การกระจายอำนาจด้านการจัดบริการสาธารณสุข ตอนที่ ๓


จริงๆ แล้ว แก่นแท้ของการกระจายอำนาจไม่ได้ยึดติดกับ "วิธีการ" หากแต่ จะทำอย่างไรก็ได้ เพื่อให้ท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงประชาชน มีอำนาจในการตัดสินใจในการดำเนินการใดๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมโดยผ่านกลไกสำคัญของท้องถิ่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเข้ามาโดยการเลือกตั้ง จากระบบตัวแทน ซึ่งที่ผ่านมาการกระจายอำนาจด้านการจัดบริการสาธารณสุขบ้านเรา มีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น การแบ่งานบางส่วนให้ท้องถิ่นดำเนินการ การทำงานร่วมกันในรูปแบบกรรมการกำกับนโยบาย หรืกรรมการในการให้บริการ การถ่ายโอนหน่วยงานด้านสาธารณสุขไปอยู่กับท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งในการณีหลังนี้ มีการตรากฎหมายถึงระเบียบวิธีการดำเนินการไว้ชัดเจน แต่ก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้มากนัก ซึ่งจากการเข้ามาเรียนรู้เชิงประจักษ์ร่วมกับ อบต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม เชียงใหม่ ซึ่งเป็น อบต.นำร่องที่รับการถ่ายโอนสถานีอนามัย หรือ รพ.สต.หรือที่นี่เรียก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบล (รพ.ชต.) ทำให้เห็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จจากมุมมองของผู้เกี่ยวข้องที่น่าสนใจ เช่น วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร งบประมาณ กำลังคน การมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างเครือข่ายการให้บริการสาธารณสุข เป็นต้น ซึ่งจะทยอยนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 532363เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2013 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2014 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท