อาหารหมูชีวภาพ เพื่อลดต้นทุน หมูหลุม


อาหารหมูชีวภาพ เพื่อลดต้นทุน หมูหลุม

moolumkin.jpg

อาหารสัตว์เป็นต้นทุนส่วนใหญ่ของการเลี้ยงสัตว์ การลดต้นทุนอาหารสัตว์โดยใช้วัสดุที่ราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น จะช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงลงได้ทำให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนมากขึ้น


การทำอาหารสุกรจากหยวกกล้วยหมัก

arharnmookly.jpg

ส่วนประกอบ


  • ต้นกล้วยซอย 100 กิโลกรัม
  • น้ำตาลทราย 4 กิโลกรัม
  • เกลือ 1 กิโลกรัม

วิธีทำ

  1. นำต้นกล้วยที่ได้มาซอยเป็นแผ่นบางๆขนาดพอดีให้ได้น้ำหนัก 100 กิโลกรัม
  2. นำต้นกล้วยที่หั่นเรียบร้อยแล้วใส่ลงในถังพลาสติก พร้อมกับโรยเกลือและน้ำตาลเป็นชั้นๆทำซ้ำกันเป็นชั้นๆจนเต็มถัง
  3. ปิดฝาถังหมักทิ้งไว้ 5 วันสามารถนำมาผสมกับอาหารให้กับสุกรกินได้

อาหารหมักผักตบชวาสำหรับหมูหลุม
วัตถุดิบและวิธีการ

  • ผักตบชวา จำนวน 4 กิโลกรัม
  • รำละเอียด จำนวน 4 กิโลกรัม
  • น้ำหมักปลา 0.5 ลิตร
  • น้ำเปล่า 0.5 ลิตร

นำผักตบชวามาสับขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปเลี้ยงให้หมูหลุมกินตลอดทั้งวัน


arharnmoopaktob.jpg



ประโยชน์ของอาหารหมักผักตบชวา

  • เมื่อหมูกินเข้าไปจะช่วยลดกลิ่นหมูได้
  • หมูหลุมมีสุขภาพแข็งแรง ต้านทานโรค
  • เนื้อหมูปราศจากสารตกค้าง
  • ลดต้นทุนค่าอาหารสำหรับเลี้ยงหมูหลุมได้ประมาณ 60%
  • เมื่อหมูถ่ายมูลออกมา จะได้ปุ๋ยชีวภาพชั้นดี ในการใช้เพื่อปลูกพืชแบบเกื้อกูลต่อไป

หมายเหตุ : น้ำหมักปลา
วัตถุดิบ 
- เศษปลา จำนวน 3 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล จำนวน 3 กิโลกรัม
- พด.2 จำนวน 1 ซอง
- น้ำเปล่า จำนวน 10 ลิตร
วิธีการ 
- ละลายจุลินทรีย์ พด. 2 ในน้ำเปล่า 10 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
- เทกากน้ำตาลลง แล้วตามด้วยเศษปลา
- หมักใส่ภาชนะพลาสติกปิดฝาไม่ต้องสนิท นาน 1 เดือน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาใช้ประโยชน์
ประโยชน์ของน้ำหมักปลาสำหรับหมูหลุม
- เพิ่มโปรตีนและเพิ่มความหอมให้กับอาหารหมูหลุม ในอัตราส่วน น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ + รำอ่อน 5 กิโลกรัม
- ใช้ผสมกับอาหารหมักผักตบชวา ในอัตรา 1 : 1
การทำน้ำหมักชีวภาพ ลดการใช้สารเคมีในสัตว์
ช่วยเสริมสร้างคุณค่าทางอาหาร ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารสัตว์และยารักษาโรค โดยการนำวัสดุหรือผลผลิตที่มีมาเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
ขั้นตอนการทำ
1. การใช้น้ำหมักผลไม้ชีวภาพ เพื่อสุขภาพสัตว์ลดความเครียด มีวิธีการ ดังต่อไปนี้
1.1 ใช้วัตถุดิบ ผลไม้สุก 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน
1.2 นำผลไม้สุกสับให้พอดี แล้วนำมาลงถังพร้อมกากน้ำตาลและน้ำ คนให้เข้ากัน
1.3 หมักน้ำหมักผลไม้ชีวภาพ จำนวน 3 วัน นำไปผสมรำ เป็นอาหารสุกร
2. การใช้น้ำหมักสมุนไพร รักษาโรค สร้างภูมิต้านทานโรค
2.1 นำผลไม้ 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน สมุนไพร 1 ส่วน ( ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน เหงือกปลาหมอ หัวผักหนาม อ้อยดำ)
2.2 นำมาหมัก ใช้เวลา 7 วัน ผสมในรำใช้เป็นอาหารสัตว์
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. เพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์
2. ลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารสัตว์และยารักษาโรค
3. เพิ่มคุณค่าทางอาหารให้สัตว์มีอัตราการเจริญเติบโตดี
การใช้ส่าเหล้าเป็นอาหารสุกร
ส่าเหล้าเป็นผลผลิตขั้นตอนสุดท้ายของการกลั่นเหล้า โดยผ่านกระบวนการหมักและกลั่น มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ทำเป็นหัวเชื้อหลายชนิด เช่น ลูกกระวาน พริก ขิง ตะไคร้ ข้าว
วัสดุ/อุปกรณ์

  • ส่าเหล้า ส่วนที่เหลือจากการผลิตเหล้าขั้นตอนสุดท้าย
  • วัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น แกลบ รำละเอียด หัวอาหารสุกร หยวกกล้วย พืชผัก
  • น้ำหมักชีวภาพ

ขั้นตอนปฏิบัติ
โดยนำส่าเหล้ามาผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น เช่น แกลบ รำละเอียด หัวอาหารสุกร หยวกกล้วย พืชผัก ตามสัดส่วนที่พอเหมาะ หรือที่มีอยู่ในฟาร์ม และน้ำหมักชีวภาพ
การนำมาใช้ประโยชน์
ใช้เป็นอาหารสุกร นำมาเลี้ยงสุกร ที่มีอายุตั้งแต่ 35 วันขึ้นไปโดยในช่วงแรก ผสมในอาหารทีละน้อย แล้วเพิ่มปริมาณในภายหลังใช้เลี้ยงสุกร 4 เดือนได้น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 80 กิโลกรัมเป็นการลดต้นทุนอาหาร สัตว์โตเร็ว แข็งแรง ไม่เป็นโรค
อาหารหมูหลุมแบบธรรมชาติ
วัตถุดิบ

  • แกลบกลาง ๓๐ กก.
  • ดินแดง ๘ กก.
  • มูลสัตว์ ๘ กก.
  • ปลาบ่น ๑.๕ กก.
  • เปลือกไข่ป่น ๑.๕ กก.
  • กากถั่วเหลืองป่น ๕ กก.
  • ข้าวโพดป่น ๑๓ กก.
  • อาหารหมัก ๕๐ กก.

ขั้นตอนการทำ
ผสมกันราดด้วยน้ำหมัก ๗ ชนิดอย่างละ ๒ ซ้อน น้ำตาลทรายแดง ๑๔ ซ้อนที่ละลายในน้ำ ๑๐ ลิตร
เมื่อผสมเรียบร้อยได้อาหารสำหรับให้หมูหลุมประมาณ ๑๒๐ กิโลกรัม ใส่กระสอบไว้ เก็บไว้ได้ ๑๔ วัน


arharnmoosult.jpg


สูตรอาหารหมูหลุม
จุลินทรีย์จากผลไม้ (ลดปัญหากลิ่นอุจจาระหมู)
วัสดุอุปกรณ์

  • ผลไม้สุก 1 กก.
  • น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
  • กระดาษขาว
  • เชือกฟาง
  • ขวดโหลแก้วหรือพลาสติก

วิธีการทำ

  1. นำผลไม้ที่เตรียมหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำใส่ในโหล
  2. เทน้ำตาลทรายแดงลงไปในโหล ให้เหลือน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อยเพื่อนำไปโรยปิดทับ
  3. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  4. นำน้ำตาลทรายแดงทีเหลือไปโรยทับอีกครั้งหนึ่ง
  5. ใช้กระดาษขาวปิดปากโหลรัดให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน

วิธีการใช้
2 ช้อนต่อน้ำ 10 ลิตร ให้หมูกินหรือใช้รดน้ำผัก ผลไม้


arharnmoomak.jpg



จุลินทรีย์ราขาวจากป่าไผ่ (ลดปัญหากลิ่นเหม็นของอุจจาระหมู)
วัสดุอุปกรณ์

  • กระบะเพาะเชื้อราขาวสี่เหลี่ยมกว้าง 30 ซม. ยาว 30 ซม. สูง 10 ซม. เจาะรูด้านล่าง 10 รู
  • น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
  • ลวดตาข่ายหรือตะแกรง
  • กระดาษขาว
  • เชือกฟาง
  • ลวดตาข่ายขนาดเท่ากระบะ
  • กอไผ่และใบไผ่
  • ขวดโหลแก้วหรือพลาสติก
  • ผ้ายางพลาสติก
  • ข้าวจ้าวสุก (ข้าวหุง) 1 ลิตร ทิ้งไว้ให้เย็น
  • ทัพพีตักข้าว

วิธีการทำ

  1. ตักข้าวหุงใส่ในกระบะสูงประมาณ 7 ซม.
  2. ปิดด้วยกระดาษขาวผูกเชือกฟางให้แน่น
  3. นำพลาสติกคลุมและนำลวดตาข่ายปิดทับอีกที ผูกเชือกให้แน่น
  4. เลือกบริเวณกอไผ่ที่มีราขาวขึ้น
  5. นำกระบะที่ทำไว้แล้ว วางบริเวณที่มีเชื้อราขาวแล้วคลุมด้วยใบไผ่
  6. รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 7 วัน
  7. นำเชื้อราขาวที่ได้ในกระบะผสมกับน้ำตาลทรายแดง 1 กก. ใส่ในโหลปิดด้วยกระดาษขาวผูกเชือกให้แน่น หมักทิ้งไว้ประมาณ 5 – 7 วัน

วิธีการใช้
2 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร รดพื้นคอกและตัวหมูทุกเช้าและเย็น
โยเกิร์ตหมูหลุม (ช่วยให้หมูมีระบบย่อยอาหารดีขึ้นเมื่อหมูมีอาการป่วย)
วัสดุอุปกรณ์

  • น้ำซาวข้าว (หรือน้ำข้าวหม่า)
  • น้ำตาลทรายแดง ½ กก.
  • โหลสำหรับใส่เหล้าดองยา
  • กระดาษขาว
  • เชือกฟาง
  • นมสดพลาสเจอร์ไรซ์ (นมวัว) 10 แก้ว
  • รำอ่อน

วิธีการทำ

  1. นำน้ำซาวข้าวใส่ขวดโหล เว้นช่องว่างประมาณ 10 ซม. ปิดด้วยกระดาษขาว ผูกเชือก ทิ้งไว้ 7 วัน
  2. เปิดฝา นำรำอ่อนโรยด้านบนให้หนาประมาณ 1 ซม. แล้วปิดทิ้งไว้อีก 2 วัน
  3. ดูดน้ำซาวข้าวที่ได้จากการหมักมา 1 แก้ว
  4. เทน้ำซาวข้าวลงในโหล 1 แก้ว แล้วเทนมสดพลาสเจอร์ไรซ์ (นมวัว) 10 แก้ว
  5. เทน้ำตาลทรายแดงลงไป ไม่ต้องคน
  6. ปิดฝาด้วยกระดาษขาว ผูกรัดด้วยเชือกฟาง
  7. หมักทิ้งไว้ 7 วัน

วิธีการใช้
โยเกิร์ต 2 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร ให้หมูดื่ม
หมากฝรั่งหมูหลุม
วัสดุอุปกรณ์

  • ไม้เนื้ออ่อน เช่น ต้นมะละกอ ไม้กระถิน สดๆ ประมาณ 1 กก
  • เหล้าดองยาหมูหลุม 1 แก้ว
  • น้ำตาลทรายแดง 1 แก้ว
  • กระดาษขาว
  • โอ่ง
  • เชือกฟาง
  • น้ำสะอาด

วิธีการทำ

  1. นำไม้เนื้ออ่อนมาตัดเป้นชิ้นประมาณ 1 ฝ่ามือ
  2. นำใส่โอ่ง
  3. ใส่น้ำให้เต็ม ท่วมไม้ที่ใส่
  4. เทเหล้าดองยาหมูหลุม 1 แก้ว
  5. เทน้ำตาลทรายแดง 1 แก้ว
  6. ปิดด้วยกระดาษขาว มัดด้วยเชือก
  7. ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน

วิธีการใช้
โยนให้หมูกินได้ตลอด
เหล้าดองยาหมูหลุม (ลดความเครียด กระตุ้นการกินอารของหมู)
วัสดุอุปกรณ์

  • สมุนไพรในท้องถิ่น 1 กก.
  • น้ำตาลทรายแดง ½ กก.
  • โหลสำหรับใส่เหล้าดองยา
  • กระดาษขาว
  • เชือกฟาง
  • สุรากลั่น 2 ขวด (สุราพื้นบ้าน)

วิธีการทำ

  1. นำสมุนไพรที่เตรียมไว้มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่โหล
  2. เทน้ำตาลทรายแดงลงไปในโหล
  3. เทสุรากลั่น 2 ขวด (สุราพื้นบ้าน) ลงไปในโหล
  4. ปิดด้วยกระดาษขาว ผูกเชือกให้แน่น
  5. ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน

วิธีการใช้
1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร ให้หมูดื่มอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
อาหารหมักหมูหลุม
วัสดุอุปกรณ์

  • ผัก ผลไม้ต่างๆในท้องถิ่น 100 กก.
  • น้ำตาลทรายแดง 4 กก.
  • ถังพลาสติก 1 ใบ
  • กระดาษขาวหรือผ้ายางปิด
  • เชือกฟาง
  • เกลือ 1 กก.

วิธีการทำ

  1. นำผัก ผลที่เตรียมไว้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 100 กก.
  2. เทน้ำตาลทรายแดง 4 กก. ลงในกองผักผลไม้ที่หั่นไว้แล้ว
  3. เทเกลือ 1 กก. ลงในกองผัก ผลไม้ที่หั่นไว้แล้ว
  4. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  5. ตักอาหารที่ผสมลงในโอ่ง ให้เหลือช่องว่างอากาศไว้ 1 ส่วน
  6. ปิดด้วยกระดาษขาว ผูกเชือกให้แน่น
  7. ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน

วิธีการใช้
เริ่มให้อาหารหมัก เมื่อเริ่มเลี้ยงเดือนที่ 2 ตักอาหารหมัก 5 ถัง ผสมรำอ่อน 2 ถ้วย และอาหารสำเร็จรูป 2 ถ้วยให้หมูกินต่อ 1 มื้อ


arharnmoobio.jpg


ผลการวิจัย
จากการพิสูจน์ซากหมูหลุม 10 ตัว ไม่พบพยาธิในอวัยวะของหมูหลุม เนื้อหมูมีสีแดงไม่เหม็นคาว ลำไส้สะอาด และไขมันน้อย จึงเป็นเนื้อหมูชีวภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพราะเลี้ยงจากการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น (Indigenous Microorganisms: IMO)
ที่มา:

  • เรื่องและภาพจากเอกสารคนรักหมู หมูหลุม… การเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติ
  • จัดทำโดย Ban Boon Agri-Nature ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ 71 หมู่ 8 ต.ห้วยยาง อ.กระนวน จ. ขอนแก่น 40170 โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
  • องค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านการเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเชียงราย
ที่มา  http://www.kasetporpeangclub.com/forums/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C/2643-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1.html

คำสำคัญ (Tags): #อาหารหมู
หมายเลขบันทึก: 531425เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2013 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2013 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท