคำหวานหว่านล้อมใจประชาชน

ผู้นำประเทศท่านหนึ่งพูดว่า "รัฐบาลอยากเห็นประชาชนอยู่ดี มีสุข"

รัฐมนตรีท่านหนึ่งกล่าวว่า"อยากให้ชาวนาขายข้าวได้ราคา แม้ไม่ขายจำนำก็ยังได้ราคา"

คำว่าอยากจึงแสดงถึงความรู้สึกที่ออกมาจากใจ และยังแสดงถึงความบริสุทธิ์ของความคิด

แม้ว่าคำพูดนั้นอาจถูกใช้ไปในทางที่ผิด ไม่นำพาไปสู่ความปรารถนา ความสำเร็จที่แท้จริงได้ก็ตาม

ความอยากก็ยังอยู่ในใจสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้อยู่นั่นเอง

"อยาก"คือ "ต้องการ"  

ต้องการ คือ "Need"  

"Need" คือ ความปรารถนา   ส่วนจะปรารถนาอยู่ในระดับใดก็สุดแท้แต่จิตของแ่ละคน 

และเจตนาของแต่ละคนที่ใช้  Need มีหลายอย่างเช่น  Need for speed , Need money now, 

Need a job, Need to fine a person for free!

พูดถึง ความอยากนี่แล้วอยากปลีกตัวไปถือสันโดษเสียจริง

ข้อความต่อจากนี้ไป คัดลอกจาก หนังสือธรรมะชุด รวมธรรมะ ชื่อเล่ม"สันโดษ"

สันโดษ  มาจากภาษาบาลีว่า "สันโตสะ   สันตุฏฐิ" แปลว่าความยินดี ความพอใจ ในของๆตน ในของที่มีอยู่ 

"พระพุทธเจ้าตรัสทรงแสดงแก่ภิกษุเป็นพื้นคำอธิบายจึงเป็นคำอธิบายสำหรับภิกษุ ซึ่งเป็นผู้สละสิ่งทั้งปวง

ออกบวชแล้วว่า  ยินดีด้วยปัจจัย (เครื่องอาศัย) ๔ อย่าง ตามมี ตามได้ " 

ส่วนข้อพระธรรมวินัย ๘ ที่พระองค์ทรงแสดงต่อพระนางปชาบดีโคตมีนั้น ความว่า  "  ธรรมที่เป็นไปเพื่อ 

๑    กำหนัดย้อมใจ    ๒ ประกอบอยูกับทุกข์    ๓  สั่งสม      ๔  อยากได้        ๕  ไม่สันโดษ                                         

๖   คลุกคลีด้วยหมู่คณะ    ๗  เกียจคร้าน     ๘   เลี้ยงยาก 

 เหล่านี้มิใช่ธรรม มิใช่วินัย มิ ใช่คำสอนของพระศาสดา

ส่วนธรรมที่เป็นไปเพื่อ  

๑ ปราศจากกำหนัดย้อมใจ   ๒   ไม่ประกอบกับทุกข์     ๓   ไมใ่สั่งสม    ๔  อยากนย้อย หรือมักน้อย 

 ๕  สันโดษ      ๖    สงัด       ๗   ปรารถความเพียร     ๘    เลี้ยงง่าย 

ธรรมเหล่านี้เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสอนของศาสดา    


หมายเลขบันทึก: 532511เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2013 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2013 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะน้องโอ๋-อโณ

โน่น นี่ นั่น บางครั้งก็ทำให้หงุดหงิดใจ

แต่บางครั้งก็รู้สึกดี เพราะโน่น นี่ นั่น

 ก็ช่วยให้การทำงานดำเนินไปด้วยดีได้คะ

ขอบคุณข้อคิดดีๆเพื่อใช้สติพิจารณากิเลสแห่งความอยากค่ะ..

ขอบคุณค่ะ หยั่งราก ฝากใบ

เผลอไม่ได้ค่ะ มันคอยจะออกไปโลดแล่น อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท