นิวตัน ควันธรรม อนัตตา ...ชะตากรรมร่วมกัน


การเดินทางจากโคราช ไป เชียงใหม่ ผมมีทางเลือกนับร้อยเส้นทาง สุดท้ายก็ถึงเชียงใหม่ แดนสุขาวดี จังกะหรี่หล้า เหมียนกัลป์ ๕ห้า5

นิวตัน ควันธรรม อนัตตา ...ชะตากรรมร่วมกัน


วันนี้ข้าพเจ้าพอมีอารมณ์ จะนำเสนอทฤษฎีปรองดอง (unification) สักหน่อย ซึ่งทฤษฎีนี้นักฟิสิกส์ระดับเด่นแห่งโลก ท่านได้คิดกันมานานมากแล้วว่า มีความเป็นไปได้ที่แรงทั้งหลายจะมีจุดร่วมเป็นหนึ่งเดียว

กฎนิวตัน ควันธรรม (quantum)  และ ไตรลักษณ์..a unification theory ที่ทั้งแรงระดับใหญ่ กลาง เล็ก เล็กมาก เช่น gravity electromagnet weak-force strong-force ในระดับประชิด จะมีจุดเริ่มต้น และหรือจุดหมาย เดียวกัน

แรงกายภาพสี่แรง ก็เท่ากับแรงภายในจิตภาพสี่แรงคือ “รัก โลภ โกรธ หลง” พอดี ที่ unify จุดมาเกิดร่วมกันที่ “อวิชชา” ตัวเดียวแท้ๆ อาจถือได้ว่านี่คือ unification of spiritual forces


ยิ่งไปกว่านี้ ศ.พุทธเรามักสอนกันเป็นลำดับแห่งกระบวนการว่า

 อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา .................แต่ข้าฯว่าควรปรับเป็น

ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา.................... เสียมากกว่า 


ทุกข์คืออะไรในคำสอนแห่งศาสนาพุทธ ไม่มีใครรู้แน่ แต่มีหลากหลายทฤษฎี และเป็นรากฐานสำคัญสุดแห่งศาสนาพุทธ ก็เถียงกันไปไม่รู้จบ แต่ข้าฯขอเสนอทฤษฎีทางเลือกว่า “ทุกข์เป็นผลแห่งแรงบีบคั้น” ..... กล่าวโดยสรุป ที่ไหนมีแรงกระทำที่นั่นมีทุกข์

แรงที่ว่านี้คือ แรงแห่ง “รัก โลภ โกรธ หลง” นั่นเอง ซึ่งเป็น “แรงภายใน” ที่ยังแจกแจงย่อยออกไปได้อีกมาก 


พอพูดแบบนี้วิญญาณท่านเซอร์ ไอแซค นิวตัน (ที่เป็นคนเคร่งศาสนาคริสต์มาก) ก็คงพยักหน้าเห็นด้วย เพราะท่านเป็นต้นตำรับ กฎกลศาสตร์สามข้อของนิวตัน โดยเฉพาะข้อสองที่สอนไว้ว่า “สรรพสิ่งย่อมเคลื่อนไปตามแรงภายนอกที่มากระทำ “


นิวตันเน้นไปที่แรงภายนอก ส่วนสิทธัตถะเน้นไปที่แรงภายใน แต่ก็ตรงกันว่า เมื่อมีแรงกระทำก็ย่อมมีการเคลื่อนตัว ซึ่งการเคลื่อนตัวนี้แหละ ข้าฯว่า คือทุกข์ 


ทั้งสองยังตรงกันว่า action = reaction (กฎกลศาสตร์ข้อที่สามของนิวตัน) ซึ่ง สิทธัตถะ ก็กล่าวไว้ก่อนหน้านานมาแล้วว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” มันตรงกันยังกะแกะ เพียงแต่ว่า พพจ.ว่าในเรื่องของใจภายใน ส่วนนิวตันว่าในเรื่องของกายภายนอก


ช้าก่อนเมื่อสัก คศ. 1920 เรื่อยมาระบบควันธรรม (quantum) ได้ถือกำเนิด มีอิทธิพลมาจากนักวิทย์ฝรั่งที่นิยมหลักศาสนาตะวันออก เช่น bohr และ oppenhienmer  (อาจสะกดผิด) ผู้เป็นหัวแรงในการผลิตระเบิดนิวเคลียร์ฆ่ายุ่นที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ 


พวกเขาเหล่านี้พิสูจน์โดยคณิตศาสตร์ได้ว่า ความจริงแห่งสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีอะไรแน่นอน เพราะมี “วิญญาณ” (ประสาทสัมผัสการรับรู้) เข้าไปกระเทือน “ความจริง”


หลังจากบ่มเพาะ รบกัน ทางหน้ากระดาษคณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ นานเกือบร้อยปี ก็สรุปกันว่า มวลสารเล็กๆ ระดับอนู ที่เป็นพื้นฐานแห่งมนุษย์ และสรรพสิ่งนั้น มันจับไม่มั่น คั้นไม่ตาย จะว่ามีก็ไม่ได้ จะว่าไม่มีก็ไม่ได้ มันก้ำกึ่ง แถมยังต้องการประสาทสัมผัสในการรับรู้แห่งการ ก้ำกึ่ง ของพวกมันเสียอีก ...จนกลายมาเป็นทฤษฎี ควันธรรม หรือ ควอนตั้ม กันจนในวันนี้ ที่ทำให้คนฝรั่งได้รับรางวัลโนเบลกันมากหลาย (ส่วนคนไทยก็ “ครับๆ” กันต่อไป) 


ผมว่าไอ้ควันธรรมเนี่ย มัน อนัตตา ชัดๆ ที่พพจ. ทรง (ตรัส) รู้มานานแล้ว

ดังที่ ทฤษฎี ปฏิจจสมุปบาท กำหนดว่า เมื่อมีวิญญาณ ก็มีนามรูป (มีการรับรู้ว่ามี ควันธรรม)

เรื่องนี้ยาว แต่ว่าไปแล้วมันสั้นมาก ถ้าใช้วิธีลัดของ ลพช. (หลวงพ่อชา) ที่กล่าวสอนว่า ...คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ เมื่อหยุดคิดจึงรู้


ส่วน “ไอจะตัย” สอนตรงข้ามเลยเจียวว่า...จง คิด คิด คิด แล้วท่านจะรู้


หรือว่าสุดท้ายแล้ว คิด หรือไม่คิด สุดท้ายแล้วก็เหมือนกัน เพียงแต่ว่าวิธีไหนวกวนน้อยกว่ากัน 


การเดินทางจากโคราช ไป เชียงใหม่ ผมมีทางเลือกนับร้อยเส้นทาง สุดท้ายก็ถึงเชียงใหม่ แดนสุขาวดี จังกะหรี่หล้า เหมียนกัลป์ ๕ห้า5


...คนถางทาง (๒๕ มีนาคม ๒๕๕๖) 



หมายเลขบันทึก: 531342เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2013 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2013 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

1) อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา .................แต่ข้าฯว่าควรปรับเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา.................... เสียมากกว่า...

I think the Three Characteristics of All Conditioned Things are (more or less) "Dimensions". It does not matter which way we arrange them. Like the 8-strands of "magga", all 8 are there concurrently not one before another.

2) ... (หลวงพ่อชา) ที่กล่าวสอนว่า ...คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ เมื่อหยุดคิดจึงรู้ ...

I had wished that I had met and learned from the venerable. I do still learn from him --even today--.

I think he meant: we should stop making more 'theories' (สังขารา) and learn to use more observations.

;-)

good point ท่าน sr...ผมอาจติดกับดัก linear thinking ก็เป็นได้ จะลองเอาไปตรองครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท